iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

ผาเปลวเพลิง (Flaming Cliffs) ทะเลทรายโกบีตอนใต้ มองโกเลีย

พื้นที่ที่มีการค้นพบซากกระดูกไดโนเสาร์ในปี 1923-1928 ในทะเลทรายโกบี มองโกเลีย ของคณะสำรวจค้นหาและศึกษาประวัติสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลทรายโกบี มองโกเลีย ที่นำทีมโดย รอย แช็ปแมน แอนดรูว์ จากพิพิธภัณฑ์ประวัติความเป็นมาของธรรมชาติแห่งอเมริกานั้น จะรวมถึงพื้นที่ที่เรียกว่า “ผาเปลวเพลิง” (Flaming Cliffs) ซึ่งแอนดรูว์เป็นคนตั้งชื่อนี้ขึ้นมา เพราะเขาเคยมองดูหน้าผานี้จากระยะไกล และเห็นภาพเสมือนมีประกายพวยพุ่งออกมาดุจดังแสงของอาทิตย์อัศดง หุบผาแห่งนี้มีชื่อที่เรียกขานโดยคนท้องถิ่นว่า “Bayn Dzak” ซึ่งแปลว่า “เต็มไปด้วยต้นแซค” (ไม้พุ่มมีหนาม สูงประมาณ 2 เมตร และอาหารโปรดของอูฐ)

ชั้นหินตะกอนที่พบที่ผาเปลวเพลิงนั้น ถูกกำหนดให้อยู่ใน Bayn Dzak member ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววางตัวอยู่ข้างล่างของ Turgrugyin member ทั้งสองหมู่หินนี้ อยู่ในหมวดหิน Djadokhta Formation ดังนี้

A) หมู่หิน Bayn Dzak แบ่งออกได้เป็น 9 หน่วย จากแก่ไปอ่อนสุด ดังนี้

1. หินทรายที่ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่โด่งดังจะพบอยู่ในหน่วยหินนี้

2. ชั้นที่พบซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากมาย

3. ชั้นหินที่พบเป็นหน้าผา

4. ชั้นหินกรวดมนอยู่ช่วงล่าง

5. ชั้นที่มีการอัดแน่นไม่มากนัก

6. ชั้นที่มีสารปูนพอกมาก

7. ชั้นหินทรายไม่แสดงชั้นสลับกับชั้นสารปูนพอก

8. ชั้นทรายสลับกับสารปูนพอก

9. หินอายุอ่อน(<2.7 ล้านปี)

หินทั้งหมดมีความหนารวมกัน ประมาณ 37 เมตร

หมู่หิน Tugrugyin (ไม่พบที่ผาเปลวเพลิง) ประกอบด้วยหินชมพูอ่อน กับหินทรายที่มีขั้นหินเฉียงระดับที่มีมุมเอียงเทสูง แสดงว่าเกิดสะสมตัวจากเนินทรายในทะเลทราย

โดยสรุปแล้ว สภาพแวดล้อมของการสะสมตัวของหินตะกอนที่พบที่ผาเปลวเพลิงนี้ บ้างก็เคย เป็นเนินทรายในทะเลทราย บ้างก็เกิดจากแม่น้ำ บ้างก็เกิดในที่ลุ่มระหว่างเนินทราย ส่วนอายุของหมวดหินนี้ ที่ได้จากการวัดค่าสนามแม่เหล็กโลกโบราณ ก็คือ 71-75 ล้านปีก่อน

ปลายเดือนกรกฎาคม 2562 นี้ นักธรณีวิทยา และนักบรรพชีวินวิทยาไทยร่วม 20 ชีวิต จะได้โอกาสไปแวะชมผาเปลวเพลิง หวังว่านักล่าไดโนเสาร์ทุกท่านจะได้ข้อมูล ข้อสังเกต ข้อคิดเห็น และประสบการณ์จากแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ที่ติดระดับโลกที่นี่ แล้วนำเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่ติดตาตรึงใจ มาประมวลใช้ประกอบในงานสำรวจค้นหาซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย อันจะส่งผลให้มีการค้นพบหลักฐานที่มีคุณค่า มีความสำคัญระดับภูมิภาคหรือระดับโลก เพื่อยกระดับงานบรรพชีวินวิทยาของไทยเราให้ก้าวหน้าสืบไป เพี้ยงงงงง

.

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward