ห่วงโซ่คุณค่าในการตลาด (Value Chain)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Analysis)
Michael E. Porter ได้เสนอแนะแนวคิดเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Analysis, Michael E. Porter, 1985) ว่าความสามารถในการแข่งขันขององค์กร จะเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมภายในองค์กรเอง การจัดการกิจกรรมที่ดีจะสามารถช่วยลดต้นทุนให้แก่องค์กร เพื่อใช้กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำในด้านราคา (Cost Leadership) หรือช่วยในการสร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการ (Differentiation) จึงควรจะต้องทำการวิเคราะห์ถึงกิจกรรมหาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม เพื่อศึกษาหาความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร
ห่วงโซ่คุณค่าในการตลาด (Value Chain) เป็นแนวคิดการทำความเข้าใจถ
1. กิจกรรมหลัก (Primary Activities) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกั
1.1 Inbound Logistics (การขนส่งขาเข้า) เป็นการจัดหาและนำวัตถุดิบปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจกรรมการผลิต การจัดเก็บรักษา และการจัดการในการจัดการเกี่ยวกับวัสดุ การคลังสินค้า ระบบการควบคุมสินค้าคงเหลือ กำหนดตารางการเคลื่อนย้าย และการรับคืน
1.2 Operations (การปฏิบัติการ) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ
1.3 Outbound Logistics (การขนส่งขาออก) เป็นการจัดส่งผลิตภัณฑ์สุดท้ายหรือสินค้าสำเร็จรูปออกสู่ตลาด
1.4 Marketing and Sales (การตลาดและการขาย) เป็นกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการตลาดและการขายสินค้า ประกอบด้วย ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product Mix), การตั้งราคา (Pricing), การส่งเสริมการตลาด (Promotions) และช่องทางจัดจำหน่าย (Channel of Distributions) โดยมุ่งที่ส่วนของตลาด
1.5 Services (การบริการ) การให้บริการลูกค้า ถือว่าเป็นกิจกรรมสร้างคุณค่าของธุรกิจ ความจำเป็นในการบริการ โดยพยายามให้การบริการที่เหนือกว่าแก่ลูกค้าซึ่งเป็นจุดแข็งขององค์กร
2. กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริม
2.1 Firm Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร) ประกอบด้วยกิจกรรม เช่น การเงิน การบัญชี กฎหมาย รัฐบาล ระบบสารสนเทศ และการจัดการทั่วไป กิจกรรมเหล่านี้สนับสนุนเครือข่ายในการสร้างคุณค่า และเป็นจุดเริ่มต้นที่มีกันในทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกิจกรรมโครงสร้างพื้นฐานจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
2.2 Human Resource Management (การบริหารทรัพยากรมนุษย์) ประกอบด้วยกิจกรรม การสรรหา คัดเลือก ฝึกอบรม พัฒนา และกำหนดค่าตอบแทนทุกระดับของพนักงาน อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีในทุกกิจกรรม ผู้บริหารส่วนใหญ่รู้สึกเป็นภาระในการจัดหาบริการให้พนักงานทั้งขณะทำงานและเมื่อเกษียณแล้ว แม้ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างคุณค่าและลดต้นทุนการรักษาพนักงาน จะต้องมีการตอบสนองที่รวดเร็วโดยเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพผลผลิตและความพึงพอใจในงานของพนักงาน
2.3 Technology Development (การพัฒนาเทคโนโลยี) กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเท
2.4 Procurement (การจัดการทรัพยากร) หมายถึงหน้าที่ในการจัดหาเพื่อใช้ในการผลิต การสร้างคุณค่าในธุรกิจประกอบด้วยวัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลือง และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ซึ่งใช้ในกระบวนการผลิต ตลอดจนอุปสงค์ เครื่องจักร อาคาร ฯลฯ
จากรูปจะเห็นว่า กิจกรรมหลักจะทำงานประสานงานกันได้ดีจน
----------------------------------------