E-Book คู่มือการจัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อเตรียมความพร้อมกรณีการระบาดของ โรคติดต่ออุบัติใหม่
E-Book คู่มือการจัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อเตรียมความพร้อม : กรณีการระบาดของ โรคติดต่ออุบัติใหม่ จัดทำโดย สํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2556
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ 9
1.1 ความหมาย/สถานการณ์ และความเสี่ยง ผลกระทบ และแนวโน้มของการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่
1.2 แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ 15 (พ.ศ. 2556-2559)
บทที่ 2 การเตรียมความพร้อมของประเทศไทย
2.1 หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2.2 กระบวนการป้องกันและบรรเทาภัยด้านสาธารณภัย
2.3 กระบวนการป้องกันและบรรเทาภัยด้านความมั่นคง
2.4 การบริหารจัดการเพื่อเตรียมความพร้อม
2.5 บทบาทและหน้าที่หลักของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
บทที่ 3 แผนประคองกิจการภายในองค์กร
3.1 ความหมาย และวัตถุประสงค์
3.2 แนวทางการจัดทำแผนประคองกิจการ
3.3 ขั้นตอนการจัดทำแผนประคองกิจการ
ขั้นตอนที่ 1 ทำความเข้าใจในภารกิจขององค์กร
ขั้นตอนที่ 2 ระบุความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับองค์กร
ขั้นตอนที่ 3 ลดผลกระทบจากความเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 4 วางมาตรการแก้ไขปัญหาความเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 5 เตรียมการและปฏิบัติตามแผน
ขั้นตอนที่ 6 ประชาสัมพันธ์แผน
ขั้นตอนที่ 7 ตรวจสอบแผน
7.1 แบบรายการตรวจสอบ
7.2 การฝึกซ้อมแผน
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวกที่
1. บทบาท และความรับผิดชอบของผู้จัดการ โรคติดต่ออุบัติใหม่ (EID Manager)
2. วิธีการล้างมือที่ถูกต้อง
3. วิธีการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง
4. แนวทางการจัดหาเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการเตรียมพร้อมรับการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ในองค์กร
5. ตัวอย่างแนวทางการคัดกรอง ผู้มาติดต่อ
6. ตัวอย่างแนวทางการคัดกรอง พนักงานป่วยในหน่วยงาน
7. ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติ พนักงานป่วยนอกหน่วยงาน
8. ตัวอย่างแนวทางการติดตาม ผู้สัมผัสโรค
9. ตัวอย่างแบบรายงาน พนักงานป่วย (กรณีสงสัยโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ)
10. ตัวอย่างแผนประคองกิจการ (ฉบับย่อ)
ตัวอย่างที่ 1 สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค
ตัวอย่างที่ 2 หน่วยงานสถานพยาบาล (โรงพยาบาล A)
ตัวอย่างที่ 3 สถาบันการเงิน (ธนาคาร A)
ตัวอย่างที่ 4 บริษัทผู้ประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร ขนาดใหญ่ (โรงพยาบาล A)
คำนำ
ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ได้กลายมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น โรคซาร์ส โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 โรคมือเท้าปาก โดยอาจแพร่ระบาดมาจากต่างประเทศ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 หรือโรคที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน อีกทั้งยังส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสังคมตลอดจนเศรษฐกิจอย่างมหาศาลได้
ตั้งแต่พบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในปี พ.ศ. 2547 และโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในปี พ.ศ. 2552 องค์กรหลายภาคส่วนในประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมตามแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้วยการจัดทำแผนเตรียมความพร้อม และซักซ้อมตามแผนเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามบทบาทหน้าที่ควบคู่ไปกับการจัดทำแผนประคองกิจการเพื่อดูแลบุคลากรภายในองค์กรให้ปลอดภัยจากโรค และให้กิจการขององค์กร/หน่วยงานสามารถดำเนินไปได้ในภาวะวิกฤติ หรือฟื้นตัวเร็วเมื่อวิกฤติผ่านไป โดยการจัดทำแผนประคองกิจการ กรณีการระบาดของโรคไข้หวัดนกและโรคไข้หวัดใหญ่ ได้ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ครอบคลุมโรคติดต่ออุบัติใหม่อื่น ๆ ซึ่งสามารถนำแผนประคองกิจการสำหรับภัยพิบัติต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ได้ ทั้งด้านการบริการสาธารณะที่จำ เป็น การสาธารณูปโภคพื้นฐาน การดูแลรักษาพยาบาล ด้านเศรษฐกิจ การค้า และธุรกิจ โดยสนับสนุนการจัดทำแผนประคองกิจการ ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2556-2559) ฉบับปัจจุบัน เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนในการรับมือกับภัยสุขภาพอื่นๆ ได้
เอกสาร “คู่มือการจัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อเตรียมความพร้อมกรณีการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่” ฉบับนี้ ประกอบด้วยบทนำการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย แผนประคองกิจการภายในองค์กร แนวทางการปฏิบัติและตัวอย่างต่าง ๆ ดังภาคผนวก ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้องค์กรต่าง ๆ สามารถนำ ไปประยุกต์ใช้จัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กรได้ตามความเหมาะสมหากท่านมีข้อเสนอแนะใด ๆ คณะผู้จัดทำยินดีรับข้อคิดเห็น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงในโอกาสต่อไป
---------------------------------------------
ดูเพิ่มเติมเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ โควิด-19 ได้ที่
COVID-19 รวมความรู้ที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 (COVID-19)
---------------------------------------------