iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
e-book NESDC ภาครัฐดิจิทัล เพื่ออนาคตประเทศไทย (E-Gov-for-future-Thailand)
 

เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2560 ของ สศช. เรื่อง “ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย”

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) หมายถึง การออกแบบและปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการของรัฐโดยอาศัย ข้อมูลดิจิทัลเพื่อสร้างบริการของรัฐในรูปแบบใหม่ผ่านเทคโนโลยี Mobile Social Cloud Technology ในยุคอินเทอร์เน็ตโดยมีลักษณะ 3 ประการ ได้แก่

1) Reintegration เป็นการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการกำกับควบคุมการบริหารภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ

2) Needsbased holism เป็นการปรับปรุงองค์กรภาครัฐเพื่อให้เกิดการ ให้บริการสาธารณะที่ให้ความสำคัญต่อการนำความต้องการของ พลเมืองมาเป็นศูนย์กลาง

3) Digitalization เป็นการใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการนำระบบบริหารสารสนเทศมาใช้รวมถึงการให้ความสำคัญต่อการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งจะเข้ามาแทนที่ วิธีการทำงานแบบเดิม (Digital Economy Thailand)

สรุปคือ รัฐบาลดิจิทัลเป็นการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ เป็นกลยุทธ์สำคัญในการยกระดับการทำงานภาครัฐให้มีความทันสมัย เพื่อสร้างบริการที่มีคุณค่าสู่ประชาชนด้วยการทำงานอย่างเป็นระบบและพึ่งพาทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานอิสระภาคธุรกิจภาคประชาชน และปัจเจกบุคคลที่มีบทบาทในฐานะผู้ให้และผู้ใช้ข้อมูล รวมถึงร่วมสรรค์สร้างสาระที่จำเป็นและสำคัญต่อการให้บริการของภาครัฐ (Recommendation of the Council on Digital Government Strategies, OECD, 2557, สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน เป็นตัวเร่งที่นำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกมิติทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งในส่วนการบริหารจัดการภาครัฐซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการยกระดับการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้การปฏิบัติงานโปร่งใสมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจะทำให้ภาครัฐของไทยก้าวหน้าทันโลกและสามารถแข่งขันได้ในโลกสมัยใหม่ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชนกับประชาชน และประชาชนกับภาครัฐเป็นไปได้ อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดและสะท้อนความต้องการต่อการบริการของภาครัฐ รวมถึงตรวจสอบการทำงานของภาครัฐเพื่อให้เกิดความโปร่งใสได้มากขึ้นอีกด้วย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ต่อไป

1. สถานการณ์การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

1.1 การประเมินสถานการณ์ภาครัฐในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศวิกฤตด้านสังคมการเมืองและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือแก้ปัญหาเหล่านี้ของประเทศ ได้แก่ ระบบบริหารจัดการของภาครัฐที่ยังมีประสิทธิภาพสูง ไม่เพียงพอในการเป็นตัวจักรสำคัญ (key agent) ที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนภาครัฐให้ไปสู่รัฐบาลดิจิทัล โดยมีสถานการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

1) เครือข่ายสารสนเทศระหว่างหน่วยงานภาครัฐขาดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบไม่ได้มาตรฐาน มีการลงทุนซ้ำซ้อนกัน รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลภายในหน่วยงานภาครัฐ ยังเป็นในลักษณะแยกส่วนขาดการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน ซึ่งทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลมาเชื่อมโยงใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ เกิดความล่าช้า ซ้ำซ้อน และสิ้นเปลืองงบประมาณ จึงก่อให้เกิดปัญหากับประชาชนผู้ใช้บริการ อาทิ การกระจัดกระจายของข้อมูลในหน่วยงานหลายแห่ง ทำให้ ต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล ไม่มีการจัดระเบียบข้อมูลทำให้ยากต่อการค้นหา ผู้รับบริการเสียสิทธิในการรับบริการภาครัฐอื่น ๆ เนื่องจากไม่ทราบข้อมูลหรือได้รับข้อมูลไม่ถูกต้อง ข้อมูลอยู่ใน รูปแบบที่เข้าใจยาก ไม่สอดคล้องกับแหล่งอื่นๆ รวมทั้งข้อมูล ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นปัจจุบัน

2) คุณภาพและทัศนคติของบุคลากรภาครัฐโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการวางยุทธศาสตร์ที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปพัฒนาองค์กร นอกจากนั้นในระดับที่ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีจำนวนไม่เพียงพอซึ่งสาเหตุสำคัญ คือ ขาดการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในขณะเดียวกันบุคลากรภาครัฐโดยทั่วไปยังขาดความรู้และทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Literacy) ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา รัฐบาลดิจิทัลให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตลอดจนทัศนคติในการปฏิบัติ ราชการของเจ้าหน้าที่รัฐในการให้บริการประชาชนยังมักยึดรูปแบบเดิม โดยไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหรือการเตรียม ความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและ เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

3) การบริหารจัดการภาครัฐมีประสิทธิภาพต่ำ และระบบการให้บริการประชาชนยังไม่ได้มาตรฐานสากล สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากระบบบริหารราชการเป็นแบบแนวดิ่งรวมศูนย์ การบริหารงานไว้ที่ส่วนกลางมีระเบียบและขั้นตอนมากขาดความยืดหยุ่นล่าช้าไม่คล่องตัวไม่ประหยัด และไม่สามารถบริหารงานแบบบูรณาการ ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจผ่านเทคโนโลยี และเครื่องมือสื่อสารที่เน้นความรวดเร็วและประสิทธิภาพให้มากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารได้ อำนวยความสะดวกให้คนในสังคมสามารถรับรู้ข่าวสารได้รวดเร็ว และหลากหลายมากขึ้นทำให้ประชาชนมีความคาดหวังที่จะได้รับการบริการจากภาครัฐผ่านช่องทางที่มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ บริการที่สำนักงานบริการ ณ จุดเดียว และบริการออนไลน์ต่าง ๆ

4) กฎระเบียบของประเทศไทยไม่เอื้อต่อการเป็นรัฐบาลดิจิทัล ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันโดยเฉพาะการติดต่อราชการที่ยังต้องใช้เอกสารจำนวนมาก แม้ว่าประเทศไทยจะใช้บัตรประชาชนที่เป็น Smart Card แต่การทำธุรกรรมในหน่วยงานต่าง ๆ ต้องการสำเนาบัตรประชาชน ประกอบการติดต่อรวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างหรือการทำนิติกรรมต่าง ๆ ยังมีกฎระเบียบที่ค่อนข้างล้าหลังอ้างอิงกับรูปแบบเดิม ที่ต้องใช้หลักฐานจำนวนมากในรูปแบบที่เป็นกระดาษและสำเนา ซึ่งไม่เอื้อต่อการทำธุรกรรมออนไลน์ นอกจากนั้นกฎหมายการเปิดเผยข้อมูลและข่าวสารของรัฐบาลองค์กรสาธารณะและเอกชน ที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาขนยังมีปัญหาในทางปฏิบัติที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐได้เท่าที่ควร จึงทำให้ไม่สามารถนำไปต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมอื่น ๆ ต่อไปได้

1.2 ตัวชี้วัดการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลระดับนานาชาติ การพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลางบนเวทีโลก โดยผลการจัดอันดับดัชนีตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงสถานการณ์ ด้านการพัฒนาของบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐของประเทศ มีดังนี้

1) e-Government Development Index (EGDI) ซึ่งจัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) เพื่อประเมินระดับการพัฒนาของบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ โดยมีองค์ประกอบที่นำมาใช้พิจารณา ได้แก่ ระดับการให้บริการออนไลน์ของภาครัฐระดับของการพัฒนาด้านทุนมนุษย์ของประเทศ และระดับการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ โดยจากผลการจัดอันดับขององค์การสหประชาชาติในปีล่าสุด (2559) ซึ่งมีการศึกษาและจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (EGDI) ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 77 ของโลกและอยู่ในอันดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีอันดับเป็นรองประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ทั้งนี้การจัดอันดับในดัชนีย่อยภายใต้ดัชนี EGDI โดยเฉพาะในด้านบริการออนไลน์ (Online Service) พบว่าอันดับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 79 ของโลก เป็นอันดับที่ 5 ของกลุ่มประเทศอาเซียน (รองจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม)

2) ดัชนี Waseda – IAC International e-Government Ranking (Waseda – IAC) ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University) ร่วมกับ International Academy of CIOs (IAC) เพื่อประเมินการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศ โดยมีองค์ประกอบที่นำมาใช้พิจารณา ได้แก่ การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การบริการออนไลน์ ระบบเครือข่ายของประเทศ ตัวผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องการสนับสนุนการบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐเอง การพัฒนาเทคโนโลยีการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ ด้านความปลอดภัยด้านไซเบอร์ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการใช้บริการและ การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ

จากการศึกษาและจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กับ 65 ประเทศในปีล่าสุด (2559) พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 21 ของโลก เป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 1 ของโลกเท่านั้น ทั้งนี้จุดแข็งสำคัญของไทย ได้แก่ การบริหารงานพัฒนาของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญต่อการพัฒนาดังกล่าว รวมถึงการให้บริการออนไลน์ที่มีการพัฒนามากกว่าหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน อย่างไรก็ตามความท้าทายสำคัญ ของประเทศไทยในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมในการเข้าใช้หรือรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชน ผ่านการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งยังเพิ่งเริ่มดำเนินโครงการนำร่องเท่านั้น อาทิ ระบบ Big Data หรือ ระบบ Internet of Things

2. กฎหมาย ยุทธศาสตร์ และแผนที่เกี่ยวข้อง

2.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา258ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

1) ให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน

2) ให้มีการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นระบบข้อมูล เพื่อการบริหาร ราชการแผ่นดินและการบริการประชาชน

2.2 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

1) ภายใต้หัวข้อ 2.3.2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้าง ความสามารถในการแข่งขัน หัวข้อย่อยที่ (5) การลงทุน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านการขนส่ง ด้านพลังงาน ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการวิจัยและพัฒนา

2) ภายใต้หัวข้อ 2.3.6 ยุทธศาสตร์ด้านการปรับ สมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้ หน่วยงานภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ มี สมรรถนะสูง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กระจายบทบาท ภารกิจไปสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม มีธรรมาภิบาล กรอบแนวทาง ที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

(1) การปรับปรุงโครงสร้างบทบาทภารกิจของหน่วยงานภาครัฐให้มีขนาดที่เหมาะสม

(2) การวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการ

(3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

(4) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

(5) การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ให้ทันสมัยเป็นธรรมและเป็นสากล

(6)  การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ

(7) การปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐ

2.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)

1)   ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการภาครัฐการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทยมีประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ให้ภาครัฐมีขนาดเล็กมีการบริหารจัดการที่ดีและได้มาตรฐานสากล โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการให้บริการสาธาณะให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจได้รับบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และอำนวยความสะดวกตรงตามความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจ

(2) มีแนวทางการพัฒนาสำคัญ ได้แก่ ปรับรูปแบบการให้บริการของรัฐจากรูปแบบเดิมไปสู่การให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัลอย่างเป็นระบบ สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานกลางของศูนย์ข้อมูลภาครัฐผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network: GIN) รวมทั้งเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและบูรณาการข้อมูลข้ามหน่วยงานผ่าน ระบบดิจิทัลที่รองรับการทำงานและการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ภาครัฐร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

2)   ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ มีประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) มีวัตถุประสงค์สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและขยายการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ ในราคาที่เหมาะสมเป็นธรรมส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลใหม่และนวัตกรรม รวมทั้งพัฒนาระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้มีความมั่นคงและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการ

สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเล่ม 

ดาวน์โหลด E-book ได้ที่ https://iok2u.com/index.php/news/e-booka/1272-e-book-e-gov-for-future-thailand

.

ที่มา https://www.nesdc.go.th

ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

---------------------------------------------------
---------------------------------------------------  

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward