ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ แผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) ประกอบด้วยประเด็น ยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ และ 11 กลยุทธ์ย่อย โดยมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ เร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน สร้างความเป็นมืออาชีพ และยกระดับมาตรฐานวิชาชีพด้านโลจิสติกส์ สร้าง เครือข่ายความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนากำลังคน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาด้าน โลจิสติกส์ของประเทศ
กลยุทธ์ที่ 3.1 พัฒนามาตรฐานวิชาชีพโลจิสติกส์ การเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยหน่วยงานภาครัฐ ร่วมดำเนินการกับภาคเอกชน ปรับปรุงกรอบหลักสูตรการศึกษาสาขาโลจิสติกส์ระดับอาชีวะและระดับปริญญาให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันและศูนย์พัฒนา บุคลากรโลจิสติกส์ที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน พร้อมมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นวิทยากรมืออาชีพในการถ่ายทอดความรู้ด้านโลจิสติกส์ สนับสนุนองค์กรกำกับดูแลวิชาชีพมาตรฐาน และการประเมินคุณภาพการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ เพื่อบริหารการพัฒนาบุคลากรที่ได้มาตรฐานและเป็นปัจจุบัน
กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ผลิตบุคลากร ด้านโลจิสติกส์ทั้งระดับต้นน้ำและปลายน้ำ ในทุกสาขาอาชีพให้มีความเป็นมืออาชีพและ มีจริยธรรม พัฒนาคุณภาพบุคลากรและวางแผนจัดการก าลังคนด้านโลจิสติกส์ให้สอดคล้องกับ ความต้องการของภาคธุรกิจ เน้นการฝึกอบรมวิชาชีพเฉพาะหรือเทคนิคเฉพาะด้านครอบคลุม ตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ กระบวนการจัดเก็บ กระบวนการขนส่ง และกระบวนการดำเนินการเพื่อให้สินค้าถึงมือลูกค้าเช่น บุคลากรคลังสินค้า บุคลากรด้านพิธีการศุลกากร บุคลากรด้าน การขนส่งสินค้าทางถนน ทางอากาศยาน ทางรถไฟ และทางเรือ เป็นต้น สนับสนุนความร่วมมือ กับเครือข่ายภาคเอกชนในการฝึกอบรมในระดับปฏิบัติงานและพัฒนาระบบส่งเสริมการพัฒนา ฝีมือแรงงานเพื่อให้กำลังคนด้านโลจิสติกส์มีคุณภาพมาตรฐาน และคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์ที่ 3.3 วิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านโลจิสติกส์ส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรมสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ โดยสนับสนุนมาตรการการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เอื้อต่อการสนับสนุนให้เกิด การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องพร้อมกำหนดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันศึกษา ใช้มาตรการทางการเงินหรือมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้า สร้างนวัตกรรมของตนเองและเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศเช่น ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ ระบบบริหารจัดการและติดตามการขนส่งสินค้า ระบบตรวจสอบย้อนกลับ ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ อุปกรณ์หุ่นยนต์ อุปกรณ์ยกขน และอุปกรณ์ซ่อมบำรุง ที่ใช้ในกิจกรรมโลจิสติกส์นวัตกรรมในกระบวนการผลิต กระบวนการเก็บ เกี่ยว กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการกระแทกและบอบช้ำ ในระหว่างการขนส่งสินค้าของภาคการเกษตร
กลยุทธ์ที่ 3.4 ประเมิน/ติดตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศและพัฒนาฐานข้อมูล เพื่อ ประเมินผลการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านข้อตกลงและ ความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระดับทวิภาคี พหุภาคีในภูมิภาคและนานาชาติที่มีผลกระทบต่อ การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทยเช่น ความตกลงด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าขององค์การการค้าโลก และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการเตรียมการ ปรับปรุงและวางแผนการพัฒนาพร้อมเพิ่มความสามารถของระบบติดตามประเมินผลการพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางและระบบตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพที่สามารถเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ในแต่ละหน่วยงาน เพื่อช่วยติดตามประเมินผลการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศเช่น ฐานข้อมูลอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือพาณิชย์รวมทั้งการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการ กบส.
ที่มา เอกสาร แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564)
จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th
----------------------------------------