กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ชื่ออังกฤษ: Ministry of Industry (MOI)
ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ นารายณ์เกษียรสมุทร ซึ่งนำจากเรื่อง นารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤต ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ ก็ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกอีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติม
- กระทรวงอุตสาหกรรม วิสัยทัศน์
- กระทรวงอุตสาหกรรม พันธกิจ 2566-2570
- กระทรวงอุตสาหกรรม ตรากระทรวง พระกฤษณะนารายณ์เทวเทพ
- กระทรวงอุตสาหกรรม ประวัติความเป็นมา
-
-
-
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) มีประวัติความเป็นมาดังนี้
@ พ.ศ. 2479 รัฐบาลได้จัดตั้ง "กองอุตสาหกรรม" ขึ้นในกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อวันที่ 31 มกราคม
@ พ.ศ. 2480 ยกฐานะกองอุตสาหกรรมขึ้นเป็นกองอิสระรัฐพาณิชย์ ขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงเศรษฐการ
@ พ.ศ. 2484 มีการปรับปรุงส่วนราชการกองเศรษฐการใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อ เป็นกระทรวงเศรษฐกิจและจัดตั้ง "กรมอุตสาหกรรม" สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ มีหน้าที่วางแผนการสร้างและส่งเสริมอุตสาหกรรมโรงงาน และอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยตั้งที่ทำการกรมที่ วังกรมหลวงปราจีณกิติยบดี เทเวศม์
@ พ.ศ. 2485 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมจัดตั้ง "กระทรวงการอุตสาหกรรม" โดยมีส่วนราชการในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ตั้งใหม่)
- กรมโลหกิจ (โอนมาจากกระทรวงมหาดไทย)
- กรมวิทยาศาสตร์ (โอนมาจากกระทรวงการเศรษฐกิจ)
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP) (กรมอุตสาหกรรม กระทรวงการเศรษฐกิจเดิม)
กระทรวงการอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ที่ วังกรมหลวงปราจีณกิติยบดีเทเวศม์ วันที่ 5 พฤษภาคม ถือเป็นวันสถาปนากระทรวงอุตสาหกรรม
@ พ.ศ. 2486 ย้ายที่ทำการกระทรวงการอุตสาหกรรมมาตั้งที่ กองบัญชาการ กองพลที่ 1
@ พ.ศ. 2488 ย้ายที่ทำการกระทรวงการอุตสาหกรรม มาตั้งที่วังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เทเวศม์
@ พ.ศ. 2494 ย้ายที่ทำการกระทรวงการอุตสาหกรรม มาตั้งที่ ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ จนถึงปัจจุบัน
@ พ.ศ. 2495 เปลี่ยนชื่อกระทรวงการอุตสาหกรรมเป็น "กระทรวงอุตสาหกรรม" และปรับปรุง ส่วนราชการใหม่ โดยมีกรมในสังกัดดังนี้
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมโรงงานโลหกรรม (ตั้งใหม่)
- กรมโลหกิจ
- กรมวิทยาศาสตร์
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
@ พ.ศ. 2501 มีพระราชบัญญัติปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวงอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีกรมในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมโลหกิจ
- กรมวิทยาศาสตร์
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
@ พ.ศ. 2506 มีพระราชบัญญัติปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวงอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีกรมในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมวิทยาศาสตร์
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
- สำหรับกรมโลหกิจโอนไปสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติที่ตั้งขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อ เป็นกรมทรัพยากรธรณี
@ พ.ศ. 2511 จัดตั้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
@ พ.ศ. 2515 มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน ปรับปรุงส่วนราชการ ในกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ใหม่ สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมมีหน่วยราชการในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- กรมวิทยาศาสตร์
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
- สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
@ พ.ศ. 2515 มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 276 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน จัดตั้ง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
@ พ.ศ. 2515 มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 339 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม จัดตั้ง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจเทียบเท่ากรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
@ พ.ศ. 2518 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ในทะเล เป็นรัฐวิสาหกิจเทียบเท่ากรมสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม
@ พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม
@ พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจเทียบเท่ากรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม
@ พ.ศ. 2521 จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
@ พ.ศ. 2522 มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 22) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมให้มีหน่วยราชการ ในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
@ พ.ศ. 2522 มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 23) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมให้มีหน่วยราชการ ในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
@ พ.ศ. 2527 จัดตั้งสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 (ประกาศในราชกิจจานุเษกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 101 ตอนที่ 103 หน้า 38 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2527)
@ พ.ศ. 2528 มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกการจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม
@ พ.ศ. 2534 มีพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ใหม่ เมื่อวันที่ 4 กันยายน สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมมีหน่วยราชการในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
@ พ.ศ. 2540 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุบองค์การเหมืองแร่ในทะเล เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์
@ พ.ศ. 2545 ถึงปัจจุบัน มีการปฏิรูประบบราชการ เปลี่ยนแปลง และปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของส่วนราชการต่าง ๆ ใหม่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมมีหน่วยราชการในสังกัด คือ
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
- กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
- สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
-----------------------------------------------------
ที่มา http://www.m-industry.go.th/min/intro/1_1.htm
#iok2u
www.iok2u.com