sc การจัดการสินค้าคงคลัง จุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point)
จุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point) ในการจัดซื้อสินค้าคงคลัง เวลาก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งตัวหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าระบบการควบคุมสินค้าคงคลังของกิจการเป็นแบบต่อเนื่อง จะสามารถกำหนดการสั่งซื้อใหม่ได้เมื่อพบว่าสินค้าคงคลังลดเหลือระดับหนึ่ง ก็สั่งซื้อของมาใหม่ในประมาณคงที่เท่ากับปริมาณการสั่งซื้อที่กำหนดไว้ ซื้อเรียกว่า Fixed Order Quantity System โดยมีความสัมพันธ์แปรตามตัวแปร 3 ตัว คือ อัตราความต้องการใช้สินค้าคงคลังและรอบเวลาในการสั่งซื้อ (Lead Time)
1. จุดสั่งซื้อใหม่ในอัตราความต้องการสินค้าคงคลังคงที่และรอบเวลาคงที่ เป็นสภาวะที่ไม่เสี่ยงที่จะเกิดสินค้าขาดมือเลย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างแน่นอน
จุดสั่งซื้อใหม่ R = d x L
โดยที่ d = อัตราความต้องการสินค้าคงคลัง
L = เวลารอคอย
2. สต็อกเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock) เป็นสต็อกที่ต้องสำรองไว้กันสินค้าขาดเมื่อสินค้าถูกใช้และปริมาณลดลงจนถึงจุดสั่งซื้อ (Reorder point) เป็นจุดที่ใช้เตือนสำหรับการสั่งซื้อรอบถัดไป เมื่ออุปสงค์สูงกว่าสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ เป็นการป้องกันสินค้าขาดมือไว้ล่วงหน้า หรืออีกคำอธิบายหนึ่งเป็นการเก็บสะสมสินค้าคงคลังในช่วงของรอบเวลาในการสั่งซื้อ
3. ระดับการให้บริการ (Service Level) เป็นวิธีการวัดปริมาณสต็อกเพื่อความปลอดภัยเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในด้านคุณภาพ โดยปกติในระบบคุณภาพลูกค้าจะมีการคาดหวังในระดับที่กำหนดเป็นร้อยละของการตอบสนอกคำสั่งซื้อ ซึ่งขึ้นกับนโยบายที่ป้องกันสต๊อกขาดมือรวมไปถึงต้นทุนสำหรับเก็บสต็อกเพิ่มเติมและการเสียยอดขาย
การควบคุมสินค้าคงคลังโดยการใช้ระบบ ABC (ABC Inventory Control)
ABC Analysis มาจากกฎของ Parelo (Parelo’s Law) จากการศึกษาการกระจายความมั่งคั่งในเมือง Milan สังเกตพบว่ามีสินค้าไม่กี่รายการของบริษัทที่จำหน่ายได้มากและสินค้าจำนวนมากจำหน่ายได้น้อย บริษัทสามารถนำหลักการดังกล่าวมาใช้บริหารสินค้าคงคลัง โดยจำแนกสินค้าตามปริมาณการขายเป็นระดับ A B และ C
เมื่อกล่าวถึงการบริหารและการควบคุมสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารต้องทำความเข้าใจว่าสินค้าคงคลังแต่ละรายการไม่สามารถใช้วิธีบริหารจัดการแบบเดียวกันได้ เมื่อสินค้าคงคลังบางรายการที่ถูกจำหน่ายออกไปได้เร็วสามารถนำรายได้เข้าบริษัทได้มากกว่ารายการอื่นที่มียอดจำหน่ายต่ำ ฉะนั้นรายการสินค้าคงคลังที่มียอดขายมากต้องถูกดูแลอย่างใกล้ชิด และช่วยให้ผู้วางแผนสินค้าคงคลังพิจารณาลงทุนได้ง่ายขึ้นโดยสังเกตจากรายการสินค้าที่มียอดจำหน่ายสูง
หลักของ Perato ช่วยให้ผู้วางแผนสินค้าคงคลังตอบโจทย์สำคัญต่อไปนี้
1. สามารถพิจารณาได้ว่าสินค้าคงคลังรายการใดสำคัญกว่ารายการอื่น
2. สามารถพิจารณาได้ว่าสินค้าคงคลังใดที่ต้องมีการควบคุมในระดับ
ที่สูงกว่ารายการอื่นเพื่อป้องกันสินค้าขาดสต็อก
การแบ่งระดับของสินค้าคงคลังที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่นมูลค่า หรือยอดการใช้การแบ่งสินค้าคงคลังออกเป็นระดับ ดังนี้
- ระดับ A ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่มีราคาแพงหรือมีปริมาณการเคลื่อนไหวสูง ผู้บริหารสินค้าคงคลังจึงต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เช่น กำหนดระดับบริการลูกค้าที่ 95% และมีสินค้าคงคลังไว้มากเพื่อป้องกันสินค้าหมดสต็อก และเก็บสินค้าคงคลังและสินค้าคงคลังสำรองไว้ในทุกคลังสินค้า ได้แก่ คลังสินค้ากลาง คลังสินค้าภูมิภาค และคลังสินค้าท้องถิ่น โดยให้มีการตรวจสอบสถานะสินค้าคงคลังทุกวัน เป็นต้น
- ระดับ B เป็นสินค้าคงคลังที่มีความสำคัญรองลงมาจากระดับ A จัดอยู่ในกลุ่มของสินค้าที่มียอดขายหรือใช้ในระดับปานกลางถึงต่ำ ต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ เช่น ตรวจสอบทุกสัปดาห์ ระดับบริการอยู่ที่ 90% เก็บสต็อกไว้ที่คลังสินค้าภูมิภาคทั่วไปมีการควบคุมอัตโนมัติโดยระบบคอมพิวเตอร์
- ระดับ C เป็นสินค้าที่มีปริมาณมากแต่การเคลื่อนไหวช้าหรือยอดจำหน่ายต่ำ บริษัทอาจจะกำหนดระดับบริการไว้ที่ 85% และเก็บสต็อกไว้ที่คลังสินค้ากลางของบริษัทเท่านั้นเพื่อลดต้นทุนคลังสินค้า และควบคุมโดยการใช้หลักระบบ 2 กระบะ หรือใช้ระบบการตรวจสอบเป็นระยะ
รูปที่ 2.8 การจำแนกสอนค้าคงคลังแบบ ABC
--------------------------------------------------------