iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Nares อินโดนีเซีย ตะลุยแดนอิเหนากับสมาคมธรณี (9) คาวาห์อีเจี้ยนภูเขาไฟที่สวยงามแต่แฝงไว้ด้วยอันตราย

 

ภาพที่ 1 ป้ายต้อนรับของอุทยานธรณีอีเจี้ยน ที่ UNESCO รับการรับรองให้เป็นอุทยานธรณีระดับโลกเมื่อปี ค.ศ. 2016

 

คาวาห์ อีเจี้ยน ภูเขาไฟที่สวยงามแต่แฝงไว้ด้วยอันตราย
 
ในปี พ.ศ. 2559 UNESCO ก็ได้ประกาศให้ ภูเขาไฟอีเจี้ยน และพื้นที่โดยรอบรวมเป็นพื้นที่ 4,723 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานธรณีระดับโลก (ภาพที่ 1) โดยพรรณนาถึงความพิเศษว่า ดินแดนที่มีช่องแคบและทะเล ที่เป็นเส้นทางการอพยพเผ่าพันธุ์ และการค้าของมนุษยชาติ ดินแดนที่มีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ อันได้แก่ภูเขาไฟอีเจี้ยน ที่มีความเป็นกรดสูงที่สุดในโลก ทำให้ทะเลสาบปากปล่องภูเขาไฟเป็นสีเขียวมรกต ปฏิกิริยาเคมีระหว่างก๊าซซัลเฟอร์กับออกซิเจน จะทำให้เกิดเปลวไฟสีน้ำเงิน มองเห็นได้ชัดเจนและสวยงามในเวลากลางคืน รวมทั้งภูเขาไฟลูกเล็กลูกน้อยอีก 22 ลูก ทั้งที่ตั้งอยู่ข้างในและนอกหุบเขาที่ยุบตัวบนปากปล่องภูเขาไฟ
 
คาวาอีเจี้ยน เป็นภูเขาไฟชนิดแสดงชั้นหิน (Stratovolcano) (ภาพที่ 2) เกิดอยู่ใน ที่ราบยุบตัวของภูเขาไฟอีเจี้ยนเก่า (old Ijen caldera) ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 12 กิโลเมตร มีแม่น้ำสายหนึ่งชื่อ Banyu Pahit มีต้นกำเนิดในปากปล่อง แล้วไหลกัดเซาะขอบปล่องด้านตะวันตกออกไปสู่ข้างล่างของภูเขา ตัวปากปล่องของอีเจี้ยนเองกว้าง 1 กิโลเมตร ทะเลสาบมีความลึก 175 เมตร น้ำในทะเสาบมีความเป็นกรดสูงมาก เพราะเต็มไปด้วยกรดกำมะถัน (sulfuric acid) ที่กัดแร่ธาตุหลายชนิดออกมาปนอยู่ในน้ำ จนทำให้น้ำในทะเลสาบมีสีเขียวมรกต
 
ในปล่องภูเขาไฟนั้นจะมีรอยแตกของเปลือกโลกมากมาย จึงเป็นช่องที่ก๊าซหลายชนิด เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และซัลเฟอร์ เมื่อพุ่งขึ้นมาเมื่อมาพบกับออกซิเจนในอากาศก็เกิดการลุกไหม้ได้เปลวไฟสีน้ำเงินที่อาจสูงได้ถึง 5 เมตร
Werakysumah et al., 2919 อธิบายความเป็นมาของภูเขาไฟอีเจี้ยน ดังนี้ ในตอนปลายของอนุยุค Pleistocene หรือประมาณ 700,000 ปีก่อน (ภาพที่3) มีการระเบิดของภูเขาไฟอีเจี้ยนเก่าในทะเลตื้น ที่มีปะการังเกาะตัวบนหินปูน คาดว่าการระเบิดจะสิ้นสุดลงเมื่อ 294,000 ปีก่อน ก่อให้เกิดลาวาและหินตะกอนภูเขาไฟโดยรอบ จนเมื่อประมาณ 400,000 ปีที่ผ่านมา เกิดการระเบิดขนาดใหญ่เทียบได้กับการระเบิดของภูเขาไฟเปอเล (Plinian eruption) จนต่อมาเมื่อกว่า 50,000 ปีก่อน เกิดปล่องยุบตัวขนาดใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลาง 14-16 กิโลเมตร) ที่เรียกว่า ภูเขาไฟรูปหม้อน้ำอีเจี้ยน (Ijen caldera) เกิดที่ราบยุบตัวที่ความสูง 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล หลังจากนั้นเป็นต้นมา ยังมีภูเขาไฟระเบิดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นภูเขาไฟใหม่อีก 12 ลูก ในหุบยุบตัว และอีก 5 ลูกอยู่นอกหุบดังกล่าว
 
จนถึงปัจจุบันนี้ คาวาอีเจี้ยนยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดอันดับต้นๆ ของอินโดนีเซีย ที่ผู้คนอุตส่าห์ตื่นตั้งแต่เที่ยงคืนเพื่อเดินขึ้นไปดูเปลวเพลิงสีน้ำเงินที่พวยพุ่งออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟ (ภาพที่ 4) ดูพระอาทิตย์ขึ้นบนยอดเขา ถ่ายรูปทะเลสาบสีเขียวมรกต ยิ่งไปกว่านั้น บางคนก็บ้าดีเดือดถึงขนาดปีนหน้าผาลงไปดูการเก็บกำมะถันด้วยวิธีโบราณ ที่สุ่มเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากก๊าซพิษที่พวยพุ่งขึ้นมาตลอดเวลา
 
ท่านสารวัตร ตั้งใจจะไปถึงจุดไหนของอีเจี้ยนครับ
 
 
ภาพที่ 2 ภาพถ่ายแสดงชั้นหินตะกอนภูเขาไฟที่ตกทับถมกันในแต่ละครั้ง ทำให้ภูเขาไฟอีเจี้ยนถูกจัดให้อยู่ในชนิดแสดงชั้นหิน (Stratovolcano) 
 
 
ภาพที่ 3 ภาพจินตนาการแสดงลำดับความเป็นมาของภูเขาไฟอีเจี้ยน
 
 
 
ภาพที่ 4 ภาพแสดงเส้นทางเดินขึ้นสู่ยอดคาวาห์ อีเจี้ยน
 
 
 

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward