https://drive.google.com/file/d/16SXS7ACGcYDBU_-IvUS9Z86OpHj2M1VK/view?usp=share_link
สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อังกฤษ: Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation) หรือ อว. ได้จัดทำชุด series หนังสือเศรษฐกิจแห่งอนาคต 6 เล่มให้ download ฟรี
หนังสือเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)
เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) คืออะไร ? ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพและความต้องการลดการพึ่งพาปิโตรเลียม ลดการปล่อยก้าซเรือนกระจก หลายประเทศทั่วโลกจึงให้ความสนใจ “เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)” ระบบเศรษฐกิจใหม่ที่นำเอาวัตถุดิบและทรัพยากรจากธรรมชาติมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการผลิตสินค้าและบริการระดับอุตสาหกรรม โดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าระบบเศรษฐกิจแบบอื่นอีกหลายแบบ
เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Biobased Economy) คือ ระบบเศรษฐกิจที่นำความรู้และนวัตกรรมโดยเฉพาะทางด้านชีววิทยาหรือวิทยาศาสตร์ซีวภาพอื่น ๆ มาช่วยพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการที่โช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ เช่น การเกษตร อาหาร สุขภาพ การแพทย์ และพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ประเทศไทยมีต้นทุนทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูง จึงนับเป็นจุดแข็งในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพได้เป็นอย่างดี
ในระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มีการนำทรัพยากรชีวภาพมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่หมุนเวียนได้ดีกว่าเดิมและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
เช่น อาหารคน อาหารสัตว์ เครื่องสำอาง ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่ให้พลังงานชีวภาพ (ฺBioenergy) เช่น ไบโอดีเชล และเอทานอล ซึ่งการจะทำให้เศรษฐกิจชีวภาพเข้มแข็งและยั่งยืน ต้องอาศัยการทำงานบูรณาการจากหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงที่รับผิดชอบด้านป่าไม้ ประมง เกษตร และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคิดค้นนวัตกรรม และด้านการค้า เช่น กระทรวงด้าน
วิทยาศาสตร์และพาณิชย์
เศรษฐกิจชีวภาพสำคัญอย่างไร ?
เศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการสร้างเศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน จึงสอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustaina ble Development G๐als, SDGs) (ดูเพิ่มเติมคลิก UN Sustainable Development Goals (SDGs) / เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ) ทีประกาศในปี ค.ศ. 2030 ของ สหประชาชาติ ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายไว้ทั้งสิ้น 17 เป้าหมาย โดยในจำนวนนี้มีเรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ อยู่ถึง 1 เป้าหมาย เช่น
- เป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงด้นอาหารและส่งเสริมกาารพัฒนาอย่างยั่งยืน
- เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดึ
จึงเห็นได้ว่าเศรษฐกิจชีวภาพมีความสำคัญและจำเป็นกับโลกในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้เศรษฐกิชีวภาพยังมีส่วนเชื่อมโยงและเสริมกับเศรษฐกิจหมุนเวียนที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในระบบอุตสาหกรรม และทำให้ของเสียกลายเป็นศูนย์ (Zero waste) กล่าวอีกอย่างคือ สารทุกอย่างที่เกิดขึ้นนำไปใช้ประโยชน์ได้
อ่านเพิ่มเติมในเล่ม
ดาวน์โหลดได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/16SXS7ACGcYDBU_-IvUS9Z86OpHj2M1VK/view?usp=share_link
ที่มาภาพ www.iok2u.com
---------------------------------------------
E-Book รวมหนังสือที่จัดทำโดย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ NSTDA
---------------------------------------------