การพัฒนาข้าราชการตามสมรรถนะหลัก (Core Competencies)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 - 2556 มีเป้าประสงค์ เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของข้าราชการทุกระดับให้ปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ เกิดผลสัมฤทธิ์ คุ้มค่า เป็นที่ศรัทธาของประชาชนโดยในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ได้เน้นการพัฒนาคุณภาพข้าราชการในการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของสมรรถนะ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการบริทรทรัพยากรบุคคลของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่ได้นำหลักสมรรถ นะมาใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อเสริมสร้างให้การปฏิบัติงานของข้าราชการและส่วนราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
สมรรถนะหลัก (Core Competencies) คือ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมของตำแหน่งข้าราชการพลเรือนทุกคน กำหนดขึ้นเพื่อหล่อหลอมค่านิยมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ร่วมก้น เป็นสมรรถนะที่ข้าราชการทุกประเภทและระดับตำแหน่งจำเป็นต้อง มีเพื่อเป็นการหล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ประชาชน สังคม และประเทศชาติ ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ ได้แก่
1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ดีหรือให้เกินมาตรฐาน อาจเป็นผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของตนเอง หรือเกณฑ์วัดผลสัมฤทธิ์ที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น รวมถึงการสร้างสรรค์พัฒนาผลงาน กระบวนการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ยากและท้าทาย ชนิดที่อาจไม่เคยมีผู้ใดสามารถกระทำได้มาก่อน
2 การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม (Integrity) การครองตนและประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งตามกฎหมายคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนหลักแนวทางในวิชาชีพของคนโดยมุ่งประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ทั้งนี้เพื่อธำรงรักษาศักดิ์ศรีแห่งอาชีพราชการ อีกทั้งเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนผลักดันให้ภารกิจหลักภาครัฐบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
3 การสั่งสมความเชี่ยวขาญในงานอาชีพความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน (Expertise) ความสนใจใฝ่รู้ สั่งสมความรู้ ความสามารถของตนในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยการศึกษานคว้าและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการ และเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์
4 บริการที่ดี (Service Mind) ความตั้งใจและความพยายามในการให้บริการต่อประชาชน ข้าราชการ หรือหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง (ผู้มาขอรับบริการจากงานในหน้าที่ราชการของตน) ที่นเองสามารถจะให้บริการได้ เป็นการให้บริการในหลายรูปแบบ จากจิตสำนึกของผู้ให้ บริการและการเป็นข้าราชการที่ดี
5 การทำงานเป็นทีม (Teamwork) ความร่วมแรงร่วมใจ ความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งของทีม หน่วยงานหรือส่วนราชการ โดยผู้ปฏิบัติมีฐานะเป็นสมาชิก ไม่จำเป็นต้องมีฐานะหัวหน้าทีม รวมทั้งความสามารถในการสร้างและรักษาส้มพันธภาพกับสมาชิกในทีม
สมรรถนะประจำกลุ่มงาน (Competenc Functional) คือ สมรรถนะที่กำหนดเฉพาะสำหรับแต่ละกลุ่มงาน เพื่อสนับสนุนให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งในกลุ่มงานเดียวก้นแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่หน้าที่ และส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น
สมรรถนะประจำผู้บริหาร หมายถึง สมรรถนะที่ข้าราชการในตำแหน่งประเภทบริหารและอำนวยการ ซึ่งต้องกำกับดูแลทีมงานหรือผู้ใด้บังคับบัญชาจำเป็นต้องมีในฐานะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำทีมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ๔ สมรรถนะ ดังนี้
1 การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
2 ความสามารถในการเป็นผู้นำ
3 ความสามารถในการพัฒนาคน
4 การคิดเชิงกลยุทธ์
สมรรถนะประจำตแหน่ง
1 การแก้ไขปัญหาและดำเนินการเชิงรุก
2 การวางแผนและการจัดการ
3 การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
4 ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น
5 สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
ที่มา
คู่มือการพัฒนาข้าราชการตามสมรรถนะหลัก (Core Competencies) สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. สิงหาคม 2553
ที่มา https://www.ocsc.go.th
รวบรวมข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com
---------------------------------------
สมรรถนะ (Competency) รวมข้อมูล
---------------------------------------