การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (Plate tectonics) และการเคลื่อนที่
การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics) มาจากภาษากรีก แปลว่า "ผู้สร้าง" เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิม ที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960
โครงสร้างส่วนนอกของโลก แบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น คือ
- ชั้นที่อยู่นอกสุด คือ ชั้นธรณีภาค อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก เป็นชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง
- ชั้นล่างลงไปคือ ชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลว
เมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้น จะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ในปี พ.ศ. 2458 นักอุตุนิยมวิทยาชาวเยอรมันชื่อ ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Dr. Alfred Wegener) ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับการเลื่อนของแผ่นธรณีภาคจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยกำหนดว่าในอดีตหลายแสนล้านปีท่แล้ว ผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย (pangaea) ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด (all land) ต่อมาเกิดการเลื่อนตัวของแผ่นธรณีภาคทำให้แผ่นดินแยกออกจากกันดังในปัจจุบัน โดยระยยในการเคลื่อนที่ของแผ่นดินแบ่งเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. ประมาณ สองล้านล้านปี แผ่นดินพันเจีย เริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือ ลอเรเซียทางตอนเหนือ และกอนด์วานาทางตอนใต้ โดยกอนด์วานาจะแตกและเคลื่อนแยกจากกันเป็นอินเดีย อเมริกาใต้ และแอฟริกา ในขณะที่ออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานา
2. ต่อมาประมาณแสนล้านปี มหาสมุทรแอตแลนติกเริ่มแยกตัวจากกันกว้างขึ้น ทำให้แอฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากอเมริกาใต้ แต่ออสเตรเลียยังคงเชื่อมอยู่กับแอนตาร์กติกา และอเมริกาเหนือกับยุโรปยังคงต่อเนื่องกัน
3. ระยะปัจจุบันประมาณ 65 ล้านปีถึงปัจจุบัน มหาสมุทรแอตแลนติกยังมีการขยายตัวต่อเนื่องทำให้แยกห่างกว้างขึ้นไปอีก ทำให้แผ่นดินที่เป็นอเมริกาเหนือและแผ่นดินยุโรปแยกจากกัน แผ่นอเมริกาเหนือโค้งเว้าเคลื่อนเข้าชนประสานกับแผ่นดินอเมริกาใต้ ส่วนแผ่นดินออสเตรเลียก็เคลื่อนแยกจากแผ่นดินแอนตาร์กติกา และแผ่นดินอินเดียก็เคลื่อนไปทางทิศเหนือมาชนกับแผ่นดินเอเชียจนเกิดการดันตัวของแผ่นดินสูงขึ้นเป็นเทือกเขาหิมาลัย การเคลื่อที่ในช่วงระยะนี้ทำให้เกิดกลายเป็นแผ่นดินทวีปและผืนมหาสมุทรให้เห็นในปัจจุบัน
ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของร่องลึกก้นสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี
-------------------------------
รูปแสดงขั้นตอนการเลื่อนของแผ่นธรณีภาคจากอดีตถึงปัจจุบัน
ที่มาข้อมูล
- ....
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
---------------------------------------------------
รวมข้อมูลและเรื่องราว ธรณีภาค (lithosphere)
---------------------------------------------------
รวมข้อมูลและเรื่องราว ธรณีวิทยา
---------------------------------------------------