GCG แนวทางการประเมินบรรษัทภิบาล (Corporate Governance Assessment Guidelines)
แนวทางการประเมินบรรษัทภิบาล แบ่งออกเป็น 6 หมวดคือ
หมวดที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานด้านของบรรษัทภิบาล (The Basis for an Effective Corporate Governance Framework)
หมวดที่ 2 สิทธิของผู้ถือหุ้น (The Rights of Shareholders and Key Ownership Functions)
หมวดที่ 3 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม (The Equitable treatment of Shareholders)
หมวดที่ 4 บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (The Role of Stakeholders in Corporate Governance) เช่น พนักงาน เจ้าหนี้ ชุมชน สังคม หน่วยงานรัฐ
หมวดที่ 5 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency)
หมวดที่ 6 บทบาทและความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท (The Responsibilities of the Board)
ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาลการกำกับดูแลกิจการที่ดี
1 ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Understanding)
2 ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking)
3 ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (Right Commitment)
4 การกระทำที่ถูกต้อง (Right Action)
5 การกำกับควบคุมที่ถูกต้อง (Right Monitoring)
6 การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (Right Assess and Alignment)
ประโยชน์
- การพัฒนาประเทศที่ขาดสมดุล ไม่เป็นธรรม และปัญหาวิกฤตต่างๆ
- จริยธรรมและมาตรฐานทางวิชาชีพที่ต่ำนำไปสู่ผลงานที่ด้อยคุณภาพและความเสื่อมขององค์กร
- ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลส่งผลให้การทำงานผิดพลาดและทุจริตคอร์รัปชัน
- การสร้างผลประโยชน์ระยะสั้นอาจส่งผลเสียหายในระยะยาว
- การจัดระบบการให้รางวัลและค่าตอบแทนที่เกินความพอดีและไม่โปร่งใส
- มีความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครอง ภาครัฐและภาคประชาสังคม หรือผู้ถือหุ้น (เจ้าของกิจการ) และกลุ่มผู้บริหาร
ข้อดี
- เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectveness)
- การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและการรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility and Accountability)
- เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)
- การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น(Shareholder Values)
- การสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Confidence)
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) https://learn.ocsc.go.th/
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
GCG บรรษัทภิบาล (Good Corporate Governance) การกำกับดูแลกิจการที่ดี
-------------------------------------------------