มหาวิทยาลัยมหิดล และคำว่า อตฺตานํ อุปฺมํ กเร
มหาวิทยาลัยมหิดล และคำว่า อตฺตานํ อุปฺมํ กเร เป็นคติประจำมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน และยังปรากฎอยู่บนตราของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาของคำนี้ เริ่มเมื่อมีการสถาปนา มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขึ้นในปี พ.ศ. 2486 คณะกรรมการมหาวิทยาลัยในสมัยนนั้ได้มีความเห็นว่า บนตราของมหาวิทยาลัยควรมีคติพจน์ปรากฎอยู่เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้แก่นิสิตและบัณฑิตทั้งหลาย คณะกรรมการมหาวิทยาลัยฯ มีความเห็นพ้องในคำเสนอให้ใช้คำว่า อตฺตานํ อุปฺมํ กเร ที่อ้างมาจากพระพุทธวัจนะตอนหนึ่งซึ่งปรากฎใน พระสุตตันตปิฎก ตามรูปศัพท์มีความหมายว่า พึงกระทำตนเป็นอุปมา หมายถึง พึงเอาตัวเองเป็นเครื่องเปรียบเทียบ โดยการทำอะไรก็ตามให้คิดเอาไว้ว่าถ้าเกิดกับตัวเราเองหรือมีคนมาทำแบบนั้นกับเราจะรู้สึกอย่างไร คล้ายการเอาใจเขามาใส่ใจเราเพราะเราก็คงชอบสิ่งที่ดีคนอื่นก็ต้องชอบเช่นกัน ซึ่งได้ยอมรับและนำเอาคติพจน์นี้มาใช้เป็นคติประจำมหาวิทยาลัย
บัณฑิตที่จบมหาวิทยาลัยมหิดลมักจะนำแนวคิด ดูแลช่วยเหลือสังคมและผู้เดือดร้อนโดยจะพึงปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง