ผาเปลวเพลิง ทะเลทรายโกบีตอนใต้ มองโกเลีย
ผาเปลวเพลิง ทะเลทรายโกบี มองโกเลีย ป๊ะล่ะ ป๊ะล่าาาาาา
การประชุมนานาชาติว่าด้วยไดโนเสาร์แห่งเอเซีย ครั้งที่ 4 จะมีขึ้นที่กรุง Ulaanbaatar มองโกเลีย โดยผู้จัดได้แก่ Institute of Paleontology and Geology , Mongolia Academy of Science และ Asia Dinosaurs Association ระหว่างวันที่ 24-25 กรกฎาคม 3562 นี้ ต่อจากนั้นจะมีทัศนศึกษาที่ผาเปลวเพลิง สถานที่ที่มีการค้นพบไข่ไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของโลก โดยคณะของ Roy Chapman Andrews นักสำรวจผู้ที่ใครต่อใครเชื่อว่านี่คือต้นตำนานของอินเดียน่า โจนส์
มินับรวมถึงการจัดนิทรรศการอันมิอาจพลาดชื่อ “ไดโนเสาร์ที่น่าหลงไหลที่สุดของมองโกเลีย” ระหว่างวันที่ 23-30 เดือนเดียวกัน ที่ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
หลังจากที่เคยแสดงข้อมูลสำหรับวันที่สอง (ผาเปลวเพลิง)ไปแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมทริปจากประเทศไทย ข้าพเจ้าใคร่ขอโพสต์ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับใช้ประกอบในการเยี่ยมชมในวันแรก ซึ่งก็คือ ผาเจดีย์ขาว อันซึ่งที่จริงแล้วเป็นชั้นหินตะกอนที่ถูกกัดเซาะผุพังทำลาย ทำให้หลงเหลือเป็นหน้าผา ดูคล้ายกับเป็นกำแพงเมืองโบราณ ซึ่งนอกจากทิวทัศน์ที่สวยงามแล้ว ก็ยังมีอีกสองจุดขาย คือ ถ้ำ และภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ยุคสัมฤทธิ์ (ไม่ใช่รองสัมฤทธิ์นะ) แถมด้วยลำดับชั้นหินของอีกสองแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ ที่คณะจะไปเยือนในวันที่สาม ที่อยู่ถัดไปทางตะวันตกของจุดแรกสักยี่สิบกิโลเมตร
ก็แกล้งชวนมิตรรักนักค้นหาไดโนเสาร์ แลออเจ้าทั้งหลายไปอย่างนั้นแหละ เพราะต้องเดินทางกันวันนี้วันพรุ่งแล้ว ปุ๊บปั๊บมาชวน ใครจะไปได้ทัน จริงไหมจ๊ะ แม่หญิงการะเกด
.
-------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/nares.sattayarak
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------
บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย
-------------------------