iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
Nares ไทย เลย วัดรอยตีนวอร์ดและบุนนาค (Follow the Foot Track of Ward and Bunnag, 1964; 1st Chapter) 1 ปฐมบท
 
 
ในรายงานว่าด้วยกลุ่มหินโคราช ของ Ward and Bunnag, 1964 นั้น ได้กล่าวถึงลำดับชั้นหินตามเส้นทางผานกเค้า-หลังแป ภูกระดึงด้วย โดยระบุว่าชั้นหินที่พบตามเส้นทางนี้มีทั้งหมด 6 หมวดหิน เรียงลำดับจากแก่ขึ้นมาอ่อนดังนี้ น้ำพอง ภูกระดึง พระวิหาร เสาขัว ภูพาน และโคกกรวด รวมความหนาทั้งหมด 3,460 เมตร ดังที่ปรากฏในภาพที่ 1
กลางเดือนธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและคณะพวกผู้อยู่เฉยๆ ไม่เป็นสุข ได้เดินขึ้นและลง น่าจะประมาณร้อยละ 60 ของเส้นสำรวจของผู้เฒ่าทั้งสอง และได้เห็นอะไรบ้าง ไม่เห็นอะไรบ้าง พอที่จะเล่าสู่กันฟังได้นิจนุง จังสี้แหล้ว
1. ลำดับชั้นหินของหมวดหินน้ำพองที่นี่ถือว่าเป็น ลำดับชั้นหินต้นแบบ (type section) ทว่า เป็นลำดับชั้นที่ไม่สมบูรณ์ตามที่ควร เพราะว่าด้านล่างสุดของลำดับชั้น กลับพบสัมผัสกับหินปูนที่สะสมตัวในทะเลตื้นของยุคเพอร์เมียนแบบมีรอยเลื่อน (fault contact) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาร่วมกับลำดับชั้นหินตามเส้นทางอื่น และจากหลุมเจาะสำรวจปิโตรเลียมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว หมวดหินนี้สามารถแบ่งย่อยออกได้ 2 หน่วย ดังนี้ หน่วยล่าง มีสภาพแวดล้อมการสะสมตะกอนแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณ บางแห่งเป็นตะกอนไหล่เขา บางแห่งเป็นตะกอนแม่น้ำ บางแห่งเป็นตะกอนแม่น้ำกับบึงปนกัน แต่หน่วยบนนั้นจะมีลักษณะของหินตะกอนที่คล้ายคลึงกันทั่วทั้งอีสานบ้านเฮา นั้นคือเป็นอนุกรมการตกตะกอนโดยแม่น้ำ แบบเม็ดขนาดหยาบขึ้นไปหาละเอียดข้างบน (fining upward sequence) โดยจะเริ่มจากชั้นของหินกรวดมน สลับกับหินทรายเม็ดหยาบ แล้วค่อยๆ กลายเป็น หินทรายสลับกับหินทรายแป้ง และหินโคลน บนสุดเป็นหินโคลนสีน้ำตาลแกมแดงเกือบทั้งหมด ความหนาของทั้งหมวดหินในเส้นทางนี้คือ 1,465 เมตร แต่ความหนาจะลีบบางออกไปทางเหนือและใต้ และหายไปในด้านเหนือและใต้สุด(หนองคาย-บึงกาฬ และนครราชสีมา-บุรีรัมย์) โดยกลุ่มหินโคราชที่ขอบแอ่งจะเริ่มต้นด้วยหมวดหินภูกระดึง นั่นคือ ไม่เคยมีหมวดหินน้ำพองตกสะสมตัวมาก่อน น่าเสียดายที่คณะของข้าพเจ้าไม่ได้และไม่มีโอกาสตรวจสอบหมวดหินน้ำพองนี้ในเส้นทางเส้นนี้เลย ข้าพเจ้าก็เลยแปะรูปถ่ายของหมวดหินน้ำพองหน่วยบนตามถนนสายหล่มสัก-ชุมแพให้มิตรรักนักอ่านเฟสบุ๊คได้ ดูตามภาพที่ 2
แถมอีกนิดหนึ่งก็แล้วกันนะครับ พี่น้อง เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีนักธรณีฯ ทั้งต่างชาติและไทยได้สร้างความปั่นป่วนให้แก่วงการธรณีวิทยาไทย โดยเสนอให้ตัดหน่วยล่างของหมวดหินน้ำพอง ออกจากกลุ่มหินโคราช อ้างว่า หน่วยบนของหมวดหินน้ำพองนั้นวางตัวแบบไม่ต่อเนื่องบนหน่วยล่าง แต่ขนานกับหมวดหินอื่นๆ ที่วางตัวอยูข้างบน ว่าซั้น (น่าฉงฉานหมวดหินน้ำพองหน่วยล่างจุงเบย)
2. หมวดหินภูกระดึงของเส้นสำรวจนี้ ถือว่าเป็นลำดับชั้นหินต้นแบบด้วยเช่นกัน ในขั้นรายละเอียดเมื่อพิจารณาทั้งอีสานแล้ว กล่าวได้ว่าการสะสมตัวของตะกอนของหมวดหินภูกระดึงและพระวิหารนั้น เป็นอนุกรมการตกตะกอนแบบเม็ดละเอียดขึ้นไปหาหยาบด้านบน (corsenning upward sequence) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หน่วย ดังนี้ หน่วยล่าง ประกอบด้วยหินโคลนสีน้ำตาลแกมแดงเกือบทั้งหมด หน่วยกลาง จะเริ่มมีหินทรายเข้ามาสลับอยู่มากขึ้น สำหรับหน่วยบนนั้น ชั้นหินทรายจะมีความหนามากขึ้น และสีค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเทา และขาว จากนั้นก็กลายเป็นชั้นหินทรายชั้นหนาของหมวดหินพระวิหาร ทำให้การระบุเส้นแบ่งระหว่างหมวดหินทั้งสองจะขึ้นกับการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล ความหนาของหมวดหินภูกระดึงก็จะคล้ายคลึงกับของหมวดหินน้ำพอง นั่นคือ มีความหนามากกว่าในบริเวณใจกลางของแอ่งสะสมตะกอน คือหนามากกว่า 1,000 เมตร (ในเส้นสำรวจนี้มีความหนา 1,001 เมตร) แล้วจะบางลงในด้านเหนือและใต้ เหลือเพียงไม่กี่ร้อยเมตร
จากลำดับชั้นหินของหมวดหินภูกระดึงและหมวดหินพระวิหาร สามารถเล่าเรื่องความเป็นมาของอีสานในยุคไดโนเสาร์ครองโลกได้ว่า แรกเริ่มเดิมทีทั่วทั้งบริเวณจะค่อนข้างสงบ มีแม่น้ำโค้งตวัดไหลเอื่อยมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเขาสูงที่อยู่รอบด้าน ตะกอนส่วนใหญ่เกิดจากน้ำท่วม ต่อมาขอบของแอ่งสะสมตะกอนค่อยๆ ยกตัวขึ้น แม่น้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น และมากสายขึ้น จากนั้น สภาพอากาศจะมีความชุ่มชื้นมากขึ้น ตะกอนเริ่มมีสีขาว แม่น้ำโค้งตวัดหลายสายกลายเป็นแม่น้ำประสานสาย (meandering to braided rivers)
หน่วยล่างของหมวดหินภูกระดึงตามเส้นทางนี้นั้น จะอยู่บริเวณที่ราบลุ่มใกล้กับลำน้ำพอง และลำพองโก และจะว่าไปแล้วหน่วยล่างของหมวดหินภูกระดึงทั่วอีสานนั้น มักจะไม่ปรากฎหรือโผล่มาให้เห็น โดยทั่วไปจะถูกปิดทับด้วยดินและตะกอนปัจจุบัน ส่วนชั้นหินแรกๆที่พบหลังจากเราเดินผ่านด่านศรีฐานนั้น จะเป็นหน่วยกลางของหมวดหินแล้ว ที่น่าแปลกใจก็คือ ทำไมหน่วยกลางของหมวดหินภูกระดึงจึงปรากฎให้เห็นได้ดีกว่าหน่วยบน ทั้งๆ ที่ในเส้นสำรวจอื่นๆ เราจะสามารถพบเจอหน่วยบนของหมวดหินภูกระดึงได้ง่ายและชัดเจนกว่า ยิ่งไปกว่านั้นคือ ชั้นหินของหมวดหินพระวิหารที่สมควรจะพบในสภาพหน้าผาเหมือนกับหมวดหินภูพานก่อนถึงหลังแป กลับไม่โผล่มาอวดโฉมเลย
คำตอบที่นึกออกก็คือ เส้นทางเดินขึ้นภูกระดึงสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปนั้น ย่อมจะเป็นเส้นทางที่สะดวกสบาย เดินขึ้นลงได้ง่ายที่สุด เส้นทางปีนเขาจึงหลีกเลี่ยงหน้าผาชันให้มากที่สุด ซึ่งเส้นทางที่ว่าก็คือเส้นทางที่มีก้อนหินจากข้างบนถล่มลงมากองทับซ้อนกัน ทำให้มีความชันไม่มากนัก แต่จะปิดบังชั้นหินที่แท้จริงไว้ข้างล่าง ผิดกับเส้นทางการสำรวจของนักธรณีวิทยา ที่จะต้องเดินหักฉากออกซ้ายหรือขวา เพื่อให้พบเห็นชั้นหินที่ชัดเจนได้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ ยิ่งไปกว่านั้น สภาวะแสดล้อมของการตกสะสมตัวของหมวดหินภูกระดึงหน่วยบนที่นี่ จะแตกต่างจากบริเวณอื่นๆ ของอีสาน เพราะไม่มีการกล่าวถึงหินทรายสีขาวในรายงานปี 1964 เลย
และนี่คงจะเป็นเหตุผลที่จะช่วยตอบว่า ทำไมนักสำรวจชั้นหินสมัครเล่นเช่นเราๆ ท่านๆ จึงไม่พบเจอลำดับชั้นหินของหมวดหินภูกระดึงหน่วยบน และของหมวดหินพระวิหารตามหรือเหมือนกับที่ปู่วอร์ดกับปู่ดิ้น บุนนาค รายงานไว้
เรื่องมันยาวจนต้องรออ่านต่อตอนหน้าครับ ท่านสารวัตร
 

.

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward