iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Nares ไทย น่าน อากู๋จุฮาบ่าเฮ้ย ต้นแม่น้ำน่าน
  
ที่เว-นิส บ้านเวร อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่าในแผนที่ของกูเกิ้ลนั้น มีเส้นสีน้ำเงินที่เขียนอักษรกำกับว่า “แม่น้ำน่าน” ซึ่งขาดด้วนอยู่ที่ตำแหน่งที่ระบุว่า “ต้นแม่น้ำน่าน” (ภาพที่ 1) เมื่อสอบถามถึงเส้นทาง อากู๋บอกว่า ใช้เวลาเดินทาง 15 นาที โดยรถยนต์ แต่ต้องเดินด้วยเท้าต่ออีก 200 เมตร แต่คนดูแลรีสอร์ตที่ข้าพเจ้าพักกลับบอกว่า “ไม่จริงหรอก ตำแหน่งที่แท้จริงอยู่ข้างถนน (หมายเลข 1081) โดยเดินเท้าจากที่ทำการ อบต. บ่อเกลือเหนือ เพียง 200 เมตร เท่านั้นเอง”
ข้าพเจ้าไม่เชื่อคำพูดของอีสาวด้วยเหตุผลสองประการ ดังนี้ 1) แผนที่ของกูเกิ้ลได้แสดงแนวลำน้ำน่าน และจุดกำเนิดไว้อย่างชัดเจน 2) ตำแหน่งที่อยู่ข้างอบต. นั้น ตั้งอยู่ในแตวที่เล็กกว่า น่าจะเป็นจุดที่มีน้ำผุด แต่โปรโมทเพื่อการท่องเที่ยว ไม่ใช่ต้นน้ำน่านจริง จึงตัดสินใจพาคณะนั่งรถตู้ไปตรวจสอบน้ำผุดที่ปรากฏในแผนที่ของกูเกิ้ล โดยแยกออกจาก #1081 ผ่านสะพานที่มีป้ายกำกับว่า “สะพานข้ามแม่น้ำน่านแห่งแรก” ไปตามทางของหมู่บ้าน หวังว่าจะไปให้ถึงจุดที่แนะนำโดยกูเกิ้ลว่า ”จุดต้องลงเดิน” แต่ทว่า สภาพของถนนไม่เป็นใจ รถตู้ของเราคลานไปได้เพียงเกินครึ่งทางเล็กน้อยของระยะทางที่อากู๋บอก จากนั้นเราต้องเดินเท้าอีกสิบนาที จนไปถึงจุดถอดใจ (ภาพที่ 2 รูปบน) ที่เรามองหินร่องรอยของดินถล่ม และที่มีแนวโน้มว่าจะถล่มอีกในไม่ช้า (ภาพที่ 2 รูปล่าง) และ ณ จุดนี้ เราจึงได้ทราบจากชาวบ้านว่า เส้นสีน้ำเงินที่อากู๋เขียนว่า “แม่น้ำน่าน” นั้น ชื่อที่ถูกต้องคือ “ห้วยลึก” ส่วนแม่น้ำน่านนั้น จะแยกออกจากห้วยลึกที่ประมาณ 200 เมตร ทางทิศใต้ของสะพาน
พวกเราจึงต้องย้อนกลับมาถนนสาย 1081 แล้วออกเดินจากข้างถนน ฝั่งตรงกันข้ามกับที่ทำการองค์การบริหารตำบลบ่อเกลือเหนือ ที่ป้ายที่ระบุว่า “ต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน 200 เมตร” (ภาพที่ 3 รูปซ้าย) คณะของข้าพเจ้าจึงเดินปีนเขาขึ้นไปตามทางเดิน จนไปสิ้นสุดที่ผาหิน ที่ซึ่งมีน้ำผุดออกมาไม่น้อยกว่า 3 จุด (ภาพที่ 3 รูปขวา) และถัดไปทางปลายน้ำไม่เกิน 10 เมตร ภายใต้ต้นไม้ใบหญ้าที่ปกคลุมจนมิด เราก็ได้ยินเสียงน้ำไหลอย่างชัดเจน ทำให้สามารถอธิบายลำดับขั้นตอนการเกิดของแม่น้ำเป็นชื่อเรียกตามชาวอีสานได้ 4 ขั้นตอนดังนี้ จาก “ซำ” เป็น “ริน” เป็น “ห้วย” แล้วก็เป็น “แม่น้ำ” ว่าซั่น
ดูเหมือนว่า แม่น้ำน่านจะเป็นแม่น้ำที่เดินหลงทิศ เพราะว่าจากจุดต้นกำเนิด แทนที่จะมุ่งหน้าลงใต้เพื่อไปสู่อ่าวไทย กล้บกัดเซาะภูผาหินขึ้นเหนือไปหาอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อย่างไรก็ตาม แทนที่จะไหลขึ้นเหนือต่อเพื่อไปลงน้ำโขง ก็เอะใจฉุกคิดว่า “เอ! นี่เราจะเข้าวลาวนะเนี่ย” ก็เลยไหลวกลงใต้ไปอำเภอทุ่งช้าง ต่อไปเชียงกลาง ท่าวังผา อำเภอเมือง แล้วต่อลงไปอุตรดิตถ์ เลยไปถึง พิจิตร และไปร่วมกับแม่น้ำปิงที่ปากน้ำโพ แล้วกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
จากแผนที่ของกูเกิ้ลจะเห็นว่า เทือกเขาที่เป็นที่ตั้งของที่ทำการอบต. บ่อเกลือเหนือนั้น จะเป็นสันปันน้ำระหว่างน้ำน่าน กับน้ำว้า (ภาพที่ 4 รูปซ้าย) ในแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูงโดยละเอียด (ภาพที่ 4 รูปขวา) จะยิ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏเป็นรูปตัว “V” ตามกติกาที่ว่า ด้านแหลมของตัว “V” จะชี้ไปทางต้นน้ำ
ความผิดพลาดของกูเกิ้ลนั้น สมควรที่จะได้รับการอภัย เพราะว่า หากเราลากเส้นแม่น้ำน่านจากปลายน้ำ ตั้งแต่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มาถึงจุดที่มีระยะทางจากสะพานข้ามแม่น้ำน่านแห่งแรก ประมาณ 200 เมตร แม่น้ำจะแตกออกเป็น 2 แคว สายที่แยกไปทางทิศตะวันออกนั้น มีขนาดใหญ่กว่า กูเกิ้ลจึงระบุว่า นี่คือสายน้ำที่เป็นต้นน้ำของแม่น้ำน่าน ในขณะที่แควที่วิ่งตรงไปทางทิศใต้ซึ่งเล็กกว่าอีกสายหนึ่งมากนั้น ทั้งชาวบ้าน และทางการกลับเรียกว่า “แม่น้ำน่าน”
ข้าพเจ้าจึงขอฟันธงว่า กูเกิ้ลไม่ได้ตั้งใจหลอกใคร แต่ตัดสินใจเรียกชื่อแม่น้ำที่น่าจะถูกต้องตามกติกาการตั้งชื่อแม่น้ำ เสียอย่างเดียวที่ว่า ไม่ได้มาตรวจสอบความเป็นจริงในสถานที่จริงเท่านั้นเอง ถือว่าเป็นบาปบริสุทธิ์นะครับ ท่านสารวัตร
.

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ภาพที่ 1 แผนที่จากกูเกิ้ลแสดงถึงแนวเส้นทางการไหลและจุดกำเนิดของแม่น้ำน่าน

ภาพที่ 2 ภาพของชาวคณะที่ต้องเดินไปตรวจสอบต้นกำเนิดแม่น้ำน่านตามที่กูเกิ้ลระบุ (รูปบน) และภาพดินถล่ม ณ จุดที่ใกล้ที่สุดกับตำแหน่งที่กูเกิ้ลอ้างว่าเป็นจุดกำเนิดแม่น้ำน่าน และเป็นจุดที่ชาวคณะถอดใจจนต้องเดินกลับ

ภาพที่ 3 ป้ายชี้ทางเดินไปต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน (รูปซ้าย) และภาพถ่ายจุดที่มีน้ำผุดออกมาจากผาหิน (รูปขวา)

ภาพที่ 4 แผนที่แสดงสันปันน้ำที่แบ่งระหว่างลุ่มน้ำน่านกับลุ่มน้ำว้า โปรดสังเกตเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏเป็นรูปตัว “V” ตามกติกาที่ว่า ด้านแหลมของตัว “V” จะชี้ไปทางต้นน้ำ

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward