iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืนในยุคประเทศไทย 4.0

ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ 

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่จะพัฒนาประเทศสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในรูปแบบ “ทำน้อย ได้มาก” โจทย์ที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม คือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ปัจจุบันหน่วยธุรกิจต่างๆ ในซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มมีการนำกลยุทธ์ใหม่ที่เรียกว่า Sustainable Supply Chain Management หรือ การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันตลอดซัพพลายเชน สามารถตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยปัจจุบันพบปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการซื้อสินค้า คือ ผู้บริโภคไม่ได้ให้ความสำคัญกับราคาถูกแต่เพียงอย่างเดียว แต่ลูกค้าเริ่มมีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่กล่าวมาข้างต้น การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คือ การบริหารกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบไปจนถึงแหล่งบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ดังนั้น ธุรกิจจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในซัพพลายเชน อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต รวมทั้งกิจกรรมโลจิสติกส์อื่นๆ ไม่เพียงแต่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่สามารถส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าและสร้างกำไรให้กับธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อเป็นการต่อยอดความคิดจากการจัดการซัพพลายเชนในอดีต โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์กับองค์กรทั้งในเรื่องการเพิ่มกำไร การใช้สินทรัพย์อย่างคุ้มค่า มุ่งหวังในการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ปรับตัวให้เข้ากับนวัตกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดยต้องพัฒนาและปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการมีชื่อเสียงของธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า 

หากธุรกิจต้องการที่จะประยุกต์หลักการการจัดการอย่างยั่งยืน จำเป็นที่ต้องพิจารณา 3 มุมมอง ได้แก่ เศรษฐกิจ (Economic) สิ่งแวดล้อม (Environment) และสังคม (Social) เริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนตามแนวคิดของ Cetinkayaet al. (2011) ในเชิงสังคม หน่วยธุรกิจต่างๆ ในซัพพลายเชนต้องให้ความสำคัญกับแนวทางในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย รวมทั้งสวัสดิภาพของพนักงาน คู่ค้า รวมไปถึงลูกค้า โดยให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมให้น้อยที่สุด ในเชิงเศรษฐกิจ ธุรกิจอาจจะกำหนดเป้าหมายในเรื่องรายได้ ต้นทุน กำไร รวมไปถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ ประสิทธิภาพ และความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในเชิงของสิ่งแวดล้อม ธุรกิจจำเป็นต้องคำนึงการลดผลกระทบที่จะเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในซัพพลายเชน เช่น การลดปริมาณมลพิษที่จะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด อีกทั้งการลดของเสีย และส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)

เมื่อธุรกิจสามารถกำหนดเป้าหมายเพื่อตอบโจทย์การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืนแล้ว ธุรกิจจะต้องปรับแนวทางการทำงาน เช่น ในอดีตเคยจัดซื้อด้วยวิธีการเจรจาต่อรองเพื่อให้มีต้นทุนการซื้อต่ำสุด ซึ่งการจัดซื้อดังกล่าวอาจจะเป็นการซื้อจากผู้ขายที่อาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากผู้ขายต้องหาวิธีการที่ทำให้ต้นทุนของสินค้าต่ำสุด เพื่อให้ขายสินค้าในราคาถูกให้กับลูกค้าได้ ลูกค้าโดยเฉพาะผู้บริโภคจึงมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน หากผู้บริโภคมีความรับผิดชอบต่อสังคมก็จะเลือกซื้อสินค้าที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทำให้หน่วยธุรกิจต่างๆ ในซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจำเป็นต้องปรับตัวให้สามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้ซัพพลายเชนมีความยั่งยืนในที่สุด

สำนักโลจิติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ให้ความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดการอบรมในหลักสูตร “การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน” ตามโครงการสร้างนักโลจิสติกส์อุตสาหกรรมมืออาชีพ โดยผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมจะได้รับสนับสนุนทุนการอบรมจากสำนักโลจิสติกส์มากกว่าร้อยละ 60 ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.logistics.kmutt.ac.th

เอกสารอ้างอิง:

Cetinkaya, B., Cuthbertson, R., Ewer, G., Klaas-Wissing, T., Piorowicz, W. and Tyssen, C. The need for sustainable supply chain management. In Cuthbertson, R. (Ed.) Sustainable Supply Chain Management.Springer. London, 2011.

ที่มา http://www.logistics.go.th/en/news-article/bol-article/9385-2017-03-09-02-54-16

----------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward