iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

ผู้จัดการมรดก มีอำนาจขายทรัพย์มรดกได้หรือไม่

ผู้จัดการมรดก สามารถขายที่ดินได้ไหม

การจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย กฎหมายกำหนดให้ ผู้จัดการมรดก ตามกฎหมายเท่านั้น ที่จะเป็นคนจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่ก็จะมีปัญหาที่มักจะถามกันเข้ามาว่า ถ้ามีทรัพย์มรดกเป็นที่ดิน ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม

การจัดการมรดก คืออะไร

การจัดการมรดก คือ หน้าที่ตามกฎหมายของ ผู้จัดการมรดก ที่จะต้องติดตามรวบรวมทรัพย์มรดก เพื่อแบ่งให้แก่ทายาท ไม่ว่าจะเป็นทายาทตามกฎหมายหรือตามพินัยกรรม รวมถึงการชำระหนี้ การจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก หรือการเรียกประชุมทายาท คือ การเอาทรัพย์สินของเจ้ามรดกมาแบ่งให้แก่ทายาท ไม่ว่าจะแบ่งที่ตัวทรัพย์เลยหรือจะเป็นการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินมาแบ่ง

ผู้จัดการมรดก มีอำนาจขายทรัพย์มรดกได้หรือไม่

ตามกฎหมายไทย ผู้จัดการมรดก มีอำนาจขายทรัพย์มรดกได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน แต่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกองมรดก เป็นไปเพื่อการแบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาท และได้รับความเห็นชอบจากทายาทส่วนใหญ่ หากเป็นไปโดยไม่สุจริตก็ถือว่าเป็นการกระทำนอกหน้าที่ไม่มีผลผูกพันทายาทคนอื่น

กรณีที่ทำได้

- ผู้จัดการมรดก มีอำนาจขายทรัพย์มรดกได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน สามารถขายได้เมื่อเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกองมรดก เช่น เพื่อการแบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาท และได้รับความเห็นชอบจากทายาทส่วนใหญ่

- กรณีที่ทรัพย์มรดกแบ่งกันได้ยาก เช่น รถยนต์ บ้านพร้อมที่ดิน ผู้จัดการมรดกสามารถขาย เพื่อนำเงินมาแบ่งปันให้กับทายาทได้

กฎหมายให้อำนาจผู้จัดการมรดกในการดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดก รวมถึงการขายทรัพย์มรดก เพื่อนำเงินมาแบ่งให้กับทายาท

กรณีที่ทำไม่ได้

- หากการขายทรัพย์มรดกเป็นไปโดยไม่สุจริต เช่น ขายในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง

- สมรู้ร่วมคิดกับผู้ซื้อ หรือฝ่าฝืนมติของทายาทส่วนใหญ่ จะถือว่าเป็นการกระทำนอกหน้าที่ และไม่มีผลผูกพันทายาทคนอื่น

- การขายต้องไม่เป็นไปในลักษณะของการฝาก หรือมีพฤติการณ์พิเศษอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าผู้จัดการมรดกหรือผู้ซื้อไม่สุจริต

ถ้ามีทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดิน ผู้จัดการมรดก ขายที่ดินได้ถ้าการขายนั้นเป็นการขาย เพื่อนำเงินมาแบ่งให้กับทายาทก็เท่ากับว่าเป็นการจัดการมรดกอย่างหนึ่ง จึงสามารถทำได้โดยที่อาจไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก็ได้ แต่ถ้าขายที่ดินเพื่อเอาเงินมาเป็นของตัวเองคนเดียว หรือทำผิดวิธีส่อให้เป็นการทุจริตก็จะเข้าข่ายเป็น ความผิดฐาน ผู้จัดการมรดก ยักยอกทรัพย์มรดก ซึ่งเป็นความผิดอาญาเข้าข่ายผิดกฎหมายซึ่งมีโทษจำคุก แถมยังอาจถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกอีกด้วย ซึ่งทายาทก็จะต้องไปว่ากล่าวเป็นคดีต่างหากต่อไป

การขายที่ดินตามมติที่ประชุมทายาท

ในการจัดการมรดก จะต้องมีขั้นตอนก่อนที่ ผู้จัดการมรดก จะไปทำสิ่งต่างๆ ได้ ก็คือ การประชุมทายาท ซึ่งก็ คือ การที่ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกมาประชุมกัน เพื่อตกลงเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการมรดกหรือการแบ่งทรัพย์มรดก ซึ่งในที่ประชุมก็จะมีการตกลงและลงมติกันว่าทรัพย์มรดกจะจัดการยังไง จะแบ่งกันแบบไหน

ประเด็นเรื่องการขายที่ดิน

ถ้าที่ประชุมทายาทลงมติให้ขายที่ดินแล้วนำเงินที่ได้มาแบ่งกัน แบบนี้ผู้จัดการมรดกก็สามารถขายที่ดินได้เลย ถ้าใครจะมาโต้แย้งหรือกล่าวหาอะไร ก็เอาบันทึกการประชุมทายาทมาใช้ยันได้เลยว่าผู้จัดการมรดกทำตามมติของที่ประชุมนั่นเอง แต่ถ้าไม่มีมติที่ประชุมทายาท หรือมีแต่ไม่ได้มีมติให้ขาย แล้วผู้จัดการมรดกฝ่าฝืนไปขาย ก็อาจเข้าข่ายกรณีผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดก ซึ่งก็จะต้องไปว่ากล่าวเป็นคดีต่างหากต่อไปเช่นกัน

สรุป

ผู้จัดการมรดก มีอำนาจขายทรัพย์มรดกได้ แต่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกองมรดก เป็นไปเพื่อการแบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาท และได้รับความเห็นชอบจากทายาทส่วนใหญ่ หากเป็นไปโดยไม่สุจริต ก็ถือว่าเป็นการกระทำนอกหน้าที่ ไม่มีผลผูกพันทายาทคนอื่น

ใครที่เป็น ผู้จัดการมรดก หรือกำลังจะเป็นผู้จัดการมรดก ก็จะต้องระวังไว้ให้ดี หากไม่มั่นใจก็ควรปรึกษาทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมาย ก่อนไปดำเนินการจะดีที่สุดถ้าไปทำอะไรเองแล้วเกิดพลาดขึ้นมาก็ต้องรับผลซึ่งเป็นความผิดอาญาเข้าข่ายผิดกฎหมายซึ่งมีโทษจำคุก แถมยังอาจถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกอีกด้วย

.

-------------------------

ที่มา

-

รวบรวมข้อมูลและรูป

www.iok2u.com

-------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward