iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เริ่มใช้นิยาม SME ใหม่ ปี 2563

ดูเพิ่มเติม กฎกระทรวง กำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประกาศจะเริ่มใช้นิยามของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่ในปี 2563 จะเน้นการใช้จำนวนการจ้างงานและรายได้ ในการจัดแบ่งขนาดผู้ประกอบการทั้งนภาคผลิตและบริการ มุ่งเน้นลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มรวมถึงกลุ่ม Micro เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การจัดทำข้อมูล ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ที่สะท้อนระดับการพัฒนา SME นำไปสู่การจัดทำมาตรการและนโยบายในการส่งเสริมได้ตรงความต้องการของแต่ละกลุ่ม และเพื่อให้มาตรการภาครัฐเข้าถึงกลุ่มธุรกิจไมโคร (อ้างอิงข้อมูลในปี 2561 ธุรกิจไมโคร 2.6 ล้านราย สร้าง GDP ได้ถึง 650,000 ล้านบาทต่อปี)

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เริ่มดำเนินการตาม ราชกิจจานุเบกษา ที่ได้ประกาศกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 ทำให้มีการกำหนดคุณลักษณะของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่มักเรียกว่า นิยามคำว่า SMEs จะมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป โดยจะใช้จำนวนการจ้างงานและรายได้เป็นเกณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ ขนาดของวิสาหกิจและโครงสร้างทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป และเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ที่ให้นำ “จำนวนรายได้” มาใช้เป็นเกณฑ์กำหนดขนาดของวิสาหกิจ

จากข้อมูล ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา นิยาม SME มีการใช้จำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรเป็นเกณฑ์ แต่เมื่อประเทศพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจ 4.0 ภาค SME มีการปรับใช้เทคโนโลยีมากขึ้นแทนการจ้างงานทำให้รูปแบบธุรกิจต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป เช่น บางกิจการมีการจ้างงานไม่ถึง 10 คน แต่สร้างรายได้เกือบ 1,000 ล้านบาทต่อปี กลุ่มนี้ก็ไม่น่าจะเป็น SME และโดยที่นิยาม SME มีความสำคัญ เพราะถูกนำไปใช้ในกระบวนการส่งเสริมผู้ประกอบการหลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อออกมาตรการหรือนโยบายช่วยเหลือของภาครัฐ เป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ รวมถึงเพื่อติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ของ SME เช่น การเงิน การส่งออก-นำเข้า ฯลฯ ทำให้ สสว. ได้ปรับปรุงแก้ไข นิยาม SME ให้ใช้รายได้เป็นเกณฑ์ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากบอร์ดส่งเสริม SME คณะรัฐมนตรี และกฤษฎีกาฯ มาแล้วก่อนที่จะประกาศเป็นกฏกระทรวงดังกล่าว

สำหรับนิยาม SME ที่ปรับปรุงใหม่มีรายละเอียด ดังนี้

@ วิสาหกิจขนาดย่อม (Small) คือ

- กิจการในภาคการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 100 ล้านบาท

- กิจการในภาคการค้า (ค้าส่ง หรือค้าปลีก) และบริการ มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 30 คน หรือมีรายได้ต่อปี ไม่เกิน 50 ล้านบาท

@ วิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) คือ

- กิจการในภาคการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า 50 - 200 คน หรือมีรายได้ต่อปีเกินกว่า 100 – 500 ล้านบาท

- ส่วนกิจการในภาคการค้า (ค้าส่ง หรือค้าปลีก) และบริการ มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า 30–100 คน หรือมีรายได้ต่อปีเกินกว่า 50–300 ล้านบาท

- Micro คือ กลุ่มที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท การจ้างงานไม่เกิน 5 คน 

** ทั้งนี้ หากจ้างงานและรายได้ เข้าลักษณะของวิสาหกิจต่างกันให้ยึดรายได้เป็นหลักในการพิจารณา

จากการประมวลผลข้อมูลของ สสว. พบว่า

- จำนวน SME ทั่วประเทศ 3,070,177 ราย

- เป็น วิสาหกิจขนาดย่อม (Small) 3,029,525 ราย และวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) 40,652 ราย

- กลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อย รวมถึงกลุ่ม Micro มีจำนวนถึง 2,644,561 ราย และนับเป็นวิสาหกิจส่วนใหญ่ของประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.74 ของจำนวนผู้ประกอบการรวมทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นกิจการในรูปแบบธุรกิจส่วนบุคคลมีจำนวนถึง 2,253,132 ราย ขณะที่กิจการในรูปแบบนิติบุคคลมีจำนวน 391,429 ราย

- กลุ่ม Micro ที่เป็นธุรกิจส่วนบุคคล พบว่าอยู่ในภาคการค้ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.58 กิจการที่มีเป็นจำนวนมาก คือ การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ รองลงมาอยู่ในภาคบริการ คิดเป็นร้อยละ 35.73 กิจการที่มีเป็นจำนวนมาก คือ บริการอาหารและเครื่องดื่ม และภาคการผลิต คิดเป็นร้อยละ 19.69 กิจการที่มีเป็นจำนวนมาก คือ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร

- กลุ่ม Micro ที่เป็นนิติบุคคล พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการ คิดเป็นร้อยละ 56.33 กิจการที่มีเป็นจำนวนมาก เช่น ธุรกิจก่อสร้างอาคาร รองลงมาอยู่ในภาคการค้า คิดเป็นร้อยละ 31.99 กิจการที่มีเป็นจำนวนมาก เช่น การขายส่งยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์ และ ภาคการผลิต คิดเป็นร้อยละ 11.68 กิจการที่มีเป็นจำนวนมาก เช่น ธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร

- ด้านการส่งออกในปี 2562 (มกราคม-พฤศจิกายน) พบว่ากลุ่ม Micro และ SME หรือ MSME มีบทบาทด้านการส่งออกคิดเป็นมูลค่ารวม 910,089.90 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.36 ของการส่งออกรวมของประเทศ กลุ่มธุรกิจขนาดกลาง มีมูลค่า 549,025.80 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.06 รองลงมาเป็นธุรกิจขนาดย่อม มีมูลค่า 258,212.40 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.79

- กลุ่ม Micro มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 102,851.70 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.51 ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญ คือ ผลไม้และลูกนัต ที่บริโภคได้ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก และยานยนต์และส่วนประกอบ โดยมีตลาดสำคัญ คือ จีน เวียดนาม และ สปป.ลาว

จะเห็นได้ว่ากลุ่ม Micro มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การกำหนดลักษณะเฉพาะตัวที่ชัดเจนของแต่ละกลุ่ม จะช่วยให้ภาครัฐกำหนดนโยบายและมาตรการการส่งเสริมได้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Micro ก็จะมีโอกาสเข้าถึงความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การพัฒนานศักยภาพที่สอดคล้องกับธุรกิจ ขณะเดียวกันจะนำไปสู่การจัดทำฐานข้อมูล ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ที่สะท้อนระดับการพัฒนาของวิสาหกิจแต่ละกลุ่มที่ชัดเจน รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลผู้รับบริการและผลการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

--------------------------------------

ดูเพิ่มเติม

กฎกระทรวง กำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562

--------------------------------------

ที่มา https://www.sme.go.th

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward