sdg เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals, SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals (SDGs)) ได้มีการกำหนดแนวการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากรโลกให้มุ่งสู่สังคมที่ยั่งยืนในอีก 13 ปีข้างหน้า มีการกำหนดเป้าหมายหลัก (Goals) 17 ด้าน ได้แก่
1. No poverty (ความยากจน ขจัดความยากจนทุกรูปแบบ)
2. Zero hunger (ความหิวโหย ยุติความขาดแคลน และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน)
3. Good health and well-being (สุขภาวะ ดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี)
4. Quality education (การศึกษา ให้การศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต)
5. Gender equality (ความเท่าเที่ยมทางเพศ)
6. Clean water and sanitation (น้ำและการสุขาภิบาล โดยทำการจัดการน้ำและระบบสุขาภิบาล)
7. Affordable and clean energy (พลังงาน ให้มีการเข้าถึงพลังงานสะอาดสำหรับทุกคน)
8. Decent work and economic growth (เศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างการจ้างงาน)
9. Industry, innovation and infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงให้เป็นอุตสาหกรรม เสริมสร้างอุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน)
10. Reduced Inequalities (ความเหลื่อมล้ำ โดยการลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเท่าเทียม)
11. Sustainable Cities and Communities (เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ โดยการพัฒนาเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน)
12. Responsible consumption and production (แบบแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน โดยเร่งสร้างแนวทางการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน)
13. Climate change (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ โดยการรับมือเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มี)
14. Life below water (ทรัพยากรทางทะเล โดยการป้องกันและลดมลพิษทางทะเล)
15. Life on land (ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการปกป้องฟื้นฟูและส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศน์บนบกอย่างยั่งยืน)
16. Peace, justice, and strong institutions (สังคมและความยุติธรรม โดยส่งเสริมความสงบความยุติธรรมและไม่ทำให้เกิดการแบ่งแยก)
17. Partnerships for the Goals (หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล โดยเสริมความแกร่งของหุ้นส่วน สู่การพัฒนาระดับสากลอย่างยั่งยืน)
โดยยังมีเป้าหมายรอง (Target) อีก 169 เป้าหมาย และมีตัวชี้วัด (Indicator) อีก 241 ตัวชี้วัด
ปัจจุบันรัฐบาลได้เริ่มมีการดำเนินงานพัฒนาประเทศโดยใช้ แนวทางตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติ มาร่วมในการกำหนด SDGs เข้าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (ปี 2560-2564) ซึ่งเป็นแผนที่มีแนวการที่สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยรัฐบาลได้จัดตั้ง คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) และกำหนดให้ ทุกกระทรวงและทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละเป้าหมายของ SDGs จัดทำรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานเสนอ กพย. ทุก 6 เดือน แม้ว่าจะยังมีอุปสรรคในการดำเนินงานอยู่บ้าง เพราะหลายหน่วยงานส่วนใหญ่นั้นยังขาดความเข้าใจทฤษฎีเชิงลึก ที่จะนำมาใช้ในการวางแผนกำหนดกลยุทธ์ แผนกรอบการปฏิบัติ และการวัดผลตามตัวชี้วัดที่มี
----------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม
- sdg เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals, SDGs)
---
----------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมคลิก
Sustainable Development Goals (SDGs) / เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
----------------------------------------
@ ลงข้อมูล / เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ
@ ที่มาข้อมูล
- Web: www.iok2u.com