iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

เมืองไทยของเราจะมีโอกาสเจอซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ เหมือนที่ผาเปลวเพลิงไหมหนอ ทะเลทรายโกบีตอนใต้ มองโกเลีย

 

สองวันที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปแวะชม ผาเปลวเพลิง (Flaming Cliffs) และสถานที่ใกล้เคียงในเขตทะเลทรายโกบีตอนใต้ ที่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เพราะการค้นพบไข่และรังไข่ไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของโลก ที่ที่ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์มาก ทั้งในสภาพที่กำลังกกไข่ หรือนั่งหมอบพักผ่อน หรือแม้แต่กำลังต่อสู้กันอยู่ แม้ว่าช่วงเวลาการแวะชมจะสั้นมาก รายละเอียดที่ได้จึงฉาบฉวยไม่ละเอียดครบถ้วน เทียบได้กับสำนวนที่ว่า “ขี่ม้าชมดอกไม้” กระนั้นก็ตาม จากข้อมูล และข้อคิดเห็นของนักสำรวจรุ่นก่อนหน้าทั้งที่เป็นชาวต่างชาติหรือมองโกเลีย ประกอบกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงในสนามด้วยตนเอง สามารถบอกได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ที่สมบูรณ์เหล่านั้น เกิดเนื่องจากการถูกกลบทับด้วยทรายโดยฉับพลัน (ต่างกับซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย ที่ส่วนใหญ่มักพบเป็นเศษซากกระดูกที่กระจัดกระจาย เพราะถูกพวกกินเนื้อทั้งพวกที่ไล่ล่า หรือพวกกินซากกัดกิน หรือไม่ซากก็เน่าเปื่อยและพลัดแยกออกจากกันเพราะกระแสน้ำ) พิจารณาแล้วเชื่อได้ว่า ไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในบริเวณที่ที่ปัจจุบันเป็นทะเลทรายโกบีนั้น อาศัยอยู่ตามเชิงของเนินทรายต่อกับโอเอซิส ของทะเลทรายโบราณ อายุของชั้นหินพวกนี้ ที่ได้จากการศึกษาสนามแม่เหล็กโลกโบราณ คือประมาณ 85-71 ล้านปีก่อน (ยุคครีเตเชียสตอนปลาย) ชั้นหินทั้งหมดนี้ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหิน Djadokta Formation นักธรณีวิทยามองโกเลียระบุว่าหมวดหินนี้ วางตัวแบบไม่ต่อเนื่องบนชั้นหินที่มีอายุในยุคครีเตเชียสตอนต้น ซึ่งมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ช่วงต้นของยุคมีสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่ชุ่มชื้นกว่าตอนปลายนี้ ตะกอนที่ตกสะสมตัวนั้นเกิดจากอิทธิพลของแม่น้ำ และบึงน้ำจืด นอกจากนี้ ยังพบชั้นถ่านหินแทรกสลับด้วย

หากเราจะเปรียบเทียบลำดับชั้นหินของมหายุคเมโสโซอิคที่พบในทะเลทรายโกบี กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยแล้ว จะพบว่ามีความคล้ายคลึงประการเดียวคือ ทั้งสองแห่งเป็นแอ่งสะสมตะกอนบนบกขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน ต่างกันที่ว่าในอีสานบ้านเฮานั้น ในช่วงครีเตเชียสตอนต้นนั้น มีตะกอนสะสมตัวในแม่น้ำและที่ราบลุ่มน้ำท่วม ในสภาพอากาศที่ร้อน และแห้งแล้ง จนเมื่อประมาณ 100-85 ล้านปีก่อนนั้นจะกลายเป็นทะเลน้ำเค็ม ที่มีการสะสมตัวของเกลือหิน โพแทช และดินลมหอบ ในลักษณะที่วางตัวไม่ต่อเนื่องอยู่ข้างบน หลังจากนั้นจึงกลายเป็นทะเลทรายภูทอกที่เต็มไปด้วยเนินทราย (Dune) ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณด้านเหนือ ที่ที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของจังหวัดบึงกาฬและนครพนม

สรุปก็คือ หมวดหิน Djadokta Formation ของมองโกเลียนั้น น่าจะมีอายุและการเกิดเทียบได้กับหมวดหินภูทอกของไทย แต่ขนาดความรุนแรงของลมที่ทำให้เกิดเนินทรายที่อีสานนั้น มีมากกว่าที่มองโกเลียมาก หลักฐานก็คือ ความหนาของชุด (set) ของชั้นเฉียงระดับในหมวดหินภูทอกนั้นหนากว่ามาก (20 : 10 เมตร) และชั้นหินที่พบในหมวดหินภูทอกนั้น ก็พบว่ามีทั้งที่เดิมเป็นเนินทราย และเดิมเป็นแอ่งน้ำหรือที่ต่ำข้างเนินทราย (dune and interdune areas) สภาพภูมิศาสตร์โบราณเช่นนี้ จึงมีโอกาสเปิดกว้างว่า เราอาจพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์และไข่ในหมวดหินภูทอกได้เช่นกัน สมมุติฐานนี้ มีข้อด้อยที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ เหล่าไดโนเสาร์ทั้งหลาย ที่เคยอาศัยอยู่ในแดนดินอีสานโบราณ ที่ได้ทิ้งร่องรอยให้เราพบเห็น ในหมวดหินตั้งแต่น้ำพอง จนถึงโคกกรวด (ซึ่งมีอายุอ่อนสุดขึ้นมาถึงประมาณ 100 ล้านปีนั้น) อาจตายไปจนหมดสิ้น หรืออพยพไปที่อื่น ในยุคที่อีสานกลายเป็นแอ่งเกลือมหาสารคาม โอกาสที่จะพบซากไดโนเสาร์ในหมวดหินภูทอก จึงมีได้น้อยมากหรือไม่มีเลย

อย่างไรก็ตาม จากความเป็นจริงที่ว่า ทะเลสาปน้ำเค็มมหาสารคามนั้น ก็ไม่น่าที่จะครอบคลุมไปทุกหนแห่ง จะต้องมีผืนดินที่มิได้เป็นแอ่งเกลือ แต่ว่าเป็นแผ่นดินที่ต่อเนื่องขึ้นมาตั้งแต่ครั้งที่ตะกอนของหมวดหินโคกกรวดเกิดสะสมตัว ไดโนเสาร์จึงน่าจะมีชีวิตอยู่ต่อเนื่องสืบมาได้ในบริเวณเช่นว่านี้ ซึ่งก็ได้แก่บริเวณขอบแอ่งมหาสารคาม และน่าเสียดายที่จะฟันธงว่าพื้นที่ที่ว่านั้น ปัจจุบันจะอยู่ในเขตประเทศลาวเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แขวงบอลิคำไซ ปะเทดลาว พู่นแหล่ว

ปล. ในภาพวาดภูมิประเทศในยุคครีเตเชียสตอนต้นของอีสานบ้านเฮานั้น ลายเส้นที่เห็นอยู่เบื้องสูงนั้น เข้าใจว่าจิตรกรจะต้องการจะเสนอความเห็นว่ามีภูเขาสูงอยู่ข้างหลัง (มิใช่เนินทรายเหมือนดังที่แสดงในภาพข้างบน) ข้าพเจ้าขอแสดงข้อคิดเห็นว่า ในยุคสมัยที่ไดโนเสาร์ครองแผ่นดินอีสานโบราณนั้น แผ่นดินแห่งนี้จะราบเรียบสุดลูกหูลูกตาครับ พี่น้อง ไม่มีภูเขาใดๆ ในรัศมีหลายร้อยกิโลเมตรครับ ท่านสารวัตร

.

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward