iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Nares เวียดนาม เที่ยวเดียนเบียนฟู ซาปา ประสานักธรณีฯ (10) ผ้าเปียวของสาวไทดำ

ภาพที่ 1 ภาพถ่ายสาวไตดำสวมผ้าเปียวโพกศีรษะ

 

 
ครั้งที่ข้าพเจ้ายังเป็นหนุ่มน้อยและมีโอกาศได้รู้จักเพื่อนนักธรณีวิทยาเวียดนาม ตกตอนเย็นหลังจากเลิกประชุม หรือฝึกอบรม เราก็จะสนทนากันเรื่อยเปื่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องผู้หญิง ข้าพเจ้าบอกเขาว่า “ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนางสาวไทยนั้น ส่วนใหญ่จะมาจากภาคเหนือ” เพื่อนเหงียนได้ยินแล้วก็ตบโต๊ะฉาดใหญ่ พลางพูดว่า “ เหมียนกันเลย องต้าโฮ้ว (ลุงเสือใหญ่) มิสเวียดนามก็เช่นกัน เป็นสาวภาคเหนือ มาจากเมืองเดียนเบียนฟู” “พวกนี้เขาเป็นคนไต”
และนั่นก็คืออีกครั้งที่ข้าพเจ้าได้ยินการกล่าวถึงเมืองๆ นี้ ถัดมาจากคำว่า “ยุทธการเดียนเบียนฟู”
จากนั้นเพื่อนชาวเวียดนามก็โชว์รูปถ่ายสาวไตดำ เพื่อยืนยันว่า พวกเธอนั้นสวยงามจริงๆ (ภาพที่ 1) ไตดำ ก็คือคนไต (คนไท) ที่นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำ และสัญญาลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของผู้หญิงไตดำคือ จะมีผ้าโพกหัวที่เรียกกันว่า “ผ้าเปียว” ซึ่งมีที่มาที่เล่าขานเป็นตำนานเป็นเวลาช้านานมาแล้ว และเกี่ยวพันกับคำเรียกในภาษาไตดำ 3 คำ ได้แก่ คำว่า “กูดเปียว” กูดเขา” และ “เขยเมีย” (ภาพที่ 2) ดังนี้
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สมัยที่คนไตดำแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ หัวหน้ากลุ่มทางเหนือ มีลูกชายชื่อว่า “ท้าวลมแล้ง” ส่วนหัวหน้ากลุ่มฝ่ายใต้มีลูกสาวชื่อว่า”นางแสนฮัก” (ภาพที่ 3) ทั้งสองคนรักกัน แต่พ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายต่างก็กีดกัน เมื่อท้าวลมแล้งเดินทางไปฝ่ายใต้และแสดงความจำนงขอแต่งงานกับนางแสนฮัก บิดาของนางจึงบ่ายเบี่ยงว่า เองต้องพิสูจน์ความรักของเองว่าจริงจังและมั่นคง โดยมานอนอยู่นอกบ้านข้า แล้วมาช่วยงานบ้านงานเรือน หาเนื้อมาเลี้ยงดูครอบครัวของข้าทุกวัน ท้าวลมแล้งก็ตกลงตามนั้น แต่ในสมัยนั้นการซื้อหาเนื้อสัตว์ไม่ใช่กระทำได้ทั่วไป ท้าวลมแล้งจึงต้องเลี้ยงหมู และวัวควายเพื่อนำมาเป็นอาหาร การที่ฝ่ายชายมาช่วยงานของฝ่ายหญิงก่อนแต่งงานนั้น เรียกกันว่า “เขยเมีย” หากว่าที่พ่อตายังไม่พอใจ ให้ทดลองทำงานต่อ จะเรียกว่า “เขยกวง” ท้าวลมแล้งนั้นโชคไม่ดี ต้องกลายเป็นเขยเมียและเขยกวง รวมแล้วถึง 12 ปี จึงได้แต่งงาน จากนั้นจึงนำนางแสนฮักไปอยู่ด้วยกันที่ฝ่ายเหนือ ก่อนออกเดินทาง ปู่ของนางก็มอบต้นกูดให้นางนำติดตัวไปด้วย และบอกนางว่า “เจ้าจะต้องปลูกต้นกูดไว้กินนะ นี่คือผักเลิศรสของบ้านเรา เจ้าต้องปลูกให้ครอบครัวของผัวเธอได้ลิ้มรส อย่าลืมนะว่าต้องกินดอกอ่อนของมันเท่านั้น หากแก่แล้วมันจะแข็ง กินไม่อร่อย” นางแสนฮักก็จดจำคำสั่งสอน และพยายามปลูกต้นกูด แต่เนื่องจากนางไม่เคยทำการเพาะปลูกมาก่อน จึงไม่สามารถมีดอกกูดให้ครอบครัวของผัวได้ลิ้มลอง เธอใช้ความพยายามอย่างมากจนร่างกายผ่ายผอมซูบโทรม ท้ายที่สุดก็เสียชีวิต สร้างความสะเทือนใจให้แก่เผ่าพันธ์ไตดำเป็นอย่างมาก หัวหน้าเผ่าจึงได้ประกาศทำนองว่า ตั้งแต่นี้ต่อไป เวลาที่สาวชาวไตดำคนใดทำผ้าโพกหัว ก็ให้ทำลวดลายเป็นรูปดอกกูดแปะติดกับผ้าเปียว เรียกว่า “กูดเปียว” (ภาพที่ 4 รูปบน) รวมทั้งเมื่อตอนสร้างบ้าน ก็ให้ทำยอดหน้าจั่วให้เป็นรูปดอกกูด เรียกว่า “เสากูด” (ภาพที่ 4 รูปล่างทั้งซ้ายและขวา)
ต้องหาถ่ายรูปกับสาวไตดำโพกผ้าเปียวให้ได้ครับ ท่านสารวัตร
 
 
ภาพที่ 2 ภาพจากวิดิโอของชมรมคนแอ็บเชื้อสายไต เล่าที่มาของคำไตดำที่ว่า “กูดเปียว” “เขากูด” และ “เขยเมีย” (ตัวอักษรภาษาไตดำ)
 
 
ภาพที่ 3 ภาพวาดนางแสนฮัก กับท้าวลมแล้ง ตัวละครสำคัญในตำนานดังกล่าว
 
 
ภาพที่ 4 ภาพดอกกูด กับกูดเปียว (รูปบน) และเขากูด (รูปล่างทั้งซ้ายและขวา)
 
 
 
 

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward