ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy)
ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เพิ่มผลิตภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมาย เกษตร อาหาร ยาและการแพทย์ พลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ พลาสติกชีวภาพ โดยคาดว่าจะมีเป้าหมายการขับเคลื่อน
- ปี 2565 มีอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 3% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 30,000 ล้านบาท
- ปี 2567 มีอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 6% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มสะสมเป็น 100,000 ล้านบาท
- ปี 2570 มีอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 10% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มสะสมเป็น 190,000 ล้านบาท
กลไกการขับเคลื่อน Bio Economy
1. การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม จาก Center of Bio Excellence : CoBE เงินทุน สิทธิประโยชน์และรางวัล
- รางวัลชาวไร่อ้อย/โรงงานน้ำตาลดีเด่น
- มาตรการทางภาษี เพื่อกระตุ้นการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
2. การลงทุนเทคโนโลยีชีวภาพ
- ส่งเสริมสินเชื่อเพื่อการปลูกอ้อย
- Access to Finance Program by SMR D Bank
3. การพัฒนากำลังคนและความสามารถ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ
4. บ่มเพาะ สร้าง และยกระดับผู้ประกอบการและรูปแบบธุรกิจใหม่ จาก Bio Complex
5. มาตรฐาน กฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนา BCG
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
- พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาล
- เพิ่มบัญชีประเภทอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
6. การสร้างและพัฒนาตลาด ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดอุตสาหกรรมออนไลน์
ที่มา https://www.bcg.in.th
ที่มา ...
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
โมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG Economy Model)
-------------------------------------------------
ชมอัลปั้มภาพเพิ่มเติมที่ |
โมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG Economy Model) https://photos.app.goo.gl/iEZ4uGnbzut7Nr8b9 |
ที่มาข้อมูล
รวบรวมรูปภาพ www.iok2u.com
-----------------------------------------
BCG Model ของกระทรวงอุตสาหกรรม