iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ

จากหนังสือ หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๑ ระบุหลักเกณฑ์การเขียนคำย่อไว้ท้ายเล่มของหนังสือดังกล่าว ซึ่งผู้เขียนได้สรุปมาเสนอดังนี้

1. ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกของคำเป็นตัวย่อ 

1.1 ถ้าเป็นคำคำเดียวให้ใช้ตัวย่อตัวเดียว แม้ว่าคำนั้นจะมีหลายพยางค์ก็ตาม ตัวอย่าง ๕ วา = ๕ ว., จังหวัด = จ., ๓.๐๐ นาฬิกา = ๓.๐๐ น. หรือ ศาสตราจารย์ = ศ. ฯลฯ

1.2 ถ้าใช้ตัวย่อเพียงตัวเดียวแล้วทำให้เกิดความสับสน อาจใช้พยัญชนะต้นของคำถัดไปเป็นตัวย่อด้วยก็ได้ ตัวอย่าง ทหารบก = ทบ. , ตำรวจ = ตร.  หรือ อัยการ = อก. ฯลฯ

2. ถ้าเป็นคำสมาสให้ถือเป็นคำคำเดียว และใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกเพียงตัวเดียว ตัวอย่าง มหาวิทยาลัย = ม. , วิทยาลัย = ว.

3. ถ้าเป็นคำประสม ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำ ตัวอย่าง ชั่วโมง = ชม. , โรงเรียน = รร. 

4. ถ้าคำประสมประกอบด้วยคำหลายคำมีความยาวมาก อาจเลือกเฉพาะพยัญชนะต้นของคำที่เป็นใจความสำคัญ ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 4 ตัว ตัวอย่าง คณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ = กปร. , สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ = สปช.

5. ถ้าใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำแล้วทำให้เกิดความสับสน ให้ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปแทน ตัวอย่าง            

(๑) พระราชกำหนด = พ.ร.ก.           

(๒) พระราชกฤษฎีกา = พ.ร.ฎ.

๖. ถ้าพยางค์ที่มี ห เป็นอักษรนำ เช่น หญ หล ให้ใช้พยัญชนะตัวที่ออกเสียงเป็นตัวย่อ ตัวอย่าง            

(๑) สารวัตรใหญ่ = สวญ.            (๒) ทางหลวง = ทล.

๗. คำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรควบกล้ำหรืออักษรนำ ให้ใช้อักษรตัวหน้าตัวเดียว ตัวอย่าง            

(๑) ประกาศนียบัตร = ป.            (๒) ถนน = ถ.            (๓) เปรียญ = ป.

๘. ตัวย่อไม่ควรใช้สระ ยกเว้นคำที่เคยใช้มาก่อนแล้ว ตัวอย่าง

(๑) เมษายน = เม.ย.            (๒) มิถุนายน = มิ.ย.           (๓) เสนาธิการ = เสธ.            (๔) โทรศัพท์ = โทร.

๙. ตัวย่อต้องมีจุดกำกับเสมอ ตัวย่อตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปให้จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว ยกเว้นตัวที่ใช้กันมาก่อนแล้ว ตัวอย่าง            

(๑) ตำบล = ต.            (๒) รองศาสตราจารย์ = รศ.            (๓) พุทธศักราช = พ.ศ.

๑๐. ให้เว้นวรรคเล็กหน้าตัวย่อทุกแบบ ตัวอย่าง            

(๑) ประวัติของ อ.พระนครศรีอยุธยา           

(๒) มีข่าวจาก กทม.ว่า

๑๑. ให้เว้นวรรคระหว่างกลุ่มอักษรย่อ ตัวอย่าง            

(๑) ศ. นพ.            (๒) รศ. ดร.

๑๒. การอ่านคำย่อ ต้องอ่านเต็ม ตัวอย่าง      

(๑) ๐๕.๐๐ น. อ่านว่า ห้า-นา-ลิ-กา           

(๒) อ.พระนครศรีอยุธยา อ่านว่า อำ-เพอ-พระ-นะ-คอน-สี-อะ-ยุด-ทะ-ยา

ยกเว้นกรณีที่คำเต็มนั้นยาวมากและคำย่อนั้นเป็นยอมรับกันทั่วไปแล้ว อาจอ่านตัวย่อเรียงตัวไปก็ได้ ตัวอย่าง ก.พ. อ่านว่า กอ-พอ

ที่มา : หนังสือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๖  หน้า ๖๗-๗๐

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward