ระบบการควบคุมและตรวจนับวัสดุคงคลัง
1. ระบบวัสดุคงคลังอย่างต่อเนื่อง (Continuous Inventory System Perpetual System)
- เป็นระบบวัสดุคงคลังที่มีการเก็บข้อมูลทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายของทำให้มีข้อมูลที่แสดงยอดคงเหลือที่แท้จริงของวัสดุคงคลังอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการควบคุมวัสดุคงคลังรายการที่สาคัญที่ปล่อยให้ขาดมือไม่ได้
- ปัจจุบันการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานและบัญชีสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในข้อนี้ โดยการใช้รหัสแห่ง (Bar Code) ติดบนวัสดุหรือสินค้าแล้วใช้เครื่องอ่านรหัสแห่ง (Laser Scan) ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะมีความถูกต้อง แม่นยา เที่ยงตรงแล้ว ยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลของการบริหารวัสดุคงคลังในซัพพลายเชนของวัสดุหรือสินค้าได้อีกด้วย
ข้อดี มีวัสดุคงคลังเผื่อขาดมือน้อยกว่า โดยจะเผื่อวัสดุหรือสินค้าไว้เฉพาะช่วงเวลารอคอยเท่านั้น เนื่องจากสามารถสั่งเพิ่มใหม่ได้ตลอดในขณะที่การตรวจนับวัสดุคงคลังเมื่อสิ้นงวด ต้องเผื่อวัสดุหรือสินค้าไว้ทั้งช่วงเวลารอคอยและเวลาระหว่างการสั่งซื้อ เนื่องจากจะไม่สามารถสั่งซื้อถ้ายังไม่ถึงช่วงเวลาที่กาหนด
2. ระบบวัสดุคงคลังเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System)
- เป็นระบบวัสดุคงคลังที่มีการเก็บข้อมูลเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่น ตรวจนับและลงบัญชีทุกปลายสัปดาห์หรือปลายเดือน และจะมีการสั่งซื้อเข้ามาเติมให้เต็มระดับที่ตั้งไว้ ระบบนี้จะเหมาะกับวัสดุหรือสินค้าที่มีการสั่งซื้อและเบิกใช้เป็นช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น ร้านขายสินค้า ที่จะมีการสำรวจยอดขายสินค้าในแต่ละวัน และทำการสรุปยอดอาจเป็นทุกวันหรือตอนสิ้นสัปดาห์ เพื่อดูปริมาณสินค้าที่ยังคงมีเหลืออยู่ในร้านและคลังสินค้า เพื่อเตรียมสั่งมาเพิ่มเพราะจะมีการเผื่อสำรองการขาดมือโดยไม่คาดคิดไว้ก่อนล่วงหน้าบ้าง และระบบนี้จะทำให้มีการปรับปริมาณการสั่งซื้อใหม่ เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ข้อดี ใช้เวลาน้อยกว่าและเสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมน้อยกว่าระบบต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลวัสดุคงคลังต่ากว่า
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------