iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

การจัดกลุ่มสินค้าคงคลัง (Types of Inventory)

สินค้าคงคลัง (Inventory) หมายถึง ปริมาณสินค้าหรือบริหารที่ธุรกิจมีสำรองไว้เพื่อการใช้งาน เพื่อการบริหาร เพื่อการผลิต เพื่อการจัดจำหน่ายในอนาคต เช่น อุปกรณ์สำนักงาน ชิ้นส่วนอะไหล่ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น (ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา และมาลัย ม่วงเทศ .2551 : 61)

สินค้าคงคลัง (Inventory) คือวัตถุที่มีการจัดเก็บในองค์กร จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนรายการหนึ่ง ทุกธุรกิจจะต้องมีไว้ เพื่อให้การผลิตการขายหรือการให้บริการ สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น แต่การมีสินค้าคงคลังมากไปก็เป็นปัญหากับธุรกิจ เพราะสินค้าคงคลังถือเป้นค่าใช้จ่าย ทั้งในเรื่องต้นทุนการเก็บรักษาที่สูง สินค้าเสื่อมสภาพ หมดอายุล้าสมัย ถูกขโมย หรือสูญหาย นอกจากนี้ยังทำให้สูญเสียโอกาสในการนำเงินที่จมอยู่กับสินค้าคงคลังนี้ไปหาประโยชน์ในด้านอื่นๆ

การจัดกลุ่มสินค้าคงคลัง (Types of Inventory) สามารถทำได้หลายแบบเช่น

1. การแบ่งกลุ่มตามขั้นตอนการผลิต (Based on Stage) แบ่งเป็น

- วัตถุดิบวัสดุที่ใช้ในการผลิต (Raw Materials) เป็นสิ่งของที่กิจการซื้อมาเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตสำหรับผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป

- งานระหว่างทำหรือสินค้าระหว่างผลิต (Work In Progress) เป็นวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการผลิต

- สินค้าสำเร็จรูป (Finnish Goods) เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแล้วพร้อมจะจำหน่ายแก่ลูกค้าต่อไป แต่ในบางธุรกิจอาจจะแบ่งประเภทของสินค้าคงคลัง (Type of inventory) 

2. การแบ่งกลุ่มตามวัตถุประสงค์การใช้งาน (Based on Purpose) แบ่งเป็น

- วัสดุที่มีเคลื่อนย้ายได้ (Movement) วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบส่งผ่าน เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่กำลังอยู่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่อื่นๆ

- วัสดุที่ใช้เป็นสำรอง (Buffer) หรือปริมาณวัตถุดิบสำรองที่ปลอดภัย (Safety Stock) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่ธุรกิจเก็บไว้เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนของปริมาณสินค้าและความต้องการ โดยวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังจะเป็นกันชน (Cushion) เพื่อให้การดำเนินงานมีความราบรื่นและต่อเนื่อง ป้องกันปัญหาสินค้าขาดมือ (Stock out) และการสั่งซื้อกลับ (Back order)

- วัสดุที่ประมาณว่าจะต้องได้ใช้ (Anticipation) วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบล่วงหน้าที่จัดเก็บเพื่อป้องกันความเสี่ยงของสถานการณ์เช่น การขึ้นราคา การนัดหยุดงาน การเปลี่ยนแปลงตาม สถานการณ์ หรือความผันผวนของสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานมีความคงที่ไม่ขาดตอนหรือต้องเร่งกำลังการผลิต

- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบคู่ควบ (Decoupling) เป็นระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลัง ที่ช่วยให้การหมุนเวียนของวัสดุหรือวัตถุดิบและกระบวนการผลิตด าเนินไปอย่างราบรื่นในอัตราคงที่

- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจร (Cycle) เป็นปริมาณวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อในรอบระยะเวลา เพื่อให้ต้นทุนการสั่งซื้อและการจัดเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังต่ำที่สุด โดยวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจรเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลัง

3. การแบ่งกลุ่มตามประเภทของวัสดุ (Based on Material) แบ่งเป็น

- ชิ้นส่วนอะไหล่ (Components) เป็นชิ้นส่วนที่กิจการซื้อมาหรือผลิตขึ้นเพื่อนำไปผลิตต่อเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไปหรือเป็นชิ้นส่วนประกอบที่เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูป

- เศษวัสดุ (Scraps) อาจเป็นวัสดุที่กิจการมีไว้ใช้ในการดำเนินการผลิต หรือสิ่งของที่เสียหายต้องรอการกำจัด

- วัสดุสิ้นเปลือง (Consumable) ใช้ประกอบการผลิตใช้แล้วทิ้ง

การเก็บสินค้าคงคลัง ควรมีไว้ในระดับที่เหมาะสม หากกิจการเก็บไว้มากเกินความจำเป็นก็จะทำให้เกิดการสูญเสียในรูปดอกเบี้ย (Interest) ค่าเก็บรักษา (Inventory Carrying costs) ค่าเสื่อม (Depreciate) และค่าดูแล และหากมีสินค้าคงคลังน้อยไปไม่พอกับความต้องการ ก็จะเกิดความเสียหายขึ้นโดยการผลิตอาจจะหยุดชะงักลง ลูกค้าขาดความน่าเชื่อถือขาดโอกาสขายที่หายไป

บทบาทของสินค้าคงคลังในซัพพลายเชน  มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลในซัพพลายเชน โดยควรมีระดับสินค้าคงคลังต่ำสุดที่จะไม่กระทบต่อระดับการให้บริการขององค์กร ปัจจัยนำเข้าของกระบวนการผลิตที่มีความสำคัญ สินค้าคงคลังมีความสำคัญต่อกิจกรรมหลักของธุรกิจเป็นอย่างมาก การบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลกระทบต่อผลกำไรจากการประกอบการโดยตรงและในปัจจุบันนี้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาจัดการข้อมูลของสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลามากยิ่งขึ้น การจัดซื้อสินค้าคงคลังมาในคุณสมบัติที่ตรงตามความต้องการ ปริมาณเพียงพอ ราคาเหมาะสม ทันเวลาที่ต้องการโดยซื้อจากผู้ขายที่ไว้วางใจได้ และนำส่งยังสถานที่ที่ถูกต้องตามหลักการจัดซื้อที่ดีที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารสินค้าคงคลัง 

-----------------------------------------------

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-----------------------------------------------

ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่

WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)

-------------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward