iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

ประเภทของโลจิสติกส์ (Type of logistics)

ประเภทของโลจิสติกส์ (Type of logistics) สามารถแบ่งได้หลายแนวทาง ในปัจจุบันพบมีการแบ่งดังรายละเอียด 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 

1. โลจิสติกส์ แบ่งตามลักษณะการให้บริการ ในการศึกษาแบ่งตามหลักการให้บริการของจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดในการไหลของวัสดุ หรือ สินค้า หรือ ผู้โดยสาร ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.1 โลจิสติกส์เพื่อการผลิต (Manufacturing Logistics) หรือการจัดการวัสดุ (Material Management) หรือโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ขายปัจจัยการผลิตทั้งในและต่างประเทศ มาส่งยังโรงงาน จนถึงจุดสุดท้ายก่อนเป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยจะสนับสนุนในการผลิตเป็นหลัก มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้แก่ การศึกษาอุปสงค์ของพื้นที่จัดเก็บและการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบ สินค้า ชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ ที่ต้องจัดซื้อ จัดหา เพื่อการผลิต รวมถึงพิจาณาต้นทุนและการบริการ เพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มในกิจกรรมทางเลือกที่ดีที่สุด

1.2 โลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้า (Distribution Logistics) หรือการกระจายสินค้า (Distribution Management) หรือโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) เป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าสำเร็จรูปไปส่งลูกค้า จะสนองความต้องการในการจัดจำหน่าย  และการตลาด โดยทำหน้าที่สำคัญ คือ การจัดการคลังสินค้าสำเร็จรูปและการขนส่ง โดยคลังสินค้าจะต้องมีสาธารณูปโภคพื้นฐาน อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงระบบการจัดการที่เหมาะสม

1.3 โลจิสติกส์สำหรับผู้โดยสาร (Passenger Logistics) เป็นโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับ การขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น ถนน ระบบราง สถานี สนามบิน ท่าเรือ ร่องน้ำ อุปกรณ์ในการขนส่ง การเชื่อมต่อการขนส่งหลายรูปแบบ ในประเทศไทย ในการขนส่งทางบก มีระบบการจัดการขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ไม่ดีนัก ส่งผลให้เกิดภาวะความหนาแน่นของการจราจร ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโลจิสติกส์เพื่อการผลิต และโลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้า

2. โลจิสติกส์ แบ่งตามวัตถุประสงค์

ในการแบ่งแบบนี้จะมีการพิจารณาจากวัตถุประสงค์ที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยระบบ โลจิสติกส์ ในธุรกิจคือ การสร้างประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือการสร้างคุณค่าโดยการขนส่งสินค้าจากจุดที่ผลิตไปยังจุดที่มีความต้องการของตลาด (อุปสงค์) เพื่อให้ส่งสินค้าได้อย่างถูกต้องทั้งรูปแบบ คุณภาพ ปริมาณ จังหวะเวลา ด้วยต้นทุนที่เหมาะสมไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อง โดยมีพันธกิจของการจัดการโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การดำเนินงาน และประสานการดำเนินงานทั้งในกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งบรรลุผลในด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่าด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้แบ่งประเภทโลจิสติกส์ตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้

2.1 วิศวกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Engineering) ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้

- การจำกัดความต้องการการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ในการเริ่มต้น

- การพัฒนาเกณฑ์เพื่อเป็นปัจจัยในการป้อนเข้าสู่การออกแบบโลจิสติกส์

- การประเมินทางเลือกของการออกแบบ ตลอดจนการศึกษาการประเมินผลได้และผลเสีย

- ความเหมาะสมของการออกแบบ และการทบทวนการออกแบบ

- การกำหนดความต้องการทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการออกแบบ เช่น จำนวนคน ระดับทักษะ อะไหล่ ส่วนประกอบ เครื่องมือทดสอบและสนับสนุน การขนส่ง สิ่งอำนวยความสะดวก ข้อมูล และคอมพิวเตอร์

- การทำการประเมินของโครงสร้างสนับสนุนด้วยวัตถุประสงค์ของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวัดประเมินกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ และให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล การประเมิน และประสิทธิภาพการปรับปรุงของกระบวนการ

2.2 โลจิสติกส์แบบย้อนกลับ คือ กระบวนการของการเก็บรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว และพยายามที่จะทำให้เกิดคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นใหม่ด้วยวิธีการปรับปรุงใหม่ที่ดีที่สุด โลจิสติกส์แบบย้อนกลับ (Reverse Logistics) ครอบคลุมประเด็นที่กว้างขวางมากกว่าวิศวกรรมโลจิสติกส์ เช่น การนำกลับมาสร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ (Value-added recovery) กระบวนการคืนสินค้าเพื่อนำมาทำลาย หรือเป็นสินค้าคงคลังแบบตามฤดูกาล การเรียกสินค้าคืน และ สินค้าคงคลังที่เกิน โลจิสติกส์แบบย้อนกลับยังรวมถึงการนำสินค้ากลับมาผลิตใหม่ การกำจัดวัสดุที่มีพิษ การกำจัดอุปกรณ์ที่ล้าสมัย และการนำสินทรัพย์กลับมาใช้ใหม่

2.3 โลจิสติกส์การผลิต (Production Logistics) คือ ส่วนของโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการจัดหาวัสดุ รวมถึง การทำให้เป็นมาตรฐาน การทำสัญญา การประกันคุณภาพ การจัดซื้ออะไหล่ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือ ข้อกำหนดรายละเอียด (Specification) กระบวนการผลิต การทดลอง และ การทดสอบ การตั้งรหัสเอกสารของเครื่องมือ การปรับปรุงและการควบคุมการผลิต

2.4 โลจิสติกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Logistics หรือ Operational Logistics) หรือ โลจิสติกส์เชิงปฏิบัติการ คือ  ส่วนของโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกันตั้งแต่เริ่มผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บ การขนส่ง การบำรุงรักษา การซ่อม และความสามารถของการบริการ ส่วนการจัดการวัสดุ รวมถึงการควบคุมสต็อก การวางแผนผังคลังสินค้า หรือศูนย์กระจายสินค้า การควบคุมารเคลื่อนย้าย รายงานของเสีย และความน่าเชื่อถือ มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการจัดเก็บ การขนส่ง และการอบรมที่เกี่ยวข้อง

2.5 ผู้ให้บริการโลจิสติกส์จากภายนอก (Third Party Logistics :3PL) การให้บริการแบบนี้ส่วนมากบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการมักจะเป็นเจ้าของยานพาหนะ และอุปกรณ์ที่ใช้อำนวยความสะดวกในการขนส่งเอง แต่จะใช้ระบบพันธมิตรทางการค้ากับผู้ขนส่งและจะประสานงานกับผู้ขนส่งที่เหมาะสม ในการให้บริการการขนส่ง ซึ่งลักษณะการบริการแบบนี้มีดังนี้

- ผู้ให้บริการขนส่ง (Transportation brokers) บริษัทที่ให้บริการขนส่งทางเรือ และผู้รับขน (Carrier) โดยวางแผนและประสานงานการขนส่งสินค้า

- ผู้รับจองระวาง (Freight forwarders) องค์กรที่รวบรวมการขนส่งขนาดเล็กจากผู้ขายหลายราย จากหลายสถานที่ เพื่อให้ขนาดขนส่งใหญ่ขึ้นเพื่อลดต้นทุน

- สมาคมเพื่อขนส่งทางเรือ (Shippers’ association) สมาคมที่ให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมการขนส่งขนาดเล็ก ให้เป็นการขนส่งเต็มคันรถสำหรับบริษัทในสมาชิก

- บุคคลที่ 3 (Third parties) บริษัทที่ให้บริการประสานงานและบริหารงานด้านโลจิสติกส์ให้กับลูกค้า บางบริษัทขนาดใหญ่ได้ว่างจ้างบุคคลภายนอก (Outsource) ทำกิจกรรมทางโลจิสติกส์ให้บริษัทผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 เป็นผู้บริหารงานแทน ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานในสิ่งที่ตนเองถนัด

โดยกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมด ที่ดำเนินการโดยองค์กรหรือหน่วยเศรษฐกิจ (Economic Unit) ในระบบเศรษฐกิจ สามารถจำแนกการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวตามขอบเขตการดำเนินธุรกิจของผุ้ประกอบการได้ 2 รูปแบบ คือ

- กิจกรรมโลจิสติกส์ซึ่งผู้ประกอบการดำเนินการเองในองค์กร (In-house Logistics)

- กิจกรรมโลจิสติกส์ที่ผู้ประกอบการได้ว่าจ้างองค์กรอื่นมาดำเนินการให้ (Outsourcing)

ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์เองทั้งหมด หรือเลือกดำเนินการเพียงบางส่วนก็ได้ เนื่องจากในปัจจุบันสภาวะการแข่งขันเป็นตัวผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องเร่งพัฒนาความสามารถหลัก (Core Competency) และมีความต้องการพันธมิตรทางธุรกิจมากขึ้นกว่าในอดีต จึงมีความนิยมในการใช้บริการจากผู้ให้บริการทางโลจิสติกส์ โดยเฉพาะ (Logistics Service Provider : 3PL) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่เกิดจากการให้บริการด้านโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการทั้งระบบ เรียกว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Industry)

2.6 โลจิสติกส์ในระดับสากล (Global Logistics) ในยุคการค้าเสรีในปัจจุบัน ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจในระดับสากลมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ผู้บริหารมักกำหนดเป้าหมายไปทั่วโลก เพื่อส่งเสริมตลาดต่างประเทศ กิจการจะต้องมีระบบโลจิสติกส์ ที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในตลาดเฉพาะ การจัดการระบบโลจิสติกส์ในระดับสากลมีความซับซ้อนมากกว่าระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ ในการควบคุมเพื่อติดตามตรวจสอบความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของระบบการกระจายสินค้าในตลาดต่างประเทศ โดยกิจกรรมโลจิสติกส์ในระดับสากล จะประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและสภาพตลาด การวางแผน การวางโครงสร้าง การนำแผนไปปฏิบัติ และการควบคุมระบบโลจิสติกส์

------------------------------------------------------------------

ที่มา

เอกสาร สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2558 www.logistics.go.th

รวมรวมข้อมูลภาพ

- www.iok2u.com

-------------------------------------

การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)

-------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward