sc ข้อมูลการกระจายสินค้า (distribution)
1) การกระจายสินค้า (distribution) ข้อมูลที่ใช้ในการกำหนดตารางความต้องการกระจายสินค้า ได้แก่
1. ค่าพยากรณ์ความต้องการสินค้าในแต่ละช่วงเวลา
2. ปริมาณสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งสินค้ามายังคลังสินค้า
3. ปริมาณสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้าขณะนั้น
4. ปริมาณการส่งมอบสินค้าในแต่ละช่วงเวลาที่กำหนดไว้
5. ปริมาณสินค้าสำรองเพื่อความปลอดภัย
6. ปริมาณการจัดส่งสินค้าในแต่ละครั้ง
7. ช่วงระยะเวลารอคอยการจัดส่งสินค้า
2) ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการจัดการกระจายสินค้า มีดังนี้
1. ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน มีความถูกต้องรวดเร็ว และทันต่อการเปลี่ยนแปลงในค่าพยากรณ์ความต้องการสินค้า จำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า ปริมาณและกลุ่มของสินค้าที่จะขนส่ง ชนิดของสินค้า ช่องทางการกระจายสินค้า ระยะเวลา ระยะทาง และเส้นทางการขนส่ง
2. การจัดระบบการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพในรูปของเครือข่ายการขนส่ง ปัญหาอุปสรรคอันอาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อกระบวนการกระจายสินค้า แนวทางในการแก้ไขและป้องกันการตรวจสอบและควบคุม
3.จำนวนช่องทางในการกระจายสินค้าหรือการจัดจำหน่ายสินค้า โดยปกติธุรกิจจะเลือกหลายช่องทาง เช่น ห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่ง การซื้อขายทางไปรษณีย์ การใช้ผู้แทนขายโดยตรงตัวแทนผู้จัดจำหน่าย การติดต่อผ่านองค์กรทางการค้าในแต่ละท้องถิ่น
4. ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระบบการจัดส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการจ้างผู้ให้บริการด้านการจัดส่งสินค้า หรือการลงทุนดำเนินงานเอง ได้แก่ อัตราค่าขนส่ง ค่าประกันความเสียหายที่เกิดขึ้น
5. กลยุทธ์ที่ใช้ในการกระจายสินค้า เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากที่สุดและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยพิจารณาจากจุดคุ้มทุนและความได้เปรียบทางด้านกายภาพ เช่น ระบบเครือข่ายคลังสินค้า การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange; EDI) หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)