ประเภทสินค้าคงคลัง (Type of inventory) มีการแบ่งออกได้หลายแบบอาจพบมีการแบ่งตามสภาพของวัสดุจนไปเป็นสินค้าแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. วัตถุดิบ (Raw Materials) เป็นสิ่งของที่กิจการซื้อมาเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตสำหรับผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป
2. ชิ้นส่วน (Assembly) เป็นชิ้นส่วนที่กิจการซื้อมาหรือผลิตขึ้นเพื่อนำไปผลิตต่อเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไปหรือเป็นชิ้นส่วนประกอบที่เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูป
3. วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) เป็นวัสดุที่กิจการมีไว้ใช้ในการดำเนินการผลิตที่ได้เป็นส่วนสำคัญของสินค้าสำเร็จรูปต่อไป เช่น ด้าย กระดุม กระดาษ ปากกา เป็นต้น
4. สินค้าระหว่างการผลิต (Work in Process) เป็นวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ
5. สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแล้วพร้อมจะจำหน่ายแก่ลูกค้าต่อไป
หรือในบางธุรกิจอาจแบ่งประเภทของสินค้าคงคลังออกไปตามลักษณะของวัสดุที่จะนำมาใช้ ได้แก่
- สินค้าคงคลังประเภทเบ็ดเตล็ด (odds and ends) หมายถึงวัตถุดิบประเภทช่วยเหลือให้การผลิตดำเนินไปได้เช่นอุปกรณ์สำนักงานน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้นชิ้นส่วนในกลุ่มนี้จะไม่ได้พบหรือนำมาเป็นส่วนประกอบในสินค้าเมื่อทำสำเร็จรูป
- สินค้าคงคลังประเภทวัตถุดิบและอะไหล่ (Raw material or Spare parts) หมายถึงชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบที่เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูปเช่นน๊อตหัวเทียนในรถ เหล็กจะนำมาผลิตเป็นตัวถังรถยนต์หินปูนที่นำมาใช้ผลิตปูนซีเมนต์เป็นต้น
- สินค้าคงคลังประเภทกึ่งสำเร็จรูป(Work in process inventory: WIP) หมายถึงวัสดุที่ผ่านจากวัตถุดิบมาแล้วแต่ยังไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป จำนำไปใช้ประกอบในสินค้าอีกทีเช่นเครื่องเคลือบดินเผาที่ผ่านการเผามาครั้งหนึ่งแล้วยังต้องนำมาเขียนสีก่อน จะต้องเก็บในกระบวนการผลิต แล้วจึงนำไปเผา เคลือบเป็นสินค้าสำเร็จรูป ปูนอัดเม็ด เป็นต้น
- สินค้าคงคลังประเภทสำเร็จรูปสินค้าสำเร็จรูป (Ready made or Finished products) หมายถึงสินค้าที่สมบูรณ์เรียบร้อยแล้วนำไปเก็บในคลังสินค้าเพื่อรอจำหน่ายกลายเป็นสินค้าประเภทสำเร็จรูปรถยนต์มาม่าผงชูรสเป็นต้น
หรือในบางธุรกิจอาจแบ่งประเภทของสินค้าคงคลังออกไปตามลักษณะการเคลื่อนย้าย เช่น
- วัสดุคงคลังระหว่างทาง (In–transit Inventories) เป็นวัสดุหรือสินค้าที่อยู่ระหว่างการลำเลียงจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งวัสดุหรือสินค้าเหล่านี้อาจจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัสดุหรือสินค้าที่เก็บไว้ แม้ว่าวัสดุหรือสินค้าเหล่านี้จะยังไม่สามารถขายหรือขนส่งในลำดับต่อไปได้จนกว่าวัสดุหรือสินค้านั้นจะไปถึงผู้ที่สั่งวัสดุหรือสินค้านั้นเสียก่อน ดังนั้นในการคำนวณต้นทุนในการเก็บรักษาวัสดุหรือสินค้าของต้นทาง ควรจะรวมต้นทุนของวัสดุหรือสินค้าคงคลังระหว่างทางไว้ด้วย
- วัสดุหรือสินค้าไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock): เป็นวัสดุหรือสินค้าทีกิจการเก็บไว้นาน และยังไม่มีความต้องการวัสดุหรือสินค้าชนิดนั้นเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะวัสดุหรือสินค้าล้าสมัย เสื่อมสภาพ ในกรณีที่เป็นวัสดุหรือสินค้าตกค้างควรทาการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพื่อป้องกันการเสื่อมของวัสดุหรือสินค้า เช่น อาจนำมาขายลดราคาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้
การทำธุรกิจที่ดีควรต้องมีการเก็บสินค้าคงคลังไม่ว่าจะในรูปแบบใดให้มีความเหมาะสม เพราะถ้ามีสินค้าคงคลังน้อยเกินไปก็อาจทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดแคลนไม่เพียงพอ (Stock out) ส่งให้กับลูกค้า สูญเสียโอกาสในการขายสินค้าให้แก่ลูกค้า บางครั้งอาจเป็นการเปิดช่องให้แก่คู่แข่งขันและหากเร็วร้ายมากอาจต้องสูญเสียลูกค้าไปในที่สุด หรือหากสิ่งที่ขาดนั้นเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ ก็จะทำให้การดำเนินงานทั้งการผลิตและการขายอาจต้องหยุดชะงัก บางครั้งไม่สามารถผลิตได้ตามเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจได้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการในการจัดการสินค้าคงคลังของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีไม่มากไปหรือน้อยจนเกินไปเพราะต้นทุนของสินค้าคงคลังต้องใช้เงินจำนวนมากและอาจส่งผลกระทบถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้หากไม่มีสินค้าคงคลังการผลิตอาจจะไม่ราบรื่นโดยทั่วไปฝ่ายขายค่อนข้างพอใจหากมีสินค้าคงคลังจำนวนมาก ๆเพราะให้ความรู้สึกมั่นใจว่าอย่างไรก็มีสินค้าให้พอขายแต่หน้าที่ของสินค้าคงคลังคือรักษาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) เพราะการสั่งซื้อจำนวนมากแม้ในระยะสั้นเป็นการลดต้นทุนแต่ก็จะมาเกิดปัญหาที่คลังสินค้าซึ่งต้องมาแก้ไขปัญหาในการเก็บสินค้าที่มีปริมาณมากขึ้นในทุกส่วนไแด้วย
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------