iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

รายชื่อวุฒิสภา และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

 

วุฒิสภาไทย เดิมมีชื่อว่า พฤฒสภา เป็นวุฒิสภาของประเทศไทย โดยเป็นสภาสูงในรัฐสภาไทยคู่กับสภาผู้แทนราษฎรไทยซึ่งเป็นสภาล่าง ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 วุฒิสภามีวาระคราวละ 5 ปี ใช้ห้องประชุมวุฒิสภา ณ สัปปายะสภาสถาน เป็นที่ประชุม

ยุคของสมาชิกวุฒิสภา อาจแบ่งเป็น 2 ยุคตามการแต่งตั้ง คือ ยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งผสมกับการสรรหา ประกอบด้วย

- วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน 200 คน ตามวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มีกำหนดวาระคราวละ 6 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย

วุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาโดยไม่มีการลงมติ และมีหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2540) ยังได้บัญญัติให้ วุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะอีกหลายประการ คือ การพิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งต่าง ๆ คือ

- การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง

- ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

- การสรรหาและการเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

- เลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ เป็นกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม

ให้ความเห็นชอบในการ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดทั้งหมดและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด และเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง

- ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ในการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และการแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

- ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ในการแต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด รวมทั้งกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปรกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้.

- วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

มาตรา 269 ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ถวายคำแนะนำ มาตรา 270 นอกจากจะมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้วุฒิสภาตามมาตรา 269 มีหน้าที่และอำนาจติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาเพื่อทราบทุกสามเดือน

ลำดับชุดวุฒิสภา

ชุดที่จำนวนสมาชิกระยะการดำรงตำแหน่งการสิ้นสุดสมาชิกสภาพรัฐธรรมนูญหมายเหตุ
(แต่งตั้ง/เลือกตั้ง/สรรหา)
วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙) 80 24 พฤษภาคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐประหาร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3
วุฒิสภา ชุดที่ ๒ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๙๐) 301 18 พฤศจิกายน 2490 – 29 พฤศจิกายน 2494 ยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5
วุฒิสภา ชุดที่ ๓ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๑) 120 4 กรกฎาคม 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514 คณะปฏิวัติประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8
วุฒิสภา ชุดที่ ๔ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๘) 100 26 มกราคม 2518 – 6 ตุลาคม 2519 ยุบสภาตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10
วุฒิสภา ชุดที่ ๕ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๒๒) 225 22 เมษายน 2522 – 23 กุมภาพันธ์ 2534 รัฐประหาร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 ในวาระเริ่มแรกให้จับสลากออก 1 ใน 3 เมื่อครบ 2 ปีแรก และอีก 2 ปีถัดมาให้จับสลากออกกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่เหลือจากการถูกจับสลากออกคราวแรก
  • จับสลากออก 17 เมษายน 2524 และแต่งตั้งเพิ่มเติม 22 เมษายนของปีเดียวกัน
  • จับสลากออก 15 เมษายน 2526 และแต่งตั้งเพิ่มเติม 22 เมษายนของปีเดียวกัน
  • สมาชิกครบวาระ 6 ปี วันที่ 22 เมษายน 2528 และแต่งตั้งเพิ่มเติมในวันเดียวกัน
  • แต่งตั้งสมาชิกเพิ่มเติมตามจำนวน ส.ส.ที่เพิ่มขึ้น 28 กรกฎาคม 2529
  • สมาชิกครบวาระ 6 ปี วันที่ 22 เมษายน 2530
  • แต่งตั้งสมาชิกเพิ่มเติมตามจำนวน ส.ส.ที่เพิ่มขึ้น 25 กรกฎาคม 2531
  • สมาชิกครบวาระ 6 ปี วันที่ 22 เมษายน 2532
วุฒิสภา ชุดที่ ๖ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๓๕) 270 22 มีนาคม 2535 – 22 มีนาคม 2539 ครบวาระ 4 ปี ตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 14
วุฒิสภา ชุดที่ ๗ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๓๙) 260 22 มีนาคม 2539 – 21 มีนาคม 2543 ครบวาระ
วุฒิสภา ชุดที่ ๘ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๓) 200 22 มีนาคม 2543 – 21 มีนาคม 2549 ครบวาระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 เลือกตั้ง 2543 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มาจากการเลือกตั้ง สว. โดยตรง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543
วุฒิสภา ชุดที่ ๙ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๙) 200 19 เมษายน 2549 – 19 กันยายน 2549 รัฐประหาร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เลือกตั้ง 2549
วุฒิสภา ชุดที่ ๑๐ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๑) 150 2 มีนาคม 2551 – 1 มีนาคม 2557 ครบวาระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 เลือกตั้ง 2551
วุฒิสภา ชุดที่ ๑๑ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๗) 150 30 มีนาคม 2557 – 24 พฤษภาคม 2557 รัฐประหาร/ รัฐสภา วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบเลิก
(ประกาศ คสช. ฉบับที่ 30/2557)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เลือกตั้ง 2557
วุฒิสภา ชุดที่ ๑๒ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๖๒) 250 11 พฤษภาคม 2562 - ปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2564 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1)

คัดเลือก 2561-2562

 

 

---------------------------------

ที่มาข้อมูล

https://www.senate.go.th

https://th.wikipedia.org

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

---------------------------------

สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมข้อมูล
---------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward