iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2564 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1)

สนใจโหลดเอกสารรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คลิกที่นี่

สนใจโหลดเอกสารรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คลิกที่นี่

 

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

แก้ไขเพิ่มเติม 1 ครั้ง คือ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564

ประกาศใช้ 21 พฤศจิกายน 2564

ประเด็นแก้ไขเพิ่มเติม สัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต จำนวน 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน /บัตรเลือกตั้ง /การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่จะได้รับเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 19 ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราว จัดทำร่างโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองหลังรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาต และลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 131 ตอนที่ 55 ก และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อมีการประกาศใข้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ที่มา วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ก่อรัฐประหาร ทำให้คณะรัฐมนตรีรักษาการสิ้นสุดลง คณะที่มี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และในวันเดียวกัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง เว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์

ทั้งนี้ ในอารมภบทของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุว่า การจัดให้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อยู่ในแนวทางการแก้ปัญหาระยะที่ 2 จากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น 3 แนวทาง ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาระยะที่ 2 จะจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จัดตั้งสภาขึ้นทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ ให้มีคณะรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินแก้ไขสถานการณ์อันวิกฤติให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ จัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่นๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนจะส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่ผู้แทนปวงชนชาวไทยและคณะรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป ซึ่งในการดำเนินการนี้จะให้ความสำคัญแก่หลักการพื้นฐานยิ่งกว่าวิธีการในระบอบประชาธิปไตย จึงจำเป็นต้องใช้เวลาสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อยและปรองดอง เพื่อนำความสุขที่สูญหายไปนานกลับคืนสู่ประชาชน และปฏิรูปกฎเกณฑ์บางเรื่องที่เคยเป็นชนวนความขัดแย้ง จึงให้มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะจัดทำขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประกาศว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อให้มีผลใช้บังคับแทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม เป็นหัวหน้าคณะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

วันที่ 22 มีนาคม 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตและลงพระปรมาภิไธย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 133 ตอนที่ 25 ก

ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ที่กำหนดให้มีการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติมจากเดิม 220 คนเป็น 250 คน โดยได้มีการประกาศลง ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 และให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

ประกาศใช้ 6 เมษายน 2560

ที่มา คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น ผ่านการออกเสียงประชามติโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และมีเสียงข้างมากเห็นชอบ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 แล้วสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบและนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

จำนวน 279 มาตรา

องค์ประกอบของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร

รัฐสภา ประกอบด้วย

- สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย สมาชิกที่มาจากเลือกตั้งจากราษฎร มีจำนวน 500 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จำนวน 350 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 150 คน

- วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 200 คน ที่มาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงาน หรือเคยทำงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายทางสังคม

ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคำแนะนำโดยผ่านการสรรหา จำนวน 250 คน

คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน

---------------------------------

.

ที่มาข้อมูล 

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

---------------------------------

สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมข้อมูล
---------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward