e-learning ocsc g4-SL33 การออกแบบกระบวนการใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Process Redesign and Information Technology)
ปรับปรุงโดย พันตำรวจโท ดร.เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์
ที่มา https://learningportal.ocsc.go.th/learningspace/learn/courses/1035?contentId=538
ศึกษาแนวคิดและแนวทางการออกแบบกระบวนการใหม่ และเทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบโปรแกรม การศึกษาระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่โครงสร้างของส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ โครงสร้างข้อมูล และขั้นตอนการทำงานต่างๆ การเก็บข้อมูลและประมวลผล การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล การศึกษาระบบข้อมูล และฐานข้อมูล รวมถึงระบบเครือข่ายการสื่อสาร และการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุง การทำงานและการพัฒนาหน่วยงาน
ขอบเขตเนื้อหา เนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1: แนวคิดพื้นฐานการบริหาร การออกแบบกระบวนการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 บทนำ ความหมายของวิสาหกิจและแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กร
พื้นฐานของระบบ Application Enterprises และการจัดการ Enterprise
วิสาหกิจ คืออะไร
คำนิยามของวิสาหกิจ ''วิสาหกิจ'' หรือเรียกอีกอย่างว่า ''บริษัท'' (Firm) เป็นคำที่ใช้ในการสนทนาทั่วไปอยู่บ่อยๆ โดยไม่ได้มีการคำนึงถึงความหมายที่แท้จริงของมัน ซึ่งที่จริงแล้วคำๆ นี้มีหลายความหมาย เช่น
พจนานุกรมได้ให้คำนิยามไว้ เช่น เป็น ''หน่วยหนึ่งขององค์กรหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะองค์ธุรกิจ'' และเป็น 'โครงการหรือการดำเนินงานที่ยาก ซับซ้อน และมีความเสี่ยง'
นอกจากนี้ในทางเศรษฐศาสตร์ ยังหมายถึง ''หนึ่งในหน่วยงานหลักที่ทำงานด้านเศรษฐกิจ'' ของครัวเรือนและรัฐบาล และยังมีความหมายในแง่ของการเป็นกลุ่มคนที่มีการจัดการด้านผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือทางด้านสาขาอื่น
นอกจากคำว่า ''วิสาหกิจ'' แล้ว ยังมีการใช้คำว่า ''บริษัท'' และ ''บริษัทจำกัด'' ด้วย ซึ่งกรณีเช่นนี้จะใช้ในความหมายเชิง ''การบัญชี'' โดยแบ่งแยกแตกต่างกัน ซึ่งจะพิจารณาจากการได้มาซึ่งทุนในการทำธุรกิจ ถ้ามีการออกหุ้นเพื่อระดมเงินทุน เรียกว่า ''บริษัทจำกัด'' (Corporation) ถ้าไม่มีการออกหุ้นและผู้ ที่ร่วมลงทุนมีความรับผิดชอบหนี้สินในขอบเขตจำกัด เรียกว่า 'บริษัทความรับผิดชอบจำกัด' (Limited Liability Company)
What is an Enterprise ?
- วิสาหกิจหนึ่งในหน่วยงานหลักที่ทำงานด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนและรัฐบาล
- บริษัทที่ออกหุ้น เรียกว่า บริษัทจำกัด (Corporation)
บทที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานและโครงสร้างขยายขององค์กร และการวาดผังงาน รวมถึงการออกแบบ การพัฒนา และการทดสอบโปรแกรม
ส่วนที่ 2: ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 3 โครงสร้างของส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ในการรับข้อมูลหน่วยประมวลผลกลาง และอุปกรณ์แสดงผล
บทที่ 4 อุปกรณ์และหน่วยเก็บข้อมูลหลักและข้อมูลเสริม
บทที่ 5 หน่วยประมวลผลกลาง
บทที่ 6 ระบบปฏิบัติการ การทำงานหลายชุดคำสั่ง และการขัดจังหวะ
ส่วนที่ 3: ข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูล
บทที่ 7 การจัดเก็บข้อมูล โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธีการทำงาน รวมถึงหลักการเก็บข้อมูล การประมวลผล และการจัดระเบียบแฟ้ม
บทที่ 8 ฐานข้อมูล ชนิดของฐานข้อมูล การทำมาตรฐานของข้อมูล การใช้ฐานข้อมูล และการปฏิบัติฐานข้อมูล
ส่วนที่ 4: ระบบเครือข่ายการสื่อสาร
บทที่ 9 การส่งข้อมูลและระบบการส่งสัญญาณ อุปกรณ์สื่อสาร สถาปัตยกรรมเครือข่าย เครือข่ายการสื่อสาร และการใช้งาน
ส่วนที่ 5: การพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร
บทที่ 10 ระบบสารสนเทศ และความน่าเชื่อถือได้ของระบบสารสนเทศ
บทที่ 11 การพัฒนาระบบสารสนเทศ วัฏจักรชีวิตของระบบ กระบวนการพัฒนาระบบ วิธีการพัฒนาระบบ และการทดสอบระบบ
ที่มา https://learningportal.ocsc.go.th/learningspace/learn/courses/1035?contentId=538
.
ที่มา e-learning ตาม ว6/2561 https://www.ocsc.go.th/Digital_Learning_Sources
รวบรวมข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com
--------------------------------------------------------------
กลุ่มหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ