iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Nares ไทย กาฬสินธุ์ ภูผาผึ้ง อุทยานธรณีกาฬสินธุ์​ 

รูปที่ 1 ชะโงกผาที่ชื่อว่า “ถ้ำฝ่ามือแดง” ที่เกิดจากแม่น้ำโบราณ มีภาพประทับฝ่ามืออยู่ภายในมากกว่า 10 รอย
ภูผาผึ้ง อำเภอกุฉินารายน์ อุทยานธรณีกาฬสินธุ์
 
ภูผาผึ้งเป็นภูเขาหินทราย มีเสันทางที่เป็นลำดับชั้นหินต้นฉบับของหมวดหินภูพาน กลุ่มหินโคราช โดยที่นักธรณีวิทยาของไทยกับอเมริกันได้มาทำการสำรวจวัดลำดับชั้นหินในบริเวณนี้เมื่อปีพ.ศ.2505 ได้ความหนาของหมวดหินภูพาน 114 เมตร (Ward and Bunnag ,1964) ประกอบด้วยหินทรายปนกรวดอันเป็นลักษณะเด่นของหมวดหินภูพาน ที่แสดงว่าเกิดจากแม่น้ำประสานสายที่มีทิศทางการไหลไปด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้
ลำดับชั้นหินในรายงานนี้ประกอบขึ้นด้วยเส้นสำรวจ 2 เส้น (รูปที่ 2) คือหมวดหินภูกระดึงกับพระวิหารที่ภูจองจอก หมวดหินเสาขัวกับภูพานที่ภูผาผึ้ง ทางด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาภูพานตามลำดับ
 

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

 
 
 
รูปที่ 2 แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วนดั้งเดิม 1:50,000 ที่แสดงในรายงานการสำรวจของวอร์และบุนนาก ที่ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2507 แสดงเส้นทางการสำรวจ และขอบเขตของหมวดหินต่างๆ รวมทั้งตำแหน่งของถ้ำฝ่ามือแดง (หมวดหินภูพาน) กับลานนกตั๊ดแต้ (หมวดหินพระวิหาร)
 
นอกจากลำดับชั้นหินต้นฉบับของหมวดหินภูพานแล้ว การแวะมาที่ภูผาผึ้งนั้นท่านจะยังได้พบสิ่งที่น่ารู้น่าสนใจอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทางธรณีวิทยา อาทิ ชะโงกผาที่ชื่อว่า “ถ้ำฝ่ามือแดง” (รูปที่ 1) ลานหินหนามหน่อ (รูปที่ 3) สะพานหินธรรมชาติ (รูปที่ 4) จุดชมวิวที่สามารถมองเห็นโครงสร้างชั้นหินรูปประทุนกุฉินารายน์ (Kushinarai anticline) ที่มีชื่อเสียง (รูปที่ 5) เพราะเป็นสถานที่ที่มีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมหลุมแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2514 ที่ชื่อว่า “หลุมกุฉินารายน์-1X” ซึ่ง ณ จุดนี้ ท่านจะเห็นภูเขาที่แสดงถึงชั้นหินที่เอียงเทออกทุกด้าน รวมทั้งที่ราบตรงกลางอันเนื่องจากการกัดเซาะผุพังทำลาย จนกลายเป็นโครงสร้างชั้นหินรูปประทุนที่เอียงเทออกทั้งสี่ด้านและบริเวณใจกลางถูกกัดเซาะออกไป (breached doubble plunging anticline)

.

รูปที่ 3 ลานหินหนามหน่อ ที่เกิดจากกระบวนการกัดเซาะทางธรณีวิทยา คล้ายกับลานหินปุ่มที่ภูหินร่องกล้า พิษณุโลก คือเริ่มจากรอยแยกสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือผืนผ้า แล้วพัฒนาเป็นหนามหน่อ

รูปที่ 4 สะพานหินธรรมชาติ ที่เกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำโบราณ วางตัวต่อเนื่องมาจากชะโงกผาอีกแห่งหนึ่ง

รูปที่ 5 ภาพถ่ายที่จุดชมวิว มองเห็นโครงสร้างชั้นหินรูปประทุนกุฉินารายน์ ที่บริเวณส่วนกลางถูกกัดเซาะหายไปโดยแม่น้ำโบราณ จนกลายเป็นพื้นที่ที่เรียกว่าเขาวง เพราะเป็นที่ราบลุ่ม และมีภูเขาล้อมรอบ

รูปที่ 6 ภาพถ่ายจากลานหินนกตั๊ดแต้ ที่เป็นลานหินของหมวดหินพระวิหาร สามารถมองเห็นภูผาผึ้งที่อยู่ทางทิศใต้ และเป็นภูเขาที่ประกอบขึ้นด้วยหินของหมวดหินเสาขัวที่อยู่ด้านล่าง และหมวดหินภูพาน อันเป็นลำดับชั้นหินต้นฉบับของหมวดหินภูพาน

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward