ทำไมซากกระดูกไดโนเสาร์ในบริเวณผาเปลวเพลิงจึงมีความสมบูรณ์สูง ทะเลทรายโกบีตอนใต้ มองโกเลีย
หินของหมวดหิน Djadokhta นั้น พบซากกระดูกไดโนเสาร์มากมายและมีความสมบูรณ์สูง รวมถึงซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ อีกทั้งไข่ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และที่พบมากที่สุดก็คือกระดูกของ เจ้าหน้าเขาต้นแบบของนายแอนดรูว์ (Protoceratops andrewsi) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลักษณะที่สมบูรณ์ สามารถเก็บรักษาสภาพให้เห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระโหลก และกระดูกแขนขา กระดูกหลายส่วนมิได้ถูกน้ำยาแร่เข้าแทรกซึมจนกลายเป็นหิน บางกระดูกมีการแตกหัก แล้วมีเม็ดทรายเข้าไปอุดอยู่ภายใน Morris, 1923 หนึ่งในทีมงานสำรวจไดโนเสาร์ของของรอย แชปแมน แอนดรูว์ จากพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติแห่งอเมริกา ให้ข้อสังเกตว่า “ซากกระดูกเกือบทั้งหมดพบอยู่ในท่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ท่ากบ” คือนั่งหมอบ มีขาวางอยู่ใต้ลำตัว” “กระดูกที่พบมักไม่แสดงว่าถูกบีบอัดด้วยดินหรือทรายที่ทับถมอยู่เบื้องบน” ลักษณะเช่นนี้บ่งบอกถึงการสะสมตัวบนบก การพบซากในท่าคุกเข่า กระดูกซีโครงอาจยุบแบน แตกหักบ้าง แต่มิได้หักขาดออกจากกัน ตีความได้ว่าสัตว์เหล่านี้ตายลงแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ถูกทรายทับถมทันที รวดเร็วจนกล้ามเนื้อยังคงยึดกระดูกทุกชิ้นไว้เหมือนตอนมีชีวิตอยู่
กล่าวโดยสรุป อาจารย์ลักษณ์ขอฟันธงว่า ไดโนเสาร์เหล่านี้ ตายเพราะถูกพายุทรายกลบทับครับ ไม่เชื่อก็ถามพี่ศิราณีได้ ครับผม
ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak
รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com
-------------------------------------------------
รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)-------------------------------------------------