iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Nares เวียดนาม เที่ยวเดียนเบียนฟู ซาปา ประสานักธรณีฯ (4) รอยเลื่อนเดียนเบียนฟู

 

 ภาพที่ 1แผนที่จีนและเอเซียอาคเนย์ แสดงแผ่นทวีปย่อยต่างๆ รวมทั้งแนวการเชื่อม(มุด)ตัวกันของแต่ละแผ่น อาทิเช่น หมายเลข 17 และ 1 ซึ่งก็คือ แนวมุดตัวภูเขาอ้ายลาว และแม่น้ำม้า ตามลำดับ (Ailao Shan and Song Ma Suture respectively) ทั้งสองแนวนี้เกิดขึ้นจากการเชื่อมกันของแผ่นทวีปจีนใต้ กับอินโดจีน
 
นักธรณีวิทยาผู้ศึกษาด้านธรณีแปรสันฐาน (plate tectonic) ได้ระบุว่าแผ่นดินในพื้นที่ปัจจุบันของจีนและเอเซียอาคเนย์ประกอบด้วยแผ่นทวีปโบราณหลายแผ่น (ภาพที่ 1) อาทิเช่น อินโดจีน จีนใต้ จีนเหนือ รวมทั้งทาริม (Indochina, South China, North China, including Tarim) พวกนี้แยกตัวออกมาจากทวีปกอนด์วานา (Gondwana Land) ตั้งแต่ยุคดีโวเนียน เมื่อประมาณ 400 ล้านปีมาแล้ว ในขณะที่ภาคตะวันตกของไทยซึ่งอยู่ในแผ่นทวีปซีบูมาสุ แยกตัวออกมาจากกอนด์วานาเมื่อประมาณอีก 100 ล้านปีต่อมา เชื่อกันว่าการเชื่อมตัวของแผ่นทวีปจีนใต้กับอินโดจีนนั้น เกิดขึ้นในช่วงตอนกลางของยุคไทรแอสสิก (~230 ล้านปี) เกิดแนวมุดตัวภูเขาอ้ายลาว กับซองมา (Alison Shan and Song Ma Sutures) ซึ่งแสดงไว้โดยเส้นหมายเลข17 กับ 1 ตามลำดับ ว่ากันว่า แนวมุดตัวทั้งสองนี้เคยเป็นแนวเส้นตรงเดียวกัน แต่ปัจจุบันนี้แนวมุดตัวภูเขาอ้ายลาวจะบิดตัวขึ้นไปด้านเหนือหลายสิบกิโลเมตร ตามแนวของรอยเลื่อนเดียนเบียนฟู (Dian Bian Phu Fault)
รอยเลื่อนเดียนเบียนฟู (ภาพที่ 2) เป็นรอยเลื่อนเหลื่อมด้านขวา สังเกตเห็นได้ชัดเจนจากรูป C ในภาพที่ 2 หินและแนวมุดตัวแม่น้ำม้า (Song Ma Suture) ที่อยู่ทางด้านตะวันตกของรอยเลื่อนจะถูกเคลื่อนไปทางขวาเป็นระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร และรอยเลื่อนนี้มีความยาวมากกว่า 150 กิโลเมตร เริ่มจากยูนาน ผ่านเวียดนาม ไปลาว และต่อเนื่องลงมาทางใต้มาถึงไทย แล้วกลายเป็นกลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ หรืออีกรอยเลื่อนหนึ่งที่ถูกปกปิดไว้โดยแนวมุดตัวน่าน-อุตรดิตถ์ (Nan-Uttaradit Suture) (ภาพที่ 3) มีรายงานการศึกษาอายุด้วยธาตุอาร์กอน ได้ 194-212 ล้านปี น่าจะแปลความหมายได้ว่า รอยเลื่อนเดียนเบียนฟูเริ่มเกิดขึ้นในยุคจูแรสสิก เมื่อมีการเชื่อมตัวกันของแผ่นทวีปซีบูมาสุกับอินโดจีน (collision of Sibumasu and Indochina Plates) นักธรณีวิทยาเชื่อว่าเมื่อไม่กี่บ้านปีมานี้รอยเลื่อนเดียนเบียนฟูกลับกลายเป็นเหลื่อมด้านซ้ายแทน
มีบทความหลายฉบับกล่าวว่า การที่จะพบหินโผล่หรือหน้าตัดของทั้งสองข้างถนนที่ตัดไปตามแนวรอยเลื่อนเดียนเบียนฟูในปัจจุบันนี้มีโอกาสน้อยลงมาก เพราะมีการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขึ้นมาหลายแห่ง ข้าพเจ้าก็ได้แต่ภาวนาว่า ในวันเดินทางจริง เราน่าจะมีโชคดีได้พบเห็นหินหรือโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เด็ดๆ บ้าง
อย่างไรก็ตามเมื่อค้นหาจุดศึกษาด้านธรณีวิทยาตามแนวรอยเลื่อนนี้ก็พบว่า มีการแนะนำให้แวะไปที่ น้ำพุร้อนยายนอนเปล (Uva hot spring) (ภาพที่ 4) ซึ่งมีตำนานว่า นี่คือน้ำพุร้อนที่นางฟ้ามาอาบน้ำร้อน และนอนพักผ่อนในเปล ท่ามกลางธรรมชาติอันสวยงามและสงบเงียบ นอกจากนั้น เธอยังช่วยสอนชาวบ้านให้รู้จักการปลูกข้าว ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และอื่นๆอีกหลายประการ สถานที่แห่งนี้จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ที่เปรียบประดุจสวรรค์บนดิน มีรายงานว่าน้ำพุที่นี่มีอุณหภูมิถึง 130 องศาเซลเซียส สามารถสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าจากความร้อนใต้พิภพได้ เสียดายที่ตำแหน่งของน้ำพุร้อนนี้ไม่ชัดเจน ก็เลยต้องลุ้นในวันจริงอีกเช่นกัน ว่าจะได้ยลชมคุณยายนอนเปลหรือไม่
แล้วแต่ดวงละกันนะครับ ท่านสารวัตร
 
 ภาพที่ 2 แผนที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม แสดงตำแหน่งของรอยเลื่อนเดียนเบียนฟู ที่ตัดผ่านแนวมุดตัวแม่น้ำม้า (Song Ma Suture) จนขาดหายไป
 
 
ภาพที่ 3 แผนที่ธรณีวิทยาของภูมิภาคอินโดจีน แสดงให้เห็นว่ารอยเลื่อนเดียนเบียนฟูนั้น มีแนวต่อลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และน่าจะต่อเนื่องกับกลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ หรือแนวมุดตัว น่าน-อุตรดิตถ์ (รูปใหญ่) และแสดงการบิดตัวของแนวมุดตัวแม่น้ำม้า กับแนวมุดตัวภูเขาอ้ายลาว (Song Ma and Ailao Shan Suture) (รูปเล็ก)
 
 
 
ภาพที่ 4 แผนที่แสดงตำแหน่งและภาพของน้ำพุร้อนยุหว่า (UVA hot spring) ที่เกิดขึ้นมาตามแนวรอยเลื่อนเดียนเบียนฟู น้ำร้อนมีอุณหภูมิสูงถึงประมาณ 130 องศาเซลเซียส
 
 
 
 

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward