Marketing แนวทางการสร้างทักษะของนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์
สนใจดาวน์โหลดเอกสารด้านล่าง
คู่มือสร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline) จัดทำขึ้นโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ และ สานักงานศูนย์วิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาศักยภาพเชิงลึกด้านการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมแนะแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์
แนวทางการสร้างทักษะของนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (5 Creative Marketeer Skills)
นักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline) ที่จะประสบความสาเร็จในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันนั้น จำเป็นต้องมีความเข้าใจและมีทักษะด้านการตลาดสมัยใหม่ รวมถึงมีกระบวนการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์อยู่เสมอ โดยผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นต้องมีทักษะสำคัญ 5ประการ เพื่อก้าวสู่การเป็นนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ ดังนี้
1. ด้านความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะสำคัญที่นักการตลาดพึงต้องมี ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการพัฒนาความคิดใหม่ เพื่อนำมาพัฒนาแก้ไขปัญหา หรือสนองตอบความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างความสะดวก ความรวดเร็ว และคุณค่าที่มากขึ้นให้กับลูกค้า ควรฝึกการเป็น “นักคิดเชิงสร้างสรรค์” ด้วยการ
- ฝึกเป็นคนไม่พอใจอะไรง่าย ด้วยคำถาม “ทำไม…”
- ฝึกกระตุ้นความคิดด้วยคำถาม อะไรจะเกิดขึ้น “ถ้า...”
- ฝึกมองมุมตรงข้าม ตั้งคำถาม และหาคำตอบ
- ฝึกเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
2. ด้านนวัตกรรม (Innovation)
ทักษะด้านนวัตกรรม คือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ข้อเสนอใหม่ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ หรือสามารถขายได้นั่นเอง (Innovation is the creation of a viable new offering) โดยนวัตกรรมอาจมีลักษณะ ดังนี้
- นวัตกรรม ไม่ใช่การประดิษฐ์
- สิ่งที่เป็นนวัตกรรม ต้องมีความยั่งยืนและมีคุณค่า
- นวัตกรรม อาจเกิดจากการพลิกแพลงเพียงเล็กน้อย
- คิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เกินคำว่า “ผลิตภัณฑ์”
นวัตกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. นวัตกรรมที่เกิดในระบบธุรกิจ (Business System) ประกอบด้วย
- Profit Model นวัตกรรม การทำธุรกิจเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ขายสินค้าได้แพงขึ้น มีกำไรมากขึ้น
- Networking นวัตกรรมการหาเครือข่ายเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการที่ดีขึ้น
- Organization Structure นวัตกรรมโครงสร้างองค์กร ปรับโครงสร้างของธุรกิจ เนื่องจากทรัพยากรในองค์กรมีจากัด จึงต้องบริหารให้มีประสิทธิภาพสูงสูด
- Process นวัตกรรมจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางานในส่วนต่าง
2. นวัตกรรมที่เป็นข้อเสนอ (Offering)
- Product Performance นวัตกรรมที่ได้จากการออกแบบตัวสินค้าหรือการใช้งานสินค้า
- Product System นวัตกรรม ในระบบการใช้งานสินค้า เช่น การสร้างนวัตกรรมด้วยการนำสินค้ากับสินค้า/บริการ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า
- Service นวัตกรรม ด้านการบริการที่ออกแบบมา เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในบริการมากยิ่งขึ้น
3. นวัตกรรมที่สร้างประสบการณ์ (Experience)
- Customer Engagement เป็นการสร้างนวัตกรรม ที่ช่วยสร้างความผูกพันกับลูกค้า และยกระดับให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีและประทับใจในสินค้าและบริการ
3. ด้านการออกแบบบริการ (Design Service)
ทักษะด้านการออกแบบบริการถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริการแก่ผู้บริโภค เนื่องจากการเน้นสร้างความประทับใจและพึงพอใจในบริการเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของธุรกิจ การบริการที่ดี ควรเป็นระบบที่ต้องมีการบริหารจัดการและต้องผ่านการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ โดยลูกค้าจะสามารถรับรู้หรือรู้สึกต่อบริการที่ดีจากการให้บริการที่เป็นเลิศ คุณสมบัติของนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ที่ออกแบบการให้บริการที่ดี ประกอบด้วย
- มีความใส่ใจและดูแลที่ดี
- สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ตรงจุดและตอบได้ตามความต้องการ
- ให้ความเป็นเพื่อนหรือมากกว่าการทำธุรกิจ
- มีความอดทนและตั้งใจในการที่จะแก้ไขปัญหาของลูกค้า
- สามารถให้คำปรึกษาที่ดีในการแก้ปัญหา และมีความจริงใจในการใหคำปรึกษา
- ให้มากกว่าที่ลูกค้าคิด ทั้งในส่วนที่ลูกค้าคิดว่าจะได้หรือคาดหวังจากเรา
4. ด้านการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing)
ทักษะด้านการตลาดดิจิทัล เป็นทักษะของการสอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีในปัจจุบัน เนื่องจากผู้บริโภคมีการใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น มีความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ การโอนเงินผ่านทางสมาร์ทโฟน การดูทีวีออนไลน์ เป็นต้น ทาให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตอยู่บนโลกของดิจิทัลตลอดเวลา ความสะดวกสบายด้วยดิจิทัลดังกล่าว ได้เปลี่ยนพฤติกรรมให้ผู้บริโภคขาดความอดทนในการรอคอย และเมื่อใดที่มีตัวเลือกอื่นที่เร็วกว่า ทันใจกว่า ผู้บริโภคก็พร้อมที่จะเปลี่ยนใจทันทีดังนั้น ทักษะด้านการตลาดดิจิทัล จึงเป็นเรื่องสาคัญของนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ มี 3 ลักษณะของช่องทางดิจิทัล ได้แก่
- Acquire Channel เป็นการต้อนให้ผู้บริโภคเข้ามาหา ด้วยการประกาศให้รู้ถึงตาแหน่งของเรา
- Direct Channel เป็นลักษณะที่ผู้บริโภครู้จักเราอยู่แล้วและเข้ามาหาเราเอง
- Social Channel เป็นลักษณะที่เราเข้าไปหาผู้บริโภค
5. ด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาด (Strategic Marketing Plan)
ทักษะด้านการวางแผนกลยุทธ์การตลาด เป็นทักษะที่นักการตลาดเชิงสร้างสรรค์จำเป็นต้องเรียนรู้ ด้วยการต่อยอดและนำองค์ความรู้ แนวความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ มาสร้างเป็น “กลยุทธ์การตลาด” โดยไม่ยึดติดกับกรอบความคิดหรือแนวทางเดิม โดยมีกรอบแนวคิดในการสร้างกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่
- What เราจะคิด ออกแบบหรือ สร้างสรรค์อะไร
- Wow จะต้องทeให้ลูกค้ารู้สึก Wow
- Work จะต้องทำได้จริงและได้รับผลตอบแทนจริง
-------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
สร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline)
-------------------------------------------------
คู่มือสร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline) จัดทำขึ้นโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ และ สานักงานศูนย์วิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาศักยภาพเชิงลึกด้านการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมแนะแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------