ธรณีวิทยาเบื้องต้น (Introduction to Geology)
สนใจดูเรื่องราวธรณีวิทยาคลิกที่นี่
.
ธรณีวิทยา (Geology) มาจากคำของกรีกที่แปลว่า โลกและเหตุผล คือ เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ โลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดิน และน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย
ธรณีวิทยาเบื้องต้น (Introduction to Geology)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 1 บทนำ (Introduction)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 2 โลก โครงสร้าง และองค์ประกอบ (Earth: Structure and Composition)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 3 แร่และหิน (Minerals and Rocks)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 4 กระบวนการทางธรณีวิทยา (Geological Processes)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 5 ธรณีแปรสัณฐาน (Plate Tectonics)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 6 ภูเขาไฟ (Volcanoes)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 7 แผ่นดินไหว (Earthquakes)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 8 การผุพังและการกร่อน (Weathering and Erosion)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 9 ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 10 ธรณีสัณฐาน (Geomorphology)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 11 ทรัพยากรธรณี (Geological Resources)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 12 ธรณีวิทยาเศรษฐกิจ (Economic Geology)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 13 ธรณีวิทยาของน้ำใต้ดิน (Hydrogeology)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 14 ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Geology)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 15 ธรณีวิทยาโบราณคดี (Archaeological Geology)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 16 ธรณีวิทยาในชีวิตประจำวัน (Geology in Everyday Life)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 17 ธรณีวิทยาของประเทศไทย (Geology of Thailand)
- Geo101 ธรณีวิทยาเบื้องต้น 18 ประวัติศาสตร์ของโลก การเดินทางผ่าน 4 มหายุค
-
-
--
วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร์
ความน่าสนใจในงานนักธรณีวิทยา คือ
- การได้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ การตื่นเต้นกับการค้นพบใหม่ๆ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ
- ความสำคัญของวิชาพื้นฐานของ นักธรณีวิทยา ต้องรู้ใน ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ ช่วยให้เข้าใจกระบวนการทางธรณีวิทยา ทักษะคอมพิวเตอร์ ช่วยในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูล
- การทำงานในพื้นที่จริง ถึงแม้จะมีเทคโนโลยี แต่การลงพื้นที่จริงยังสำคัญ ได้เดินทางไปสถานที่ต่างๆ อาจต้องทำงานในพื้นที่ห่างไกล ลำบาก
ความท้าทายและความสุขของ นักธรณีวิทยา คือ ต้องเป็นคนมีความคิดเป็นของตัวเอง แก้ปัญหาเก่ง มีความสุขกับการค้นพบ นักธรณีวิทยาที่เก่ง มักค้นพบแหล่งแร่ได้หลายแห่ง หากชอบทำงานกลางแจ้ง มีความอยากรู้อยากเห็น และชอบการค้นพบ อาชีพนักธรณีวิทยาสำรวจแร่อาจเหมาะกับคุณ
.
วิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=lus-pRPpFok
.
บทบาทของนักธรณีวิทยา โดยเฉพาะในสาขาการสำรวจแร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม วิดีโอ ได้อธิบายถึงบทบาทของนักธรณีวิทยา โดยเฉพาะในสาขาการสำรวจแร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม