Marketing กลยุทธ์ 4Ps + 4Cs + 4Es & Marketing Mix ส่วนการผสมทางการตลาด (Marketing Mix) ด้วยกลยุทธ์ 4Ps + 4Cs + 4Es
กลยุทธ์การตลาด 4Ps และส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) คือ การนำหลักการตลาดหลายรูปแบบมาใช้ร่วมกัน เนื่องจากหลักในการตลาดด้านใดด้านหนึ่งอาจไม่สามารถทำให้เราสามารถเอาชนะคู่แข่งได้สมบูรณ์ดีพอ ดังนั้นหากต้องการความสำเร็จที่แน่ชัด ควรที่นักการตลาดจะมีการนำเอากลยุทธ์ในหลายๆ ส่วนมาใช้ร่วมกันในเพื่อสร้างโอกาสในความสำเร็จให้มีหลายๆ ด้าน แนวคิดในเรื่องของส่วนผสมทางการตลาด โดยเป็นการวางแผนนำกลยุทธ์ที่มีมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมและให้เกิดความลงตัวมากที่สุด ในวันนี้เราจะพูดถึงการนำกลยุทธ์การตลาดที่นำเอาหลายเรื่องมาพิจารณาร่วมกัน เช่น การพัฒณาสินค้าและบริการในส่วนมุมมองผู้ผลิต กลยุทธ์การตลาด 4Ps, แนวคิดความต้องการในส่วนของผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาด 4Cs และการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันลูกค้า กลยุทธ์การตลาด 4Es มาใช้ร่วมกันแบบส่วนผสมทางการตลาดเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
การเปรียบเทียบระหว่างแนวคิดการพัฒณาสินค้าและบริการในส่วนมุมมองผู้ผลิต กลยุทธ์การตลาด 4Ps, แนวคิดความต้องการในส่วนของผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาด 4Cs และการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันลูกค้า กลยุทธ์การตลาด 4Es แยกวิเคราะห์ออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก คือ
1. ผลิตภัณฑ์ (Product) ในส่วนของการพัฒนาสินค้าและบริการ จะทำโดยมุ่งตอบสนองความต้องการใช้ของผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่ใช่แบบการผลิตตามความต้องการของผู้ผลิตที่ละปริมาณมากๆ แล้วค่อยมาทำการตลาดสร้างความต้องการให้กับลูกค้าแบบเดิม จะให้ความสำคัญกับ ความต้องการของผู้บริโภค (Consumer‘s Need) และในการสื่อสารกับผู้บริโภคโดยจะใช้ การแนะนำประสบการณ์ (Experience) คือเปลี่ยนจากการแนะนำข้อดีของสินค้า ให้มาเป็นเป็นการแนะนำประสบการณ์ที่ผู้ใช้ได้รับหรือหลังจากได้ใช้ผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ใช้รักในผลลัพธ์ที่มีและเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา
2. ราคา (Price) ผู้ผลิตจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนแนวการคิดราคาต้นทุนในการผลิตแบบเดิม ที่่กำหนดราคาจาก ต้นทุนการผลิตสินค้า + ค่าใช้จ่ายที่มี + กำไรที่ต้องการ = ราคาขาย การคิดต้นทุนในการผลิตแบบเดิมนั้น บางครั้งใช้การสู้ในด้านราคาต้นทุนและกำไรมาทำแข่งขัน ในโลกปัจจุบันยุคที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าได้ง่ายและรวดเร็ว ดังนั้นผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการกำหนด ราคา เพราะหากมีการกำหนดราคาที่ผิดพลาดอาจมีปัญหาสู้คู่แข่งไม่ได้ ดังนั้นแทนที่จะสนใจที่ราคาควรทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมาให้ความสนใจที่ คุณค่า (Value) ของสินค้า ควรปรับคิดการสร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภคคือ ความเหมาะสมในราคา (Cost of Appreciation) หลังจากนั้นก็จะมีการกำหนดราคาที่ต้องการจากคุณค่า (Exchange) ที่ลูกค้าต้องการ นักการตลาดจะแอบเบี่ยงเบนราคาให้สูงขึ้น ในรูปแบบมูลค่าความรู้สึก โดยทำให้ผู้ซื้อรู้สึกคุ้มได้คุณค่าตามความคาดหวังและยังสามารถแก้ปัญหาได้ตามต้องการ
3. สถานที่ (Place) ในอดีตเรามักจะให้ความสำคัญในเรื่อง ทำเลที่ตั้ง สถานที่จัดจำหน่าย รูปแบบหน้าร้านซึ่งอาจเป็นทางกายภาพเป็นส่วนใหญ่ แต่ในยุคปัจจุบันที่โลกไร้พรมแดน ทำให้การเข้าถึงสินค้าและช่องทางจัดจำหน่ายมีได้มากขึ้นและครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกลทั่วโลก และเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าธุรกิจที่สามารถทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ของตัวเอง ได้จากทุกที่ทุกเวลาจะสามารถทำให้ชนะคู่แข่งได้ ดังนั้นหากลูกค้าสามารถติดต่อดูข้อมูลสินค้า มีช่องทางสื่อสารพูดคุยเพื่อแนะนำสินค้า สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ของเราได้ เรียกว่า ความสะดวกในการซื้อ (Convenience to Buy) ลูกค้ามีช่องทางการซื้อสินค้า การตลาดยุคใหม่ต้องคำนึงถึงความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเป็นหลัก จากแนวคิดที่ว่าสถานที่การขายมีความสำคัญสำหรับธุรกิจ ยุคเริ่มมี Internet ทำให้สถานที่จัดจำหน่ายหรือช่องทางในการเข้าถึงสินค้าและบริการไม่ได้อยู่ในรูปแบบของร้านค้าอีกต่อไป นักการตลาดเลยต้องมองถึงการอำนวยความสะดวกที่ทำให้ลูกค้าสะดวกในการใช้บริการและซื้อสินค้า ให้มีมากและดีที่สุดเรียกว่า การตอบสนองในทุกที่ (Everywhere) มีการเพิ่มช่องทางในการซื้อให้กับลูกค้าให้มีมากขึ้น ทำให้เกิดรูปแบบร้านค้าออนไลน์การบริการลูกค้าผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต จากในทุกเครือข่ายในทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก ปัจจุบันมาในรูปแบบอินเตอร์เน็ท (Internet) ผ่านช่องทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน (Smart Phone) หรือเครื่อมือต่าง (All Device) ในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มไหน (Platform) รวมถึงการมีระบบการชำระเงินที่สะดวกเช่น ผ่านระบบออนไลน์ บัตรเครดิต หรือเดบิต และยังเพิ่มการบริการขนส่งที่สามารถจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็ว ถือว่าสร้างความสะดวกที่ช่วยให้ลูกค้าติดใจและใช้บริการเราต่อเนื่องอย่างแน่นอน
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion) มีการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์จัดกิจกรรมเพื่อแจกแถม ให้มีการตัดสินใจซื้อสินค้า ได้มีารปรับแนวคิดในส่วนด้านผู้บริโภคคิอ การสื่อสารและนำเสนอ (Communication that Connects) โดยในอนาคตการเผยแพร่ประชาสัมพันธจะมีโดย กลุ่มลูกค้าที่เป็นสาวกของเรา (Evangelism) ที่ชื่นชมในสินค้าที่มีคือ การที่ลูกค้ารู้สึกดีต่อสินค้าและการบริการที่มีทำการช่วยแนะนำและเผยแพร่สินค้า ในส่วนนี้จะเกิดได้เมื่อลูกค้าที่ใช้สินค้าเรามีความรู้สึกผูกพันหลงไหลในสินค้าและบริการที่เราสร้าง มีขั้นโดยพยายามเปลี่ยนแปลงยกระดับความสัมพันธ์ของเราและลูกค้า ให้มีความสัมพันธที่ค่อยๆ มากขึ้นเช่น ยกระดับจากผู้สนใจ มาเป็นผู้ลองใช้ มาเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้า มาเป็นลูกค้าที่ใช้ประจำ (Repeated Customer) และมาถึงระดับสูงสุดคือเป็นลูกค้าที่หลงไหลในสินค้าเรา อาจเรียกว่าเป็นลูกค้าแบบสาวกไปเลย ความสำเร็จในส่วนนี้จะเกิดได้ เมื่อผลิตภัณฑ์เรานั้นมีองค์ประกอบข้อ 1 - 3 ที่ดี และยังต้องมีส่วนเสริมเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและความประทับใจของลูกค้าเช่น การขนส่งสินค้า การบริการหลังการขาย ทางเลือกในการชำระเงิน การรับประกัน และแม้แต่การบริการของพนักงาน โดยสำคัญที่สุดคือ คุณภาพของสินค้านั้นต้องมีความโดดเด่นและตอบความต้องการของลูกค้าผู้ใช้ได้จริง
** ดูรายละเอียด การพัฒณาสินค้าและบริการในส่วนมุมมองผู้ผลิต กลยุทธ์การตลาด 4Ps, แนวคิดความต้องการในส่วนของผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาด 4Cs และการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันลูกค้า กลยุทธ์การตลาด 4Es
จะเห็นว่าทั้ง 4 อย่างสามารถจับคู่กันได้อย่างลงตัว เพียงแค่ทางด้าน 4Ps เป็นแนวความคิดในส่วนของ ผู้ผลิตหรือเจ้าของธุรกิจ (Business Centrist) และในส่วน 4Cs กลับด้านมาเป็นแนวคิดจาก ผู้บริโภคหรือลูกค้า (Customer Centrist)
โลกของการแข่งขันที่นักธุรกิจทั้งหลายหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทันกับกระแสความต้องการลูกค้าได้ตลอดเวลา หรือเพื่อให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุด ปัจจุบันตลาดเริ่มไม่ใช่รูปแบบการตลาดที่เน้นการผลิตครั้งละมากๆ (Mass Market) แบบเดิม นักการตลาดเริ่มกลับมาปรับตัวจาก 4Ps ซึ่งเป็นแนวความคิดในส่วนของ ผู้ผลิตหรือเจ้าของธุรกิจ ให้กลายเป็นแนวการตลาดยุคใหม่ 4Cs ที่กลับด้านมาเป็นแนวคิดจาก ผู้บริโภคหรือลูกค้า มากขึ้น การสื่อสารในช่องทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายสังคมออนไลนมากมาย ต้องหาวิธีการในการใช้ช่องทางเหล่านี้มาช่วยให้เป็นประโยชน์ ใช้เรียกความสนใจของผู้บริโภคให้มีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) ก็เป็นปัจจัยพื้นฐานที่นำมาใช้ได้เสมอในโลกแห่งธุรกิจ
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------