iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
e-book NESDC โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์เพื่ออนาคตประเทศไทย (Logistics-for-future-Thailand)
 

เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2560 ของ สศช. เรื่อง “ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย” วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพเป็นปัจจัย สําคัญต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเตรียมความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ให้มีความเข้มแข็งเอื้ออํานวยต่อการบรรลุวัตถุประสงค์การพัฒนาในทุก ๆ ด้านของประเทศ ทั้งนี้จากการดําเนินการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศของสถาบันนานาชาติ The World Economic Forum (WEF) ทั้งในภาพรวมและรายปัจจัยตัวชี้วัดของการพัฒนา โดยมีระบบโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในปัจจัยตัวชี้วัดดังกล่าว ในปี 2560 WEF ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมของประเทศไทยเป็นอันดับที่ 34 จาก 138 ประเทศ ลดลงจากอันดับที่ 32 ในปี 2559 ขณะที่อันดับคุณภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานลดลงจากอันดับที่ 44 มาเป็นอันดับที่ 49 ในปี 2560 ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยยังมีปัญหาเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งขาดการบริหารจัดการการให้บริการที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ดังนั้นทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 จะมุ่งเน้นการขยายขีดความสามารถและพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจหลัก สนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาคและภูมิภาคอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกกลุ่มในสังคม สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการพื้นฐาน และพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่อนาคตการเป็นประเทศที่มีรายได้สูง (High Income Country) สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) พร้อมสนับสนุนการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0

การพัฒนาด้านขนส่ง

ทุกวันนี้ถนนเปรียบเสมือนปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพของคนไทย กิจกรรมตั้งแต่การสัญจรในชีวิตประจำวันไปจนถึงระบบโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ ล้วนพึ่งพาการขนส่งทางถนนในสัดส่วนที่สูงกว่ารูปแบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่การขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ และความเชื่อมโยงระหว่างแต่ละรูปแบบยังไม่ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ต้นทุน การขนส่งสินค้าที่สูงถึงร้อยละ 7.5 ของ GDP1 ปัญหาการจราจร และความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน เป็นต้น ดังนั้นการพัฒนาระบบขนส่งของประเทศภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จึงมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อวางรากฐานอนาคตประเทศเพื่อเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางการพัฒนาด้านขนส่ง 1 รายงานต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2558 ของ สศช. และทางน้ำยกระดับระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมือง เพิ่มขีดความสามารถการขนส่งทางอากาศ รวมไปถึงพัฒนาอุตสาหกรรม ต่อเนื่องที่เกิดจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีเป้าหมายว่าภายในปี 2564 ประเทศไทยจะมี

(1) ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าต่ำกว่าร้อยละ 7 ของ GDP

(2) สัดส่วนการขนส่ง สินค้าทางรางและทางน้ำต่อการขนส่งสินค้าทั้งหมดภายในประเทศ สูงขึ้นจากร้อยละ 1.4 เป็นร้อยละ 4 และจากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 15 ตามลำดับ

(3) สัดส่วนผู้ใช้งานระบบขนส่งสาธารณะต่อปริมาณการเดินทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้น จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 30

(4) ความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของท่าอากาศยานในกรุงเทพฯ และในภูมิภาค เพิ่มขึ้นเป็น 120 ล้านคนต่อปี และ 55 ล้านคนต่อปีตามลำดับ

สำหรับแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งที่สำคัญในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 โดยสรุปดังนี้

(1)  ระบบขนส่งทางราง พัฒนารถไฟขนาดทาง 1 เมตร ให้เป็นโครงข่ายการเดินทางและขนส่งสินค้าหลักของประเทศ โดยการก่อสร้างทางคู่ในรัศมี 500 กิโลเมตรจากกรุงเทพ และพัฒนารถไฟสายใหม่เชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งพัฒนาระบบรถไฟความเร็ว สูงขนาดทาง 1.435 เมตร เพื่อกระจายความเจริญจากกรุงเทพไปยังเมืองหลักในภูมิภาค

(2)  ระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมือง โดยการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และอยู่บนหลักการออกแบบเพื่อทุกคน พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานี เพื่อเพิ่มสัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและการเดินทาง ที่ไม่ใช้เครื่องยนต์

(3)  ระบบขนส่งทางถนน โดยการเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจรและการพัฒนา โครงข่ายทางพิเศษและทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเพื่อรองรับปริมาณการเดินทางที่จะเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการนำเทคโนโลยีระบบการขนส่งและจราจรอัจฉริยะมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ จราจรและการจัดเก็บข้อมูลด้านการขนส่งและจราจร

(4)  ระบบขนส่งทางอากาศ โดยการพัฒนาบุคลากรอุปกรณ์ระบบบริหารจัดการและการรับมือเหตุฉุกเฉินให้ได้มาตรฐานสากล การใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานที่มีให้เต็มศักยภาพ รวมไปถึงการพัฒนาการจัดการห้วงอากาศอย่างบูรณาการ

(5)  ระบบขนส่งทางน้ำ โดยการสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ท่าเรือภูมิภาค ที่มีอยู่ให้เต็มศักยภาพในการสนับสนุนการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ และพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังสู่การเป็นท่าเรือชั้นนำในภูมิภาค บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนนอกจากนี้การพัฒนาระบบขนส่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมและบุคลากรในภาคขนส่ง รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องภายในประเทศนอกจากนี้ยังจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารจัดการการขนส่งทางราง โดยการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง เพื่อผู้ใช้บริการและการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินตามมาตรฐานสากล เพื่อให้การพัฒนาระบบขนส่งของประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน

การพัฒนาระบบโลจิสติกส์

ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมดำเนินการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาคธุรกิจไทยมีความตื่นตัวและให้ความสำคัญของการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 17.1 ต่อ GDP ในปี 2550 ลดลงเป็นร้อยละ 14.2 ต่อ GDP ในปี 2557 และปี 2558 ลดลงเหลือร้อยละ 14.1 ต่อ GDP อย่างไรก็ตามจากการจัดอันดับดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (International Logistics Performance Index: LPI) ของธนาคารโลก ปี 2559 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 45 จาก 160 ประเทศทั่วโลก ลดลงจากอันดับที่ 35 ในปี 2557 ทั้งนี้ยังมีประเด็นปัญหาการพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ เกษตรกรและผู้ประกอบการ (SMEs) ยังขาดองค์ความรู้และทักษะที่สำคัญด้านการจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพการสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม จากภาครัฐให้แก่ผู้ประกอบการการนำเข้า-ส่งออกสินค้ายังมีปัญหาติดขัดในขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดความล่าช้าการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสู่การขนส่งที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังไม่ประสบผลสำเร็จ การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลผ่าน National Single Window (NSW) เป็นไปอย่างล่าช้าแรงงานฝีมือด้านโลจิสติกส์ ขาดทักษะและความรู้เฉพาะ และการบูรณาการข้อมูลทำให้ ติดตามและการประเมินผลยังมีการใช้ประโยชน์ร่วมกันน้อย โดยประเทศไทยยังต้องเร่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในช่วงแผน พัฒนาฯ ในหลายประการ ได้แก่

(1) การสร้าง ความเข้มแข็ง ให้ผู้ประกอบการไทยในการเก็บเกี่ยวมูลค่าเพิ่มจากโซ่อุปทาน ทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการโลจิสติกส์

(2) การยกระดับประสิทธิภาพระบบอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยเฉพาะด้านการขนส่งและเครือข่ายโลจิสติกส์ตามเส้นทาง ยุทธศาสตร์ และด้านระบบ NSW

(3) การพัฒนาปัจจัย สนับสนุน อาทิ การพัฒนาและจัดการกำลังคน และการพัฒนา ระบบติดตามและประเมินผล

สำหรับแนวทางการพัฒนาในช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) ภายใต้แผนพัฒนาฯ มุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของประเทศ ทั้งภาคเกษตรอุตสาหกรรมและบริการโลจิสติกส์ โดยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์การเกษตร สนับสนุนผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยไปลงทุนและสร้างเครือข่ายธุรกิจในอนุภูมิภาคพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการอำนวยความสะดวกทางการค้าระดับสากลปฏิบัติ โดยยกระดับศักยภาพการขนส่งสินค้าทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ ส่งเสริมการพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลักเชื่อมต่อ ประตูการค้าสำคัญให้สามารถขนส่งสินค้าผ่านเข้าออกได้อย่าง มีประสิทธิภาพ จัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการส่วนกลางของระบบ NSW สนับสนุนการปรับลดขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออก รวมทั้งพัฒนาคุณภาพบุคลากรและวางแผนจัดการกำลังคนด้านโลจิสติกส์ของประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของ ภาคธุรกิจทั้งส่งเสริมกลไกระดับนโยบายและการบริหารจัดการ ระบบติดตามประเมินผลการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ 

สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเล่ม 

ดาวน์โหลด E-book ได้ที่ https://iok2u.com/index.php/news/e-booka/1270-e-book-logistics-for-future-thailand

.

ที่มา https://www.nesdc.go.th

ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

---------------------------------------------------
--------------------------------------------------- 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward