iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Nares ไทย ขอนแก่น There was a river called the river of no return

 

รูปประกอบที่ 1 กลุ่มหินโคราช ประกอบด้วยหินทราย เม็ดปานกลาง สีน้ำตาลแกมแดง ชั้นหนาถึงบาง สลับกับหินโคลนสีม่วงแกมแดง ชั้นบาง

 

 

Sometimes it's peaceful and sometimes wild and free

ที่คลองขุดเพื่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อช่วยการเพาะปลูก ในพื้นที่ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น พบหินของหมวดหินน้ำพอง กลุ่มหินโคราช ประกอบด้วยหินทราย เม็ดปานกลาง สีน้ำตาลแกมแดง ชั้นหนาถึงบาง สลับกับหินโคลนสีม่วงแกมแดง ชั้นบาง (รูปประกอบที่ 1)

ในภาพที่โพสต์มากับบทความนี้ คนทั่วๆไป คงบอกได้แต่ว่าเป็นภาพถ่ายแสดงชั้นหิน แต่กับนักธรณีวิทยาแล้ว พวกเขาจะมองสิ่งที่เห็นเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนกับอ่านนวนิยาเรื่องสั้นเลยเชียว โดยที่อันดับแรกเขาจะแยกแยะหินออกเป็นชั้นๆ และกำหนดชื่อกำกับ เช่น A, B, C, … เรียงลำดับจากล่างขึ้นบน (จากแก่มาอ่อน) จากนั้นเขาจะสวมวิญญาณสารวัตรธรณีวิทยา พิจารณาประจักษ์พยานที่เห็นทั้งหมด แล้วเล่าความเป็นของคดีโลกที่เกิดขึ้นที่นี่ อาทิ

เมื่อร้อยกว่าล้านปีมาแล้ว ตะกอนที่เกิดจากแม่น้ำโค้งตวัดได้ตกสะสมตัวในแนวราบ เกิดเป็นชั้นตะกอนทรายใต้ท้องน้ำ A และตะกอนในที่ราบลุ่มน้ำท่วม B หลังจากนั้นแม่น้ำสายเดียวกันแต่มีมวลน้ำมากขึ้น ได้ไหลผ่านและกัดตะกอน B กับ A ลงไป จนมองเห็นคล้ายกับมีการวางตัวไม่ต่อเนื่องเชิงมุม (angular unconformity) ตะกอนทรายใต้ท้องน้ำ C (ชั้นที่มีเส้นประกำกับทั้งบนและล่าง) นี้ มีลักษณะโครงสร้างภายในชั้นหินที่แสดงว่า ในช่วงแรกนั้นกระแสน้ำจะไหลด้วยความเร็วมากหรือน้อยอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดการวางตัวสลับและขนานกันของทรายเม็ดละเอียดและ หยาบ เกิดสิ่งที่นักธรณีวิทยาเรียกว่าชั้นบาง (lamination) แต่พอถึงตอนปลาย กระแสน้ำรุนแรงมากขึ้น ทรายที่อยู่ใต้น้ำถูกบังคับให้มีการเคลื่อนตัวไปปลายน้ำ ทำให้เกิดการวาวตัวของเม็ดทรายเป็นแนวเฉียง เอียงเทลงไปทางปลายน้ำ เกิดสิ่งที่นักธรณีวิทยาเรียกว่า ”ชั้นเฉียงระดับ“ (cross bedding) จากนั้นก็มีตะกอนที่เกิดทั้งใต้ท้องแม่น้ำ กับที่ราบลุ่มน้ำท่วมสลับกันวางทับอยู่ข้างบน การวางตัวของชั้นเฉียงระดับเหล่านี้ บอกให้เราทราบว่า แม่น้ำ C ณ บริเวณนี้ ไหลไปทางทิศตะวันออก

ถึงแม้ว่าเราจะไม่พบเห็นลำดับชั้นหินทั้งหมดในบริเวณนี้ แต่เราก็สามารถเล่านิยายต่อได้ว่า บริเวณนี้ได้เกิดการจมตัวและมีตะกอนทับถมกันตลอดมา จนภายหลังกลายเป็นชั้นหินของกลุ่มหินโคราช จนกระทั่งเกิดการชนกันของเปลือกทวีปอินเดียกับยูเรเซีย เกิดเทือกเขาหิมาลัย และทำให้กลุ่มหินโคราชในบริเวณนี้โก่งงอ กลายเป็นโครงสร้างชั้นหินรูปประทุนคว่ำ และประทุนหงายภูเวียง (รูปประกอบที่ 2)

ด้วยเหตุที่แม่น้ำที่ก่อให้เกิดหินตะกอนของหมวดหินน้ำพองที่นี่เป็นแม่น้ำโค้งตวัด การที่หินทราย C แสดงทิศทางการไหลของแม่น้ำไปทางทิศตะวันออกนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด เพราะแม่น้ำโค้งตวัดนั้นจะมีทิศทางการไหลโค้งไปโค้งมา ทิศทางที่วัดได้จึงจะเป็นเฉพาะชั้นหินนี้ ณ ที่นี้ เพราะเราอาจบังเอิญพบเจอชั้นทรายตอนที่แม่น้ำไหลย้อนกลับก็เป็นได้ (รูปประกอบที่ 3) และอีกหนึ่งข้อเท็จจริงก็คือ ในช่วงการตกตะกอนของหมวดหินน้ำพองนั้น แอ่งสะสมตะกอนยังเป็นการตกจมในแอ่งเล็กแอ่งน้อย ต้นกำเนิดของตะกอนจัมาจากทิศไหนก็เป็นได้ทั้งนั้น เพราะว่สจนกว้สตะกอนของหมวเกินภูกระดึงสะสมตัว แอ่งจะกว้างใหญ่เป็นแอ่งสะสมตะกอนโคราชที่แท้จริง ที่แม่น้ำทั้งหมดไหลมาจากทิศตะวันออก - ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

เรื่องราวก็เป็นจั่งสี้ครับ ท่านสารวัตร

 

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

รูปประกอบที่ 2 แผนที่แสดงขอบเขต และแผนที่ธรณีวิทยาของอุทยานธรณีขอนแก่น

รูปประกอบที่ 3 ภาพถ่ายมุมสูงแม่น้ำโค้งตวัด แสดงทิศทางหลักการไหลของแม่น้ำ(ลูกศรใหญ่) และช่วงที่แม่น้ำไหลโค้งย้อนกลับ (ลูกศรเล็ก)

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward