iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

ความสอดคล้องของงานเทคโนโลยีสารสนเทศและแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (Thai National Strategy 20 year)  เป็น ภาพของแผนการพัฒนาประเทศ ที่ได้กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนา เพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วน ใช้เป็นแนวทางการกำหนดแผนงานตาม เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ "ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ" โดยมีระยะเวลาบังคับนานถึง 20 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2579 มีการแบ่งยุทธศาสตร์ออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านความมั่นคง, ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน, ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน, ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม, ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 

ที่มาของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ถูกคิดและทำในยุครัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยคำว่า ยุทธศาสตร์ชาติ ได้บรรจุลงใน รัฐธรรมนูญ 2560 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 65 โดยเขียนว่า "มาตรา 65 รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักการ หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทําแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน เพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว การจัดทํา การกําหนดเป้าหมายระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมีในยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติทั้งนี้กฎหมายดังกล่าว ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วยยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้"

จากความสำคัญที่กล่าวมาควรที่หน่วยงานของภาครัฐทุกหน่วยงาน จะต้องมีผู้ที่จะต้องมาดูแลและรับผิดชอบในงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เฉพาะและเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการทำงานในด้านนี้ให้สอดคล้องและบรรลุตามแผนยุทธศาสตร์ชาติที่มี โดยจะพบว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนสำคัญมากในทุกด้านที่มีในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สรุปความได้ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ในอนาคตเรื่องราวของมนุษย์จะเริ่มถูกผูกเข้ากับรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้นปัญหาในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในด้านข้อมูลจะเริ่มมีความสำคัญที่มากขึ้น รวมถึงการใช้ข้อมูลในงานด้านความมั่นคง การใช้ข้อมูลในการทำลายคู่แข่งหรือฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น 

2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน การแข่งขันในทางธุรกิจในอนาคตทั้งด้านการผลิตและบริการ โดยผู้ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานธุรกิจจะมีโอกาสที่จะสร้างความสำเร็จได้ง่ายขึ้น และจะสามารถสร้างความแตกต่างในด้านการแข่งขัน จึงควรที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนักถึงความสำคัญในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้มากยิ่งขึ้น

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ในอนาคตการแข่งขันทุกด้านคนจะเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งคนในที่นี้หมายถึงคนที่มีคุณภาพ ไม่ได้ใช้จำนวนปริมาณเป็นตัววัดเหมือนที่ผ่านมา เพราะโลกเปลี่ยนผ่านการแข่งขันที่ใช้จำนวนคนหรือขนาดความใหญ่ขององค์กรมาใช้ต่อสู้กันเหมือนในอดีต โดยปัจจุบันจะพบว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่มีคนที่ความรู้ความเข้าใจในงาน โดยเฉพาะคนที่มีความรู้และเข้าใจในงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะในอนาคตงานที่มีในโลกแทบทุกงานจะมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ร่วมหรือช่วยในการงานแทบทั้งหมด จึงควรที่จะต้องมีการพัฒนาคนในงานด้านนี้ให้มีความตระหนัก เรียนรู้ และเท่าทันเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในภาครัฐจึงเริ่มมีการพูดถึงทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) โดยทุกองค์กรควรมี เป้าหมายของการพัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) และที่สำคัญควรให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นผู้ออกแบบ และควรแยกเฉพาะออกจากแผนพัฒนาของทรัพยากรบุคคลซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นการพัฒนาตามเป้าหมายขององค์กร

4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม สังคมในอนาคตที่เน้นในเรื่องของ หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จึงควรที่ทุกภาคส่วนจะต้องนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานทั้งด้านการติดต่อสื่อสารและบริการ โดยหน่วยงานภาครัฐควรเป็นหน่วยงานต้น ๆ ในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สร้างช่องทางติดต่อสื่อสารและบริการ เพื่อตอบสนองต่อ

5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการสารสนเทศที่มีในอนาคตจะช่วยเราสามารถรู้ข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกด้านได้โดยง่าย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง คุณภาพชีวิต และรวมถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเห็นว่าหากต้องการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีให้สำเร็จก็ควรที่ผู้รับผิดชอบจะต้องมีข้อมูลที่มาเพียงพอในการนำมาใช้ในการพัฒนาระบบหรือใช้ในการตัดสินใจ โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในอนาคต

6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาท ภารกิจ แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับหรือในการให้บริการ  ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวมมีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่าและปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้างเชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็วและโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้างจิตสำนึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้นกฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติและการอำนวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม

จะเห็นว่าในทุกด้านของแผนชาติจะต้องใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในทุกด้าน ดังนั้นผู้บริหารองค์กรในทุกองค์กรควรที่จะต้องเริ่มตระหนักถึงความสำคัญ และการที่จะต้องการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการทำงานเพื่อสร้างโอกาสและความเท่าเทียมให้แก่ลูกค้าหรือผู้รับบริการ เป็นการสร้างโอกาสในการแข่งขันที่ดีต่อไป

ที่มา สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราวยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (Thai National Strategy 20 year) เพิ่มเติมคลิกที่นี่

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (Thai National Strategy 20 year) รวมข้อมูล

------------------------------------------------- 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward