iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
เผยโฉมน้ำตกข่มขวัญเสือยามปลายหนาว
 
 
 
ภาพที่ 3 ตาดตะยึกเสือยามฤดูฝนเมื่อปี 2561 น้ำแรงมากจนมองไม่ออกว่า ที่ตีนน้ำตกเป็นหินอะไร
น้ำตกตะยึกเสือ ตั้งอยู่ประมาณ 40 กิโลเมตร ทางตะวันออกของเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก ลาว เกิดจากการกัดเซาะของลำธารสายหนึ่งที่เป็นแควของแม่น้ำเซน้ำน้อย ที่ปากทางเข้าน้ำตก มีป้ายเขียนเป็นภาษาลาวและอังกฤษ ทำนองว่า (นี่คือ) “สถานที่ท่องเที่ยว ที่ไปวันเดียวเที่ยวบ่อจบ ฮ้อมฮอบ(ล้อมรอบ)ด้วยเจ็ดน้ำตกในบริเวณเดียว ที่เกิดจากการบันจบของแม่น้ำสามสาย น้ำตกตาดตายิกเสือ แม่น(ใช่) สูนรวมน้ำตกและ ตาดน้อยใหญ่หลายที่สุด ที่ท่านจะบ่อสามาด มาวันเดียวแล้วเที่ยวชมเพียงพอได้” (ภาพที่ 1)
 
ภาพที่ 1 ภาพแผ่นประชาสัมพันธ์กลุ่มน้ำตกตะยึกเสือ ภูเพียงบ่อบะเวน แขวงจำปาสัก ลาว อ่านว่า “สถานที่ท่องเที่ยว ที่ไปวันเ
ดียวเที่ยวบ่อจบ ฮ้อมฮอบ(ล้อมรอบ)ด้วยเจ็ดน้ำตกในบริเวณเดียว ที่เกิดจากการบันจบของแม่น้ำสามสาย น้ำตกตาดตายิกเสือ แม่น(ใช่) สูนรวมน้ำตกและ ตาดน้อยใหญ่หลายที่สุด ที่ท่านจะบ่อสามาด มาวันเดียวแล้วเที่ยวชมเพียงพอได้”
 
เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ปีที่เขื่อนกั้นสันดอนลุ่มต่ำของโครงการเซเปียน-เซน้ำน้อย พังทลาย น้ำที่ถูกกักเก็บอยู่ จำนวนมหาศาล จึงไหลทะลักลงไปสู่แม่น้ำเซเปียน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สิน อย่างน่าเศร้าใจ คณะของข้าพเจ้าได้แวะมาเยี่ยมชม น้ำตกตะยึกเสือ ซึ่งปรากฎว่าน้ำตกมีน้ำที่โจนตัวตกลงมาอย่างแรง จนไม่เห็นว่า บริเวณตีนของน้ำตกจะมีหินอะไรวางตัวอยู่ที่ล่างสุด แต่ก็พอจะสังเกตเห็นได้ว่า หน้าผาของน้ำตกเป็นหินบะซอลต์ ที่เกิดจากลาวาถูกดันแทรกขึ้นมาจากภายในเปลือกโลก แล้วไหลท่วมภูเพียงบ่อละเวน ต่อมา เมื่อเกิดการกัดเซาะทำลายโดยลำธาร จึงเผยให้เห็นชั้นการไหลของลาวา และการแตกให้เห็นคล้ายกับเป็นแท่งเสาหิน อันเกิดจากการเย็นและหดตัวของลาวา ลักษณะของเสาหินที่น้ำตกแห่งนี้ แตกต่างจากเสาหินที่พบในเมืองไทย ที่เกือบทั้งหมดจะเห็นเป็นเสาตรง ตั้งฉากกับแนวราบของพื้นดิน แต่ที่นี่ เราสามารถเห็นสิ่งที่คล้ายกับเสาหิน ที่วางตัวเอียงเอนทำมุมกับพื้นราบ ลักษณะวางการตัวเช่นนี้ มีชื่อเรียกทางธรณีวิทยาว่า colonnade และ entablature ตามลำดับ (ภาพที่ 2) โดยที่กลุ่มแรกนั้นคือเกิดขณะที่ลาวาเย็นตัวใต้ผิวดิน ที่มีอุณหภูมิของหินหลอมเหลวสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน แต่กลุ่มที่สองนั้น เกิดตอนบนของธารลาวา ที่มีน้ำเข้ามาท่วมท้น โดยอาจจะเกิดจากฝนตก หรือมีธารน้ำไหลท่วมพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิของลาวามีความแตกต่าง ไม่คงที่ การหดตัวจึงแตกต่างกันไปในหลายทิศทาง ก่อให้เกิดเสาหินในลักษณะบิดเบี้ยวหรือไม่ตั้งตรง เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ข้าพเจ้าจำได้ว่า ที่บริเวณน้ำตกมีละอองน้ำ กระจายอยู่ทั่วทุกอณูในท้องฟ้า มองไม่เห็นช่วงล่างของน้ำตกเลย ว่าเป็นหินลาวาเหมือนข้างบน หรือเป็นหินโคราช (ภาพที่ 3) จำได้แต่ว่า กล้องพานาโซนิกราคาหลายหมื่นของข้าพเจ้า ต้องถูกส่งไปซ่อมที่ญี่ปุ่น หมดตังค์ไปสามพันบาท พู่นแหล้ว
ภาพที่ 2 ภาพจินตนาการแสดงความแตกต่างของเสาหินบะซอลต์ชนิด colonnade และ entablateau
 
 
 
วันนี้ วันที่ 15 มกราคม 2566 ปีนี้ ท้องฟ้าเปิด เราสามารถเดินเข้าไปได้ถึงตีนของน้ำตก ทำให้สามารถเห็นได้ชัดเจนว่า ชั้นหินที่อยู่ด้านล่างสุดของน้ำตกคือ หินทรายสีน้ำตาล ชั้นบางสลับหนา วางตัวในแนวเกือบราบเรียบ สลับกับขั้นหินโคลนชั้นบาง จากนั้นก็มีชั้นของลาวาบะซอลต์ปิดทับอยู่ประมาณ 6 ชั้น มีความหนารวมประมาณ 20 เมตร สาวยงามด้วยดอกไม้ป่าสีแดงที่ขึ้นแซมอยู่ประปราย (ภาพที่ 4) และข้าพเจ้าก็พอที่จะบรรยายถึงความเป็นมาในด้านธรณีวิทยาของน้ำตกตะยึกเสือได้ดังต่อไปนี้
 
 
ภาพที่ 4 ภาพถ่ายน้ำตกตะยึกเสือหลังอาหารเที่ยงของวันที่ 15 มกราคม 2566 ทำให้มองเห็นแนวผิดวิสัยระหว่างหินตะกอนที่สะสมตัวบนบกในมหายุคชีวิตกลางที่อยู่ด้านล่าง กับธารลาวาไหลได้อย่างชัดเจน
 
หลังจากการสะสมตัวของตะกอนแม่น้ำจนเกิดเป็นกลุ่มหินโคราชแล้ว แผ่นดินในบริเวณนี้ถูกยกตัวขึ้นเป็นที่ราบสูงบ่อละเวน จากนั้นมีการกัดเซาะโดยแม่น้ำโบราณ ชั้นบนสุดกลายเป็นชั้นหินที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมางชีวเคมี กลายเป็นดิน หนาประมาณ 1 เมตร แสดงหลักฐานของการไม่ต่อเนื่องของการสะสมตะกอน (unconformity) (ภาพที่ 5) ต่อมาเกิดลาวาไหลออกมาจากรอยแตกของเปลือกโลก เกิดธารลาวา ที่กลายเป็นหินบะซอลต์ชั้นล่างสุด (1) รอยต่อของหินบะซอลต์ชั้นที่ 1 กับ 2 มีลักษณะเป็นโพรง หรือช่องว่างให้เห็น แสดงว่าลาวาชุดที่ 2 นั้น เกิดขึ้นมาหลังชุดที่ 1 นานพอสมควร ในขณะที่ธารลาวาตั้งแต่ชุดที่ 3-5 นั้น เกิดขึ้นในเวลาที่ไล่เรี่ยกัน ในจำนวนนี้ ลาวาชุดที่ 3 จะมีอัตราการเย็นตัวที่เหมาะสม และคงที่ จนก่อให้เกิดเสาหินบะซอลต์ (columnar joints) ชนิดที่เรียกว่า colonnade คือมีลักษณะคล้ายเสาวางตัวชิดกันในแนวดิ่ง ส่วนลาวาชุดที่ 4 นั้น เย็นตัวลงในสภาาวะที่ไม่คงที่ ทำให้เกิดลักษณะของเสาหินที่บิดเบี้ยว ไม่ตั้งตรง เกิดเป็นเสาหินชนิดที่เรียกว่า entablateau
 
มันงามหลายแท้เด้อ อ้ายสารวัตร
 
 
 
 
ภาพที่ 5 แสดงลักษณะการวางตัวของชั้นหินที่น้ำตกตะยึกเสือ ภูเพียงบ่อละเวน ลาวใต้
 
.

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward