WIM การวิเคราะห์โดยการใช้หลักการพาเรโต (Pareto 80/20)
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) อธิบายถึง ในทุกกิจกรรมจะสิ่งที่สำคัญหรือมีประโยชน์ที่จำเป็นจำนวนที่น้อย และมีสิ่งที่ไม่สำคัญหรือไม่มีประโยชน์จำนวนที่มากกว่า ประมาณในอัตราส่วน 20 ต่อ 80 หรือเรียกว่า กฎ 80/20 ของพาเรโต เป็นกฎที่แสดงถึงความไม่สมดุลที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน จุดสำคัญอยู่ที่ว่าการที่เราตัดสินใจที่จะเลือกเน้นสิ่งที่สำคัญมากซึ่งเป็นกิจกรรมที่มี 20 % ที่สำคัญให้สำเร็จก่อนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ 80 % การเลือกทำเพื่อให้การใช้แรงเพียง 20 % จะได้ผลลัพธ์ 80 %
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20)
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) หมายความว่า สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ของสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80 เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น
- สินค้าที่มีการใช้หรือมูลค่าหรือความสำคัญเพียง 20 % ของสินค้าในคลัง จะรวมกันเป็น 80 % ของสินค้าในคลังสินค้านั้น
- สินค้าที่เสียหาย 20 % อาจสร้างปัญหาความสูญเสียมากถึง 80 % และ 20 % ของสินค้าที่มีอาจจะต้องใช้เวลาและทรัพยากรไปถึง 80 % ในการจัดการ
- มียอดขายสินค้า 80 % ของยอดขาย มาจาก 20 % ของสินค้าที่สำคัญและมีประสิทธิภาพ
- มีสินค้าในคลังสินค้า 80 % ที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ มีเพียงประมาณ 20 % ที่สำคัญและใช้บ่อย
- เวลาการทำงานในคลังสินค้า 80 % สร้างผลผลิตให้บริษัทเพียง 20 %
เราอาจใช้กฎ 80/20 นี้ช่วยในการจัดกลุ่มสินค้า คัดสินค้าที่สำคัญที่จะทำมาพิจารณาในการจัดการได้
หลักการพาเรโต (Pareto 80/20) จะช่วยในงานสินค้าคงคลังได้มากเนื่องจากการทำงานในคลังสินค้า จะพบว่ามีสินค้ามากมายที่ต้องดำเนินการ หากเราไม่สามารถจะเลือกดำเนินการจัดการที่เหมาะสมได้ ก็จะกลายเป็นต้องเราทำงานกับทุกสินค้าเหมือนกันหมด ซึ่งในความเป็นจริงสินค้าแต่ละชนิดมีความต้องการในการจัดการที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะลงมือทำการจัดการสินค้าคงคลัง เราควรมองว่าเราจะทำอะไรกับสินค้าในคลังอย่างไรให้ความสำคัญเพียงไหนและทำอะไรก่อนหลัง หากให้ดีควรเลือกให้งมีการจัดการสินค้าคงคลังให้มีเหลือน้อยที่สุดเพื่อให้จัดการได้ง่ายและจะต้องได้รับผลตอบแทนคืนมากที่สุด ในฐานะผู้บริหารสินค้าคงคลังควรจะต้องให้ความสำคัญกับ สินค้า 20 % ที่สำคัญ
ในกรณีที่การจัดการคลังสินค้า กำหนดนโยบายว่า ลูกค้าหรือผู็มาเบิกสินค้า คือ เป้าหมายที่จะให้บริการที่ดีที่สุด หากเป็นเช่นนั้นทุกคนที่เบิกสินค้าจะต้องได้รับการปฏิบัติจากพนักงานของคลังอย่้งหทดางดีเท่าเทียมกัน เราอาจไม่สามารถจะดำเนินการจัดการสินค้าในคลังได้ทั้งหมด แต่เราสามารถเลือกจัดการเพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าทุกคนได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม หากมีการใช้กฎ 80/20 มาช่วย เช่น หายอดสินค้าที่เบิกที่มีมูลค่ารวมจำนวน 80 % ของคลัง ว่ามีสินค้าใดบ้าง โดยเลือกสินค้ามาเพียง 20 % เพื่อมาจัดลำดับให้ความสำคัญในการเตรียมเพื่อให้บริการลูกค้าที่มาเบิกให้ดี และในส่วนของสินค้าอีกกว่า 80 % ในคลังที่ไม่ได้สร้างรายได้หรือมีคุณค่ามากนักกับคลัง เช่น สินค้าเคื่อนไหวช้า, สินค้าราคาถูก, สินค้ามีความเปราะบาง สินค้าที่ได้รับการบ่นหรือต่อว่าอยู่ตลอด รวมไปจนถึงเป้าหมายที่เราสนใจ ซึ่งหาสินค้ากลุ่มนี้นำมาวางแผนจัดการเฉพาะพิเศษในอีกแบบอาจจะทำให้คลังที่ได้ผลผลิตในกลุ่มนี้เพียงแค่ 20 % เท่านั้น หรือไม่ค่อยสร้างรายได้ สร้างปัญหามากกว่าสร้างรายได้ ให้คงสภาพไว้แต่อาจดูแลน้อยลง
เราควรทุ่มเทให้กับ 20 % ที่จะทำให้มีมูลค่ากลับคืน 80 % ดีกว่าไปเสียเวลากับ 80 % ที่สรา้งรายได้กลับคืนเพียง 20 %
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------