ขอบเขตของการจัดการโซ่อุปทาน (Scope of Supply Chain Management)
การจัดการโซ่อุปทานจะบรรลุเป้าหมายของบริษัทได้ ต้องดำเนินการเป็นทีม โดยมีของเขตของการจัดการเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ หมายถึง การกระทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง (Efficiency is doing things right) และประสิทธิผลหมายถึงการกระทำสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้อง (Effectiveness is doing the right things) สามารถอธิบายระดับในการจัดการโซ่อุปทานได้ดังต่อไปนี้
1) ระดับกลยุทธ์ (Strategic level) เป็นระดับที่ว่าด้วยนโยบายที่ชัดเจนของบริษัท มีการวางแผนทิศทางที่ชัดเจน (Direction plan) เช่นนโยบายสินค้าคงคลังจะมีนโยบายแบบใด จะทำสต็อกเพื่อทำกำไรทางการตลาด หรือไม่เก็บสต็อก เป็นต้น การวัดผลงาน จะวัดเชิงประสิทธิผล
2) ระดับยุทธวิธี (Tactical level) เป็นระดับที่ต้องมีการวางแผนตามโครงสร้างที่กำหนด (Strategic plan) เช่น การดำเนินการในโซ่อุปทาน บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ใครรับผิดชอบอะไร เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของบริษัท ซึ่งส่วนมากดำเนินการโดยผู้บริหารระดับสูง และ ระดับกลางของบริษัท การวัดผลงานจะวัดด้วยประสิทธิผลของงานที่จะดำเนินการคือ บรรลุตามเป้าหมายของบริษัท อาจจะอยู่ในรูปมูลค่าสินค้าคงคลังตลอดโซ่อุปทาน เป็นต้น
3) ระดับปฏิบัติการ (Operation level) เป็นการนำระบบโซ่อุปทาน มาใช้ในแต่ละฝ่ายของบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธวิธี เช่น งานขาย ต้องสอดคล้องกับงานผลิต งานจัดซื้อ คลังสินค้า การบริหารเครือข่าย เป็นต้น การวัดผลงานในระดับนี้จะวัดโดยใช้ประสิทธิภาพ (Efficiency)
โลจิสติกส์เป็นการไหลของวัสดุและสินค้า ที่เป็นเชิงกายภาพซึ่งไหลจากฝั่งต้นน้ำหรือซัพพลายเออร์ในการผลิตไปยังฝั่งปลายน้ำหรือลูกค้า แตกต่างจากการจัดการโซ่อุปทานซึ่งเป็นการไหลของสารสนเทศซึ่งเป็นข้อมูลการย้อนกลับ หลังจากที่มีการรับสินค้าจากลูกค้าในแต่ละช่วง เพื่อทำให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินงาน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน ซัพพลายเออร์จะพบว่าดำเนินงานของทุกกิจกรรม ต้องประสานงานอย่างสอดคล้อง โดยโลจิสติกส์แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดการวัสดุ (MaterialManagement) และสนับสนุนการตลาดและการกระจายสินค้า (DistributionManagement)
การไหลของวัตถุดิบผ่านการผลิตจนถึงการกระจายสินค้าสำเร็จรูปผ่านไปยังผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อเมื่อมีการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ มาประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งภายในองค์กรและเชื่อมต่อกับบริษัทภายนอกเพื่อสร้างความถูกต้องและรวดเร็ว เรียกว่า การจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งก่อนที่จะใช้การจัดการโซ่อุปทานได้ ควรต้องปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ในของแต่ละบริษัทที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพก่อน จึงจะทำให้ผลการดำเนินงานตลอด
โซ่อุปทานมีประสิทธิผล