Tool หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20)
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) ตั้งขึ้นในปี 1895 ตามชื่อผู้สร้างกฎ "วิลเฟรโด พาเรโต" ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยนอธิบายถึง ในทุกกิจกรรมจะสิ่งที่สำคัญหรือมีประโยชน์ที่จำเป็นจำนวนที่น้อย และมีสิ่งที่ไม่สำคัญหรือไม่มีประโยชน์จำนวนที่มากกว่า ประมาณในอัตราส่วน 20 ต่อ 80 หรือเรียกว่า กฎ 80/20 ของพาเรโต เป็นกฎที่แสดงถึงความไม่สมดุลที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน จุดสำคัญอยู่ที่ว่าการที่เราตัดสินใจที่จะเลือกเน้นสิ่งที่สำคัญมากซึ่งเป็นกิจกรรมที่มี 20 % ที่สำคัญให้สำเร็จก่อนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ 80 % การเลือกทำเพื่อให้การใช้แรงเพียง 20 % จะได้ผลลัพธ์ 80 %
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) หมายความว่า สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ของสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80 เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น
- มีคนที่รวยเพียง 20 % ของคนทั้งประเทศที่มีทรัพย์สินมั่งคั่งรวมกันเป็น 80 % ของคนทั้งประเทศ
- ผลผลิตที่เสียหาย 20 % มาจากปัญหาประมาณ 80 % และ 20 % ของงานที่ทำได้จะต้องใช้เวลาและทรัพยากรไปถึง 80 %
- มีลูกค้าเพียง 20 % จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทถึง 80 % ของรายได้รวมทั้งหมด
- มียอดขาย 80 % ของยอดขาย มาจาก 20 % ของพนักงานขายที่มีประสิทธิภาพ
- มีผลผลิตในบริษัท 80 % ที่มาจากพนักงานเพียงประมาณ 20 %
- พนักงานในบริษัท 80 % สร้างผลผลิตให้บริษัท 20 %
ฯลฯ ดังนั้นเราจึงอาจใช้กฎ 80/20 นี้ช่วยในการจัดกลุ่มคัดงานลำดับงานที่จะทำได้ในแทบทุกเรื่อง
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20)
กฎข้อที่ 1 การตัดสินใจที่มีตลอดเวลา จะมีเพียงไม่กี่ครั้งที่เป็นการตัดสินใจที่สำคัญมาก
กฎข้อที่ 2 การตัดสินใจที่สำคัญที่สุดมักเกิดโดยบังเอิญ เพราะจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการตัดสินใจมักจะมาและไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันตั้งตัว
กฎข้อที่ 3 การรวบรวมข้อมูลมักใช้เวลา 80 % และจะมีการใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์เพียง 20 % เท่านั้น ที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจ
กฎข้อที่ 4 ถ้าสิ่งที่ตัดสินใจลงมือกระทำแล้วหากไม่ได้ผลให้รีบปรับเปลี่ยน หรือกลับมาจุดตั้งต้นใหม่
กฎข้อที่ 5 ถ้าสิ่งที่ทำไปได้ดีก็อย่ารีรอที่จะตัดสินใจลงทุนเพิ่มเเพิ่มเท่าตัว
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) จะช่วยในชีวิตจริงได้อย่างไร สืบเนื่องจากการที่ในชีวิตจริงของเรามีเรื่องมากมายที่ต้องดำเนินการ แต่เราไม่สามารถจะดำเนินการจัดการทำได้กับทุกเรื่องได้ ดังนั้นก่อนที่จะลงมือทำเรื่องอะไรแล้วควรมองว่าเราจะทำอะไรก่อนหลัง หากให้ดีควรเลือกเรื่องทัี่ทำน้อยหรือจัดการง่าย แต่จะได้รับผลตอบแทนคืนมาก เราในฐานะผู้บริหารควรจะต้องให้ความสำคัญกับ 20 % ที่สำคัญนี้เช่น
ในกรณีที่บริษัทหรือองค์กรกำหนดนโยบายว่า ลูกค้าคือเป้าหมายที่จะให้บริการที่ดีที่สุด หากเป็นเช่นนั้นลูกค้าทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติจากพนักงานของบริษัทอย่างดีเท่าเทียมกัน แต่เราไม่สามารถจะดำเนินการจัดการทำได้กับลูกค้าทุกคนได้จริงหรืทอได้ก็สูญเสียทรัพยากรที่มาก หากใช้กฎ 80/20 มาช่วยจะโดย เราควรหายอดขายรายได้รวมจำนวน 80 % ของบริษัท ว่ามาจากลูกค้าคนใดบ้าง โดยควรเลือกมาเพียง 20 % เพื่อมาจัดลำดับในการปฏิบัติต่อลูกค้าให้ดี และในส่งนของลูกค้า 80 % ที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้กับบริษัทมากนัก หลายรายที่จ่ายเงินช้า, ประวัติการชำระเงินไม่ดี, มีเรื่องบ่นหรือต่อว่าอยู่ตลอด รวมไปจนถึงหลายรายที่เป็นหนี้สงสัยจะสูญ ฯลฯ ซึ่งหาลูกค้าคนกลุ่มนี้มาวางแผนจัดการในอีกแบบ เพราะทำให้บริษัทมีรายได้เพียงแค่ 20 % เท่านั้น ไม่ค่อยสร้างรายได้ สร้างปัญหามากกว่าสร้างรายได้ ให้คงสภาพไว้แต่อาจดูแลน้อยลง หรืออาจจะส่งลูกค้าที่มีปัญหากับบริษัทหรือจัดความเข้มข้นในการดูแลที่ลดลง เพื่อลดต้นทุนในการให้บริการลูกค้าที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้กลุ่มนี้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้อีกทาง แล้วไปทุ่มเวลาดูแลเอาใจใส่กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่มีเพียง 20 % ที่เป็นผู้มีอุปการคุณตัวจริงที่ทำให้บริษัทอยู่ได้จะดีกว่า อาจกล่าวได้ว่า เราควรทุ่มเทให้กับ 20 % ที่จะทำให้มีมูลค่ากลับคืน 80 % ดีกว่าไปเสียเวลากับ 80 % ที่สรา้งรายได้กลับคืนเพียง 20 %
* ที่มา : www.iok2u.com
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------