COVID-19 โรคโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างไร
@ เชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างไร
- การแพร่ระบาดโดยตรง ผ่านละอองสารคัดหลั่งในระยะใกล้กับผู้ติดเชื้อ เช่น จาม ไอ หรือพูดคุย เมื่อได้รับเชื้อจะทำให้เกิดการติดเชื้อ
- การแพร่ระบาดโดยการสัมผัส ละอองสารคัดหลั่งที่เกาะอยู่ตามพ้นื ผิววัสดุ เมื่อสัมผัสโดนตัวหรือจับต้องใช้งาน หลังจากนั้นนำไปสัมผัสที่ปาก จมูก หรือดวงตา เป็นต้น จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- การแพร่ระบาดโดยผ่านอากาศ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบปิดเป็นเวลานานและมีปริมาณละอองของไวรัสเข้มข้นสูงก็อาจจะเกิดการแพร่เชื้อได้เช่นกันเนื่องจากในการแยกเชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 ในปัสสาวะและอุจจาระจะต้องใช้ความระม้ดระว้งเกี่ยวก้บละอองที่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือทำให้เกิดการแพร่เชื้อแบบการสัมผัส
@ สัตว์เลี้ยงสามารถแพร่ระบาดเชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 ได้หรือไม่
ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าสัตว์เลี้ยงจะสามารถแพร่เชื้อโรคโควิด-19 ได้ หลังจากสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงแล้วให้ใช้สบู่และน้ำเปล่าล้างมือ สามารถช่วยลดแบคทีเรียทั่วไปที่อยู่ในสัตว์เลี้ยงได้ เช่น เอสเชอริเชีย โคไล และเชื้อซาลโมเนลลา เป็นต้น
@ การใส่หน้ากากอนามัยและการล้างมือจะสามารถป้องกันเชื้อโรคโควิด-19 ได้หรือไม่
การสวมใส่หน้ากากอนามัยและการล้างมือบ่อย ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกายแต่ก่อนอื่นจำเป็นจะต้องแน่ใจได้ว่ามีการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ไดัมาตรฐานและมีวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถป้องกันตนเองได้
@ อาการ
หากคุณติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วจะมีอาการอย่างไร ร่างกายของเราไม่สามารถต่อต้านเชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 ได้ หากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย ไม่ชอบการล้างมือ ภูมิคุ้มกันลดลง พวกเราก็มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อเมื่อเริ่มป่วย พวกเราก็จะมีอาการ ตัวร้อน เป็นไข้ ไอ หายใจลำบาก และอาจจะมีอาการซึม รู้สึกทั่วทั้งร่างกายอ่อนแรง หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะมีอาการป่วยหนัก จนต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน เชื้อของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดอาการป่วยได้มากมายหากป่วยหนักจะทำให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเสียชีวิตได้
@ เมื่อเชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 อยู่ในร่างกายเราจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง
หากรู้สึกไม่สบาย จะต้องไปพบแพทย์ทันที ในขั้นตอนการตรวจจะต้องไม่ไปสัมผัสกับอุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์ โดยไม่จำเป็น จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ตลอดขบวนการในการตรวจ ให้ความร่วมมือกับแพทย์และพยาบาล หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ เพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น หลังจากกลับจากการตรวจรักษาจะต้องใช้สบู่และน้ำสะอาดล้างมือทันที
@ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะมีขั้นตอนการแสดงอาการแตกต่างกันออกไป
เริ่มแรกอาจจะมีอาการตัวร้อน เป็นไข้ ไอ รู้สึกร่างกายไม่มีแรง และจะค่อย ๆ เกิดอาการหายใจล้มเหลว โดยทั่วไปไวรัสชนิดนี้จะมีระยะฟักตัวในร่างกายประมาณ 7 วัน และบางทีอาจจะมีระยะฟักตัวถึง 14 วันโดยประมาณ ในช่วงระยะฟักตัวพวกมันจะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในร่างกายของคุณ เร็วจนกระทั่งความแข็งแรงในร่างกายของคุณกำจัดมันไม่ทัน เพียงเข้าสู่ร่างกายของคุณ คุณก็จะกลายเป็น “เครื่องถ่ายเอกสาร” ให้กับพวกมัน และจะช่วยเหลือมันในการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
การดูแลตัวเองและการพบแพทย์
@ เพราะเหตุใดจึงต้องทำการกักตัวดูอาการผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยเป็นเวลา 14 วัน
เนื่องจากระยะฟักตัวของโรคโควิด-19 จะอยู่ที่ประมาณ 1-14 วัน โดยส่วนมากจะอยู่ในช่วง 3-7 วัน หากพ้น 14 วันไปแล้วยังไม่มีอาการเจ็บป่วย ในเบื้องต้นจะวินิจฉัยว่าไม่มีการติดเชื้อ การควบคุมทางการแพทย์อย่างเข้มงวด เป็นหนึ่งในขั้นตอนความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน และเป็นวิธีการปฏิบัติทั่วไปที่ใช้ในประชาคมโลก
@ สงสัยว่าตนเองหรือคนรอบตัวติดเชื้อโรคโควิด-19 จะทำอย่างไร
หากสงสัยว่าตนเองหรือคนรอบตัวติดเชื้อโรคโควิด-19 ควรจะรีบแจ้งคนในครอบครัวและรักษาระยะห่าง สวมใส่หน้ากากอนามัยและให้รีบไปโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อพบแพทย์ให้เร็วที่สุด หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน การชุมนุมหรือท่องเที่ยว ใส่หน้ากากอนามัย แม้จะอย่ใูนบ้าน ให้อยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทและมีการฆ่าเชื้อโรค ไม่สัมผัสกับคนในครอบครัวและจะต้องไม่อยู่ใกล้กัน (น้อยกว่า 1 เมตร)
จะพิจารณาอย่างไรว่าตนเองสมควรจะต้องไปพบแพทย์หรือไม่
หากมีไข้ (อุณหภูมิใต้รักแร้ ≥37.3℃) ไม่มีแรง ไอแห้ง อาการเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าคุณได้รับเชื้อ แต่หากมีอาการเหล่านี้ปรากฎขึ้น จะต้องรีบเข้ารับการตรวจวินิจฉัยในสถาบันการแพทย์โดยทันที
1. ก่อนหน้าที่จะแสดงอาการป่วย 14 วันมีประวัติการเดินทางท่องเที่ยวหรือพักอาศัยในบริเวณที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค
2. ก่อนหน้าที่จะแสดงอาการป่วย 14 วัน ได้มีการใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 (ได้รับการยืนยันจากการตรวจสอบกรดนิวคลีอิกที่ให้ผลเป็นบวก)
3. ก่อนหน้าที่จะแสดงอาการป่วย 14 วัน มีการใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ที่เดินทางมาจากแหล่งแพร่ระบาดของโรค
4. การรวมกลุ่มชุมนุม (ภายในระยะเวลา 14 ได้ไปหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่พบผู้ป่วยมากกว่า 2 คนขึ้นไป ที่มีไข้และโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ที่บ้านสำนักงาน ห้องเรียน เป็นต้น)
ข้อควรระวังอย่างไรเมื่อไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
เมื่อไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้เคียง จะต้องแจ้งข้อมูลที่ละเอียดและเป็นความจริงแก่แพทย์ผู้ทำการตรวจอาการ บอกเล่าเรื่องราวและสิ่งที่ได้เจอหรือสัมผัสมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าเคยมีการเดินทางหรือพักอาศัยในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อหรือไม่ ได้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรือไม่ หรือสัมผัสกับสัตว์หรือไม่ เป็นต้น
พยายามหลีกเลี่ยงการใช้งานบริการสาธารณะร่วมกับผู้อื่น เช่น โดยสารรถไฟใต้ดิน รถประจำทางสาธารณะ เป็นต้น หลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่แออัดผู้คนพลุกพล่าน และสิ่งสำคัญ คือ จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์แบบใช้แล้วทิ้งอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น
โรคโควิด-19 สามารถรักษาได้หรือไม่
ปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 สามารถรักษาได้ แต่เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่พบยาที่มีผลในการต้านไวรัสโรคโควิด-19 โดยเฉพาะ สำหรับวิธีการรักษาคนป่วยที่สำคัญ คือ ใช้วิธีการรักษาตามอาการ (หากมีไข้สูง ให้ทำการลดไข้ เมื่อไอก็ทำให้หยุดอาการไอ) และวิธีการเสริม (เสริมสร้างโภชนาการและเพิ่มภูมิต้านทาน) ในปัจจุบันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้พยายามเร่งทำการค้นหาและวิจัยยาที่มีผลต่อการรักษาโดยเฉพาะ แต่สำหรับตัวไวรัสเองจะต้องอาศัยความแข็งแรงของร่างกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัดไวรัสเหล่านั้นให้หมดไป เนื่องจากโรคโควิด-19 มีลักษณะอาการที่รุนแรง ดังนั้นเมื่อติดเชื้อโรคโควิด-19 ควรรีบทำการพบแพทย์โดยทันที และจะต้องเชื้อฟังคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ให้ความร่วมมือในการรักษา
มีวัคซีนรักษาโรคโควิด-19 หรือไม่
ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนรักษาโรคโควิด-19 เนื่องจากเป็นเชื้อโรคชนิดใหม่จำเป็นจะต้องใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนค่อนข้างนาน ปัจจุบันนักวิจัยในประเทศจีนและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก กำลังแข่งกับเวลาในการพัฒนายาและวัคซีนในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19
-----------------------------------------------------
*** หวังว่าข้อมูลที่รวบรวมมานำเสนอในเว็บนี้ จะช่วยเป็นอีกช่องทางในการเผยแพร่ความรู้เพื่อใช้ต่อสู้วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ในครั้งนี้ได้ไม่มากก็น้อย
#เราจะผ่านวิกฤติโรคโควิด19ไปด้วยกัน
#เราจะสู้โควิดไปด้วยกัน #เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน #ไทยชนะ