iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Nares ไทย กาฬสินธุ์ เปรียบเทียบและเปรียบต่างระหว่างกุฉินารายน์กับภูเวียง​ 

ภาพที่ 1 แผนที่กูเกิ้ลของหุบเขาภูเวียง (รูปซ้าย) และกุฉินารายน์ (รูปขวา) แสดงตำแหน่งของอำเภอที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแม่น้ำที่สำคัญในหุบเขา รวมทั้งตำแหน่งโดยประมาณของหลุมเจาะกุฉินารายน์ 1X
 
เปรียบเทียบและเปรียบต่างระหว่างกุฉินารายน์กับภูเวียง
 
กุฉินารายน์เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ ภูเวียงเป็นอำเภอในสังกัดของจังหวัดขอนแก่น ในอดีตนั้น ทั้งเมืองกุฉินารายน์เดิมและภูเวียงเดิม ต่างก็ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วยภูเขาในทุกด้าน (ภาพที่1) ทั้งสองเมืองมีประวัติความเป็นมาที่สามารถเปรียบเทียบความเหมือนกับความต่างได้หลายด้าน อาทิ
ตำแหน่งที่ตั้งของเมืองภูเวียงเดิมนั้น อยู่ในโครงสร้างธรณีวิทยาที่เรียกว่า “โครงสร้างชั้นหินรูปประทุนหงาย” (ภาพที่ 2 รูปซ้าย) โดยมีชั้นหินที่รองรับอยู่วางตัวเอียงเทเข้าหาใจกลางในทุกด้าน ต่อมาบริเวณตอนกลางของโครงสร้างถูกกระบวนการทางธรณีวิทยากัดเซาะผุพังทำลาย แล้วถูกพัดพาออกไปโดย คลองบอง และสาขาห้วยต่างๆ (ภาพที่ 1 รูปซ้าย)
ตำแหน่งที่ตั้งของเมืองกุฉินารายน์เดิมนั้น อยู่ในโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า “โครงสร้างชั้นหินรูปประทุน” (ภาพที่ 2 รูปขวา)โดยมีชั้นหินที่รองรับอยู่วางตัวเอียงเทออกข้างนอกในทุกด้าน ต่อมาบริเวณตอนกลางของโครงสร้างถูกกระบวนการทางธรณีวิทยากัดเซาะผุพังทำลาย แล้วถูกพัดพาออกไปโดยแม่น้ำหลายสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คลองพะยัง (ภาพที่ 1 รูปขวา)
เมืองภูเวียงเป็นเมืองโบราณมีผู้อยู่อาศัยมานานมากแล้ว และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2445 ต่อมาปี พ.ศ. 2491 ทางราชการเห็นว่าที่ตั้งของอำเภออยู่ในวงล้อมของภูเขา มีเส้นทางเข้า - ออก ได้ทางเดียว ประชาชนมาติดต่อราชการได้ยากลำบาก จึงได้ย้ายออกมานอกหุบเขาภูเวียง และตั้งอยู่ที่บ้านนาก้านเหลือง จนกระทั่งพ.ศ. 2549 อำเภอเวียงเก่าจึงถูกตั้งขึ้นมา ณ ที่ที่เคยเป็นเมืองเก่าของภูเวียง (ภาพที่ 1 รูปซ้าย)
นานมาแล้ว ได้มีคนภูไทกลุ่มหนึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในหุบเขาซึ่งมีกุด หรือทะเลสาบรูปแอก(oxbow lake) มีสิม (โบสถ์) และเสมาหินแกะสลักรูปพระนารายณ์ จึงเรียกเมืองนี้ว่า กุดสิมนารายณ์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2454 จึงได้รับการจัดตั้งให้เป็นอำเภอกุดสิมนารายณ์ อีกสองปีต่อมา ทางการได้พิจารณาเห็นว่าสภาพท้องที่ทางภูมิศาสตร์ไม่เหมาะสม มีความทุรกันดาร ทางคมนาคมไม่สะดวก ในฤดูแล้งขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้มีไข้ป่าชุกชุม ราษฎรทำมาหากินไม่สะดวกจึงได้ย้ายที่ตั้งออกจากหุบเขา มาอยู่ที่บ้านบัวขาว เมื่อปี พ.ศ. 2456 และเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอกุฉินารายน์ ส่วนพื้นที่ราบลุ่มที่ล้อมรอบด้วยเทือกเขานั้น ต่อมาทางการได้กำหนดให้เป็นอำเภอเขาวง และอำเภอนาคู ในปีพ.ศ. 2517 และ 2538 ตามลำดับ (ภาพที่ 1 รูปขวา)
หุบเขาภูเวียงเป็นหุบเขาที่มีโครงสร้างชั้นหินรูปประทุนหงาย (ภาพที่ 2 รูปซ้าย) ดังนั้น องค์ประกอบ และกระบวนการต่างๆ ของระบบปิโตรเลียม (petroleum system) จึงจะไม่เหมาะสม และไม่สนับสนุนให้มีการค้นหาปิโตรเลียมใต้ดิน ผิดกับหุบเขากุฉินารายน์ ที่เป็นโครงสร้างชั้นหินรูปประทุน ซึ่งตอนแรกคาดหมายว่า กลุ่มหินโคราชในบริเวณนี้ จะปิดทับอยู่บนหินตะกอนที่สะสมตัวในทะเลในยุคเพอร์เมียน ที่น่าจะให้กำเนิดปิโตรเลียม บริษัทน้ำมันสัญชาติอเมริกัน ชื่อ ยูเนี่ยน ออยล์ ออฟ คาลิฟอร์เนีย จึงได้เจาะหลุม กุฉินารายน์ 1 X ลงไปลึกกว่า 3 กิโลเมตร แต่ผลปรากฏว่าล้มเหลว หินที่อยู่ข้างล่างกลุ่มหินโคราชกลับเป็นหินตะกอนสีแดงที่สะสมตัวใต้ท้องน้ำในยุคไทรแอสสิกตอนปลาย (ภาพที่ 2 รูปขวา) ซึ่งไม่มีศักยภาพในการให้กำเนิดปิโตรเลียม
อย่างไรก็ตาม ที่ดินแปลงนี้ (ภาพที่ 3) ในเขตบ้านสะพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ก็เป็นสถานที่ที่ควรจะมีการประกาศและจารึกไว้ เพราะนี่คือหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การสำรวจปิโตรเลียมในอีสานบ้านเฮา และประเทศไทย (ภาพที่ 4 และ 5) แหม่นบ้อครับ อ้ายสารวัตร
 

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

 

ภาพที่ 2 แผนที่กูเกิ้ลแสดงแนวทางการวางตัวของชั้นหินของหุบเขาภูเวียง (รูปซ้าย) และหุบเขากุฉินารายน์ (รูปขวา) รวมทั้งภาพตัดขวางทางธรณีวิทยาตามเส้น AB และ CD แสดงลักษณะของโครงสร้างชั้นหินรูปประทุนหงาย และรูปประทุนตามลำดับ และตำแหน่งโดยประมาณของหลุมเจาะกุฉินารายน์1X (เส้นสีดำ)

ภาพที่ 3 ภาพถ่ายสถานที่ตั้งของหลุมเจาะสำรวจปิโตรเลียม กุฉินารายน์ 1 X ที่ปัจจุบันกลายเป็นที่ดินของเอกชน

ภาพที่ 4 ภาพถ่ายขณะที่จอมพลถนอม กิตติขจร (คนยืนกลาง) นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ไปตรวจเยี่ยมการเจาะหลุมกุฉินารายน์ 1 X มีนายวิชา เศรษบุตร ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (คนซ้ายสุด) และนายสมาน บุราวาส (คนขวาสุด) อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ในสมัยนั้น ให้การต้อนรับ

ภาพที่ 5 ภาพถ่ายแสดงให้เห็นประชาชนที่มาร่วมในการตรวจการณ์ของนายกรัฐมนตรี ที่หลุมเจาะกุฉินารายน์ 1 X โปรดสังเกตเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำที่จอดอยู่กลางทุ่งโล่ง ช่างภาพที่กำลังยืนถ่ายรูปบนแท่นเจาะนั้น คือนายสุวิทย์ สุจินัย ช่างภาพของกรมทรัพยากรธรณี

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward