iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Lertsin 016 ประวัติรอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทนที่ไม่เคยถูกบันทึก

 

  
 
016 ประวัติรอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทนที่ไม่เคยถูกบันทึก
 
รอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทนเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ ที่ได้รับการคุ้มครองตาม พรบ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ เป็นแห่งแรกของไทย เป็นพื้นที่ที่ได้รับการจัดการจนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ผมมีส่วนเกี่ยวข้องเล็กน้อยในตอนต้นของประวัติศาสตร์หน้านี้ จึงขอเล่าเหตุการณ์ที่ไม่เคยถูกบันทึกมาก่อน อาจจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินการในอนาคต
 
ในปี พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณีอันยิ่งใหญ่ถูกแบ่งออกเป็น 4 กรม สังกัด 3 กระทรวง คือ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานการเหมืองแร่ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สังกัดกระทรวงพลังงาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมทรัพยากรธรณี (ใช้ชื่อเดิม) สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมใหม่ที่ตั้งขึ้นต่างนำเอาภารกิจหลักติดไปด้วย ทำให้กรมทรัพยากรธรณี (ใหม่) ไม่เหลืองานที่สร้างชื่อเสียงได้เลย ต้องยอมรับและยกย่องผู้บริหารในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอธิบดีสมศักดิ์ โพธิสัตย์ ที่ได้คิดสาระและกระบวนการทำงานใหม่จนมีที่ยืนในสังคมอย่างมั่นคง เราเป็นกรมวิชาการ ต้องใช้องค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาเป็นหลัก เรื่องใดที่ยังมีข้อถกเถียงทางวิชาการ ก็ไปศึกษา วิจัย แก้ไขปัญหาให้ถูกต้อง
 
กลางปี พ.ศ. 2546 ผมได้รับมอบหมาย ให้ไปสำรวจศึกษาแก้ปัญหาการลำดับชั้นหินของหมวดหินภูทอก ที่ในเวลานั้นมีข้อถกเถียงว่าวางตัวอยู่บนหรือล่างชั้นเกลือของหมวดหินมหาสารคามกันแน่ เราใช้ทั้งการเดินสำรวจอย่างละเอียด ใช้เครื่องมือธรณีฟิสิกซ์ และติดตามดูข้อมูลการเจาะน้ำบาดาลในพื้นที่ใกล้เคียงกับเขาภูทอกน้อยที่เป็นพื้นที่แบบฉบับของหมวดหินภูทอก ข้อมูลทุกอย่างถูกนำมาวิเคราะห์ได้ผลชัดเจนว่าหมวดหินภูทอกวางตัวอยู่บนชั้นเกลือของหมวดหินมหาสารคามตรงกับที่พี่นเรศ คนตั้งชื่อหมวดหินได้เสนอไว้
 
เหมือนฟ้ากำหนดอีกครั้ง ขณะที่ทำการสำรวจ ได้พบพี่นเรศ พี่สุนทร และน้องจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ อีก 2 คน ที่ใกล้ภูลังกา อำเภอบ้านแพง ทีมของพี่นเรศมาตามล่าหาหมวดหินโคกกรวด ในบริเวณรอยต่อ อำเภอท่าอุเทนและอำเภอบ้านแพง ทั้งที่ในแผนที่ธรณีวิทยากำหนดให้เป็น หมวดหินมหาสารคาม พี่สุนทรบอกว่ายังไงก็ต้องมีเพราะข้อมูลจากการแปลความหมาย การสำรวจธรณีฟิสิกซ์แบบคลื่นไหวสะเทือนที่ใช้ในการสำรวจโครงสร้างชั้นหินได้ดีที่สุด เห็นได้ชัดเจนว่ามีหมวดหินโคกกรวดโผล่อยู่แถวนี้ พี่สุนทรคงเกรงว่าผมไม่เชื่อหรือไงไม่ทราบได้ แกเอาภาพตัดขวางของคลื่นไหวสะเทือนมาให้ดูด้วย แล้วก็ชี้ว่า นี่ไง ตรงนี้ไง ที่หมวดหินโคกกรวดโผล่ ผมดูไม่ออกหรอก เห็นแต่ภาพลายเส้น ตรงบ้างโค้งบ้าง ได้แต่พยักหน้า ผงกหัวไปเรื่อย ความจริงเราทั้งสองทีมเจอหมวดหินโคกกรวด มาแล้ว เพราะลักษณะทางกายภาพหินระหว่างหมวดหินโคกกรวด กับหมวดหินภูทอกแตกต่างกันมาก พี่นเรศเจอหมวดหินโคกกรวดที่ บ่อหินริมทางหลวงสายหลัก ส่วนผมเจอหมวดหินโคกกรวดที่บ่อหินเถื่อนในป่าห่างจากภูลังกามาทางใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร มีเวลาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ขอโทษครับใช้คำว่าแลกเปลี่ยนไม่ได้ ผมดูดความรู้ฝ่ายเดียว พี่นเรศบอกว่าเพิ่งไปเจอรอยตีนไดโนเสาร์ที่ บ่อหินริมถนน ทางไปอำเภอท่าอุเทน น่าสนใจมาก วันรุ่งขึ้นเลยไปหาจนเจอ ในบ่อหินที่เอาไปสร้างเขื่อนกันการกัดเซาะของแม่น้ำโขง ตอนแรกมองไม่ออก แต่พอจับทางได้เริ่มพบมากขึ้น ลักษณะเหมือนรอยตีนนกกระจอกเทศมากกว่า มี 3 นิ้ว ชัดเจน ยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร ขณะที่ไปถึง ยังมีเครื่องจักรทำงานอยู่ ไม่สะดวกต่อการสำรวจ เลยตามไปดูกองหินที่เขาเอาไปกองสะสมกัน ที่หลักกิโลเมตรที่ 8 จากตัวเมืองนครพนม ยังพบเห็นรอยตีนไดโนเสาร์อีกมากมาย แถมยังพบลักษณะโครงสร้างปฐมภูมิในหินทรายสีน้ำตาลของหมวดหินโคกกรวดได้มากมายหลายแบบเหมาะที่จะใช้ศึกษาทางด้านตะกอนวิทยาเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กที่อยู่กันเป็นฝูง วิ่งเล่นอยู่ริมหนองน้ำได้เป็นอย่างดี
 
หลังจากที่พี่หมู และทีมงานจากภูกุ้มข้าว กาฬสินธุ์ ที่ได้รับข้อมูลเบื้องต้นจากพี่นเรศ ได้มาศึกษารายละเอียดและเสนอว่าควรพิจารณาให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ อธิบดีสมศักดิ์ได้มอบหมายให้พี่ธนิศร์และผมไปประชุมกับจังหวัดถึงแนวทางการจัดการพื้นที่ ในขณะนั้นข่าวการพบรอยตีนไดโนเสาร์ได้แพร่กระจายแล้ว วันที่เราเข้าพื้นที่พบชาวบ้านมาลักลอบขุดไปมากมาย เป็นธรรมดาที่ไม่ธรรมดาของสังคมไทย เหตุการณ์แบบนี้ ชาวบ้านต้องตีเป็นเลขเด็ด และไม่น่าเชื่อว่าหวยงวดนั้นจะออกมาตรงเป๊ะ 13 ผมยังได้รับอานิสงส์ด้วย 1 ใบ
 
ในการประชุมจังหวัดนครพนม เจ้าของที่ดินได้เข้าร่วมประชุมด้วยและแจ้งว่ายินดีที่จะมอบที่ดินที่พบรอยตีนไดโนเสาร์ให้จังหวัดเพื่อทำประโยชน์ต่อไป ผู้ว่าราชการจังหวัดนัดลงพื้นที่ ระหว่าง 8-9 โมงเช้า ของวันรุ่งขึ้น ด้วยความไร้ประสบการณ์การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ผมไปถึงบ่อหินตอน 8.20 น.เจอเจ้าหน้าที่จังหวัดอยู่คนเดียว ถามเขาว่า ผู้ว่าฯยังไม่มาหรือ เขามองหน้าผมอย่างกับจะกินเลือดกินเนื้อ" มาแล้ว ไปแล้ว ทำไมถึงเพิ่งมา ผู้ว่ารอตั้ง 15 นาที" อ้าว ก็นัด 8-9 โมง ไม่ใช่หรือ ท่านพูดแบบนี้ เราต้องมารอก่อน 7 โมงเช้า..โอ...โชคดี..ที่อยู่กรมทรัพย์
 
ภายหลัง ที่ดินจังหวัดได้ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ พบว่าเป็นที่ดินที่ยังมีคดีความติดอยู่ ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ ต้องใช้เวลาแก้ปัญอีก 2-3 ปี กรมทรัพย์จึงสามารถเข้ามาจัดการพื้นที่เต็มตัว และพัฒนาจนเป็นแห่งเรียนรู้ที่นักเรียนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากต้องการเข้าเยี่ยมชม
 
เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์
14 กันยายน 2564
.

ที่มา

https://www.facebook.com/เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์

รวบรวมข้อมูลและภาพ

www.iok2u.com

-------------------------------------------------

Lertsin บทความ เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ (Lertsin Raksaskulwong) รวมข้อมูล

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward