iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
วัดรอยตีนวอร์ดกับบุนนาค (Follow the Foot Track of Ward and Bunnag, 1964; 2nd Chapter) 2 ทุติยบท
 
หลังจากวัดรอยตีนฯ ฉบับปฐมบทได้กล่าวถึงสองหมวดหินล่างสุดของกลุ่มหินโคราชไปแล้ว วันนี้ขอกล่าวถึงอีกสองหมวดหิน ตามภาพที่ 1 เริ่มจากหมวดหินเจ้าของ “ซำแฮก” จุดพักที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในการปีนเขาภูกระดึง
3. หมวดหินพระวิหาร หมวดหินนี้ไม่มีลำดับชั้นหินต้นแบบ แต่มีตำแหน่งของพื้นที่แรกที่มีการกล่าวถึง (type locality) คือที่หน้าผาของปราสาทเขาพระวิหาร ที่เคยเป็นของไทยอยู่สองสามแปล๊บ หมวดหินนี้ตามเส้นทางนี้ สร้างปัญหาให้แก่นักธรณีวิทยาทุกคนที่โฉบเข้ามาตวจสอบรายงานการศึกษาฉบับนั้น เพราะว่า หินโผล่ตามทางเดินก่อนถึงซำแฮกนั้น ไม่มีชั้นหินไหนที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับที่กล่าวไว้ในรายงาน ซึ่งระบุว่าหมวดหินพระวิหารประกอบด้วยหินทรายสีส้ม เทาแกมส้ม เทาอมชมพู ชั้นหนา มีชั้นเฉียงระดับมากมาย มีความหนารวม 56 เมตร และหินทรายทั้งหมดมีความคงทนต่อการผุกร่อนสูง จนมีบันทึกในในรายงานว่า มีหินโผล่ 100 เปอร์เซ็นต์ อาจารย์ลักษณ์จึงฟันธงได้ว่า เส้นทางที่วอร์ดและบุนนาคใช้ในการวัดชั้นหิน จะไม่ใช่ตามเส้นทางของนักท่องเที่ยวแน่นอน แต่จะแฉลบออกไปด้านตะวันตกของเส้นทางเดิน โดยสำรวจเลาะหน้าผาขึ้นมาต่างหาก
ว่าอันที่จริงแล้ว ทางด้านตะวันตกของซำแฮก ห่างออกไปจากทางเดินเล็กน้อย จะเป็นเนินหินทรายที่วางตัวเป็นชั้นหินบนสุดของหน้าผาซำแฮก ข้าพเจ้าเชื่อว่า หินทรายที่นี่คือชั้นหินบนสุดของหมวดหินพระวิหารนั่นเอง (ภาพที่ 2) นอกจากนี้ มีข้อเท็จจริงที่ชวนฉงนหนึ่งประการก็คือ ในระยะทางประมาณ 1-300 เมตร ตามทางเดินจากร้านอาหารที่ซำแฮก กลับพบหินทรายชั้นหนาสีอ่อน มีชั้นเฉียงระดับมากมาย (โดยรวมแล้วคล้ายคลึงกับหินทรายของหมวดหินพระวิหาร) วางตัวในลักษณะที่ชี้ให้เห็นว่า ทับอยู่บนตะกอนสีน้ำตาลแกมแดง ชั้นบาง ที่ไม่ควรจัดให้เป็นหมวดหินพระวิหาร แต่ทว่า แผนที่และแผนผังต่างๆ ที่ติดอยู่ตามเส้นทางเดินขึ้นภูกระดึงกลับระบุว่า หินทั้งสองข้างทางเดินนับจากซำแฮกไปถึงซำบอนนั้นเป็นหมวดหินพระวิหาร นั่นน่าจะเป็นเพราะการนับเอาหินทรายสีขาวทุกก้อนที่พบตามทางเดิน เป็นหมวดหินพระวิหาร โดยอาจยึดถือตามภาพตัดขวางของปู่วอร์ดและปู่ดิ้น บุนนาค ที่ลากให้เห็นว่า ขอบเขตบนสุดของหมวดหินพระวิหาร อยู่สูงกว่าจุดพักซำแฮก แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้วเห็นว่าเส้นแบ่งหมวดหินในรายงานดังกล่าว เป็นการตัดภาพขวางในแนวรวม การถ่ายทอดจุดที่ถูกต้องจึงมีความผิดพลาด เพราะในแง่ของตรรกวิทยา และข้อเท็จจริงทางธรณีวิทยาแล้ว หน้าตัดของภูมิประเทศจากซำแฮกไปซำบอนนั้น มีลักษณะลาดเอียงเพียงเล็กน้อย สมควรที่จะถูกรองรับด้วยชั้นหินที่มีความคงทนต่อการกัดเซาะผุพังทำลายต่ำ อันได้แก่หมวดหินเสาขัวมากกว่า และหมวดหินพระวิหารที่มีความแข็งแกร่งกว่า สมควรที่จะพบปรากฎเป็นหน้าผาชัน ที่วางตัวอยู่ในด้านตะวันออก และตะวันตกของเส้นทางเดิน
ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขอเสนอให้กรมทรัพยากรธรณีดำเนินการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสำรวจวัดและบันทึกลำดับชั้นหินของหมวดหินพระวิหารตามเส้นทางด่านศรีฐาน-หลังแป ใหม่อีกครั้ง เพื่อประโยชน์ทั้งในด้านธรณีวิทยา และการท่องเที่ยวครับ
4. หมวดหินเสาขัว มีลำดับชั้นหินต้นแบบอยู่ที่ห้วยเสาขัว ที่ไหลขนานกับถนนสายอุดรธานี-หนองบัวลำภู หนึ่งในเส้นทางสำรวจวัดชั้นหินของกลุ่มหินโคราช ของ Ward and Bunnag,1964 แต่ในปัจจุบันนี้ปรากฎว่าห้วยดังกล่าวมีชื่อที่แท้จริงว่า “ห้วยเฒ่าโต้” ดังนั้นหากปู่วอร์ดเข้ามาทำงานช้ากว่านั้น หมวดหินนี้น่าจะได้ชื่อว่า หมวดหินเฒ่าโต้ เป็นแน่นอน
1) ในรายงานปี 1964 นั้น ได้ระบุว่าพบก้อนหินขนาด 5 เซนติเมตร ที่มีซากฟอสซิลของฟอแรมมินิเฟอราฝังอยู่ แต่มิได้ระบุในรายละเอียดว่าเป็นสัตว์อะไร อายุเท่าไหร่ จึงก่อให้เกิดคำถามว่า ซากดึกดำบรรพ์นั้นเป็นของจริงไหม อายุเท่าไหร่ หากอายุเพอร์เมียน ก็นับว่าแปลก เพราะว่าหินยุคเพอร์เมียนก้อนขนาดนั้น จะพบอยู่ในหินตะกอนเนื้อละเอียดของหมวดหินเสาขัวได้อย่างไร ยกเว้นว่าเป็นการแปลความหมายผิด หรือไม่ก็คือ หินก้อนนี้เป็นก้อนหินที่ไดโนเสาร์กลืนลงไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการลดอาหาร
2) Ward and Bunnag,1964 รายงานว่า หมวดหินเสาขัวตามเส้นทางนี้มีความหนารวม 720 เมตร แต่พบชั้นหินเพียงประมาณร้อยละ 65 ของความหนาทั้งหมด แต่ในการขึ้นภูกระดึงครั้งนี้ของข้าพเจ้า กลับพบหินโผล่ไม่เกินร้อยละ 30 เท่านั้น เพราะส่วนใหญ่สองข้างทางเดินจะถูกปิดทับด้วยก้อนหินขนาดใหญ่ที่ถล่มลงมาจากข้างบน (ภาพที่ 3) บดบังชั้นหินจริงไม่ให้ผู้ที่เดินผ่านแบบเร็วๆ สามารถสังเกตเห็นได้
3) รายงานการสำรวจศักยภาพแร่ยูเรเนียมในหินทรายของหมวดหินเสาขัว บริเวณเทือกเขาภูเวียง ขอนแก่น ของนักธรณีวิทยาจาก Free University เยอรมันนี ซึ่งมีหินโผล่ชัดเจนกว่าที่ภูกระดึง แบ่งหินเสาขัวออกเป็น 4 หน่วย เรียงลำดับจากอ่อนไปแก่ ดังนี้ A (หินทรายสีเทา เนื้อละเอียด สลับกับหินทรายแป้ง) B (หินทรายเนื้อปานกลางถึงหยาบ สลับหินโคลน) C (หินทรายแป้งสีแดงสลับหินทรายเนื้อละเอียด) และ D (หินทรายเนื้อขนาดปานกลาง) โดยพบแร่ยูเรเนียมที่เกิดสะสมตัวแบบทุติยภูมิคล้ายคลึงกับบริเวณที่ราบสูงโคโลราโด สหรัฐอเมริกาในหน่วยหิน B ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ลำดับชั้นหินที่เทียบได้กับหน่วย B คือที่บริเวณที่นักท่องเที่ยวเรียกกันว่า “เก้าเลี้ยว” (ภาพที่ 4) ซึ่งลักษณะเด่นคือหินทรายที่มีหน้าตาแบบ “เกลือและพริกไทย” (salt and pepper appearance) และมีเศษซากต้นไม้ปนอยู่ในเนื้อหินมากพอสมควร
หน่วยหิน A กับ B นั้น มีลักษณะเด่นที่สามารถแบ่งแยกได้ไม่ยาก แต่หน่วยหิน C กับ D ตามเส้นสำรวจนี้ ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าจะแบ่งออกได้ถูกต้องใกล้เคียง จึงจัดรวมไว้ด้วยกัน อนึ่ง จากประสบการณ์ที่เคยศึกษาลำดับชั้นหินของหมวดหินเสาขัว กล่าวได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ของหมวดหินเสาขัวเกือบทั้งหมดมักจะพบในหน่วย A บริเวณที่ต่ำกว่าแนวสัมผัสกับหมวดหินภูพานลงมาประมาณ 5-70 เมตร (ป.ล. ทราบว่าเมื่อไม่นานมานี้ ดร.ประดิษฐ์ นูเล และคณะ จากกรมทรัพยากรธรณีก็ได้พบไม้กลายเป็นหินหลายท่อน คาดว่าพบในหน่วย A ซึ่งก็ได้มอบให้แก่อุทยานฯไปแล้ว)
4) ในรายงานของ Ward and Bunnag, 1964 นั้น ระบุว่าในลำดับชั้นของหมวดหินเสาขัวนั้น พบหินกรวดมนชนิดหนึ่งหลายชั้น และเรียกหินกรวดมนชนิดนี้ว่า caliche-calcareous siltstone pebble conglomerate ซึ่งอันที่จริงแล้ว หินกรวดมนนี้เคยถูกเรียกมาก่อนหน้านี้แล้วโดยวอลเลซ ลี นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันผู้เข้ามาสำรวจถ่านหินและปิโตรเลียมในสยามให้แก่กรมรถไฟหลวง เมื่อปี 2464 ที่ให้ชื่อว่า หินกรวดมนลูกปราย (buckshot conglomerate) และต่อมาในปี คศ. 1979 Chonglakmani and Sattayarak เรียกว่า หินกรวดมนกระเปาะปูน (lime - nodule conglomerate)
ว่าอันที่จริงแล้วหินกรวดมนเหล่านี้ พบทั้งในหมวดหินภูกระดึง และเสาขัวด้วย หินชนิดนี้แสดงถึงการกำเนิดบนบกในภูมิอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง โดยจะเริ่มจากการเกิดก้อนกะเปาะปูน (caliche) ขึ้นตามผิวดิน จากนั้นจะถูกพัดพาไปด้วยน้ำหลาก ลงไปสะสมในแอ่ง หรือร่องน้ำ พร้อมกับดินเนื้อขนาดทรายแป้ง แล้วกลายเป็นหินกรวดมนกะเปาะปูนในที่สุด หินดังกล่าวนี้มักแสดงลักษณะรูปเลนส์ มีความหนาตรงกลางประมาณ 1 เมตร และมีความยาวไม่เกิน 20 เมตร คุณสมบัติพิเศษของหินนี้ก็คือ มักจะพบซากดึกดำบรรพ์ฝังอยู่ เช่น กระดูก เขี้ยว กระดองเต่า เกล็ดปลา ฯลฯ (กรามและฟันของ psittacosaurus sattayaraki ก็พบในหินชนิดนี้ แต่ว่าอยู่ในหมวดหินโคกกรวด ที่ชัยภูมิ พู่นนนน)
เนื่องจากสองข้างทางเดิน มีหินหล่นจากข้างบนปิดทับชั้นหินจริงมาก ข้าพเจ้ากับคณะจึงไม่ได้พบหินกรวดมนกระเปาะปูนเลย แต่ก็ได้พบก้อนคาลิชชีที่เกิดมาไม่นานนี้ กองอยู่ตามพื้นดินใกล้ๆกับซำบอน (ภาพที่ 5) จึงถ่ายรูปมาให้ผู้ที่ยังไม่เคยสังเกตเห็น ได้รู้จักและจำหน้าตาไว้
ก็ยังจบไม่ลง ต้องรออ่านต่ออีกตอน อีกครั้งนะครับ ท่านสารวัตร
.

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward