E-Book G-SCLM for Rubber Industry Green Supply Chain Logistics Management for Rubber Industry การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวสำหรับอุตสาหกรรมยางพารา ปี 2555
สนใจดาวน์โหลดเอกสารคลิกที่นี่ https://goo.gl/bCzP7Z
1. ชื่อหนังสือ G-SCLM for Rubber Industry Green Supply Chain Logistics Management for Rubber Industry การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวสำหรับอุตสาหกรรมยางพารา ปี 2555
2. ชื่อผู้จัดทำ สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
3. ข้อมูลหนังสือ
แนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industry) เป็นกระแสที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย ด้วยแนวคิดของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน จากแนวคิดดังกล่าว ทำให้เกิดการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) หรืออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หากแต่การพัฒนาดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวเนื่องกันมา ตั้งแต่ผู้จัดหา ผู้ผลิตหรือขนส่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ทรัพยากรและปัจจัยประกอบการผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้บริโภค และผู้จัดการของเสียที่เกิดจากการผลิตหรือการใช้งานผลิตภัณฑ์จากความเกี่ยวเนื่องของหลาย ๆ ภาคส่วนดังกล่าว ทำให้โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics) กลายเป็นเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาการบริหารจัดการตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพยากรและปัจจัยการผลิต และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในที่สุดการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์หรือ Life Cycle Assessment (LCA) ถูกใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์หาสาเหตุดังกล่าว โดยแสดงผลออกมาในรูปของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) เพื่อสื่อสารให้เห็นว่าขั้นตอนใดหรือกิจกรรมใดในโซ่อุปทานเกิดจุดบกพร่อง หรือความสูญเสียที่ไม่จำเป็นเพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปพัฒนาการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ลดความสูญเสีย และเกิดการเชื่อมต่อการพัฒนาไปสู่ทุกๆ หน่วยตลอดโซ่อุปทาน
4. สารบัญ
1. โซ่อุปทานสีเขียวของอุตสาหกรรมยางพารา
2. การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2.1 หลักการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2.1.1 การจัดซื้อเพื่อสื่งแวดล้อม (Green Procurement)
2.1.2 การผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Production)
2.1.3 บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Packaging)
2.1.4 การขนส่งและการกระจายสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Transportation & Distribution)
2.1.5 กระบวนการจัดการวัสดุและสินค้าย้อนกลับ (Reverse Logistics)
3. การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์สําหรับอุตสาหกรรมยางพารา
3.1 ความหมาย
3.2 ขั้นตอนการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
3.2.1 กําหนดขอบเขตการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์
3.2.2 การกําหนดหน่วยการทํางาน
3.2.3 การจัดทําแผนผังการไหลของวัสดุ
3.2.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.2.5 การเก็บข้อมูลในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิต
4. แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวสําหรับอุตสาหกรรมยางพารา
4.1 โซ่อุปทานของอุตสาหกรรมน้ำยางข้น ถุงมือยางและถุงยางอนามัย
4.1.1 อุตสาหกรรมน้ำยางข้น
4.1.2 อุตสาหกรรมถุงมือยาง
4.1.3 อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย
4.2 โซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน ยางในรถจักรยานยนต์ และยางแผ่นปูพื้น
4.2.1 อุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน
4.2.2 อุตสาหกรรมยางในรถจักรยานยนต์
4.2.3 อุตสาหกรรมยางแผ่นปูพื้น
4.3 โซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยางแท่ง ยางล้อรถบรรทุก
4.3.1 อุตสาหกรรมยางแท่ง
4.3.2 อุตสาหกรรมยางล้อรถบรรทุก
5. อื่น ๆ
----------------------------------------
ที่มา www.logistics.go.th
@ ลงข้อมูล / เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ